Facebook จ่อปรับลดการมองเห็นเพจต่างๆ หลังถูกเปิดเผยว่า "ระบบอัลกอริทึมทำร้ายเด็กๆ"


โดย PPTV Online

เผยแพร่




รองประธานฝ่ายกิจการและการสื่อสารโลกของFacebook เผยเตรียมปรับลดการมองเห็น เพจการเมือง สื่อ และบริการต่างๆลง หลังถูกอดีตผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ เปิดเผยระบบอัลกอริทึม เฟซบุ๊กกำลังทำร้ายเด็ก

กลายเป็นประเด็นที่คนทำเพจใน Facebook ต้องตื่นตัวและปรับตัวอีกครั้งเมื่อ นิค เคล็กก์  รองประธานฝ่ายกิจการและการสื่อสารโลกของ Facebook ออกมาเปิดเผย ถึงแผนการลดปริมาณเนื้อหาทางการเมืองบนหน้าฟีดข่าว (Newsfeed) โดยเน้นไปที่เนื้อหาจากเพื่อนให้มากขึ้น การเมืองน้อยลง  โดยมุ่งหวังว่า จะกันกลุ่มเด็ก เยาวชน และวัยรุ่น ออกจากเนื้อหาที่ไม่เป็นผลดีกับการเติบโต พร้อมจะแนะนำเครื่องมือการควบคุมแบบใหม่ให้ผู้ปกครอง ซึ่งจะทำให้สามารถติดตามในสิ่งที่ลูกๆ สนใจได้
 

อดีตลูกจ้างชี้ "เฟซบุ๊ก" เป็นอันตราย

อดีตพนง.แฉ เฟซบุ๊กทำร้ายผู้คน ไม่สนสังคมเท่าผลกำไร

สำหรับแนวทางในการปรับเปลี่ยนดังกล่าวเกิดขึ้น หลังจาก "ฟรานเซส เฮาเกน" (Frances Haugen)  อดีตผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ของเฟซบุ๊ก  ได้นำข้อมูลหลายพันหน้า ที่คัดลอกก่อนลาออกจากเฟซบุ๊กมาเปิดเผยกับสาธารณชน และถูกส่งไปยังคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ของสหรัฐฯ โดยกล่าวหาว่า  ระบบอัลกอริทึมของเฟซบุ๊กและอินสตาแกรมที่ถูกปรับแต่งล่าสุดในปี 2018 ที่มีการจัดลำดับการมองเห็นอิงตาม การมีส่วนร่วมของผู้ใช้งานจนส่งผลเสียกับสุขภาพจิตของวัยรุ่น รวมถึงยังทำให้เกิดความแตกแยกมาขึ้น ซึ่งตัวบริษัทได้เมินเฉยกับความผิดพลาดนี้ 

"อัลกอริทึมของเฟซบุ๊กกำลังทำร้ายเด็กๆ สร้างความแตกแยก ทำให้ระบอบประชาธิปไตยอ่อนแอ รวมถึงยังมุ่งกอบโกยผลกำไรเหนือความรับผิดชอบทางศีลธรรม"

สำหรับการทำงานของ  อัลกอริทึม ที่ "ฟรานเซส เฮาเกน"  กล่าวหานั้นจะเน้นการจัดลำดับการมองเห็นเนื้อหาบนเฟซบุ๊ก หรือที่เรารู้จักว่า Newsfeed ด้วยการอิงตามการมีส่วนร่วมของบุคคลนั้นๆ เช่น การกดไลค์ แชร์ หรือคอมเมนต์ ก็จะทำให้คอนเทนต์นั้นยิ่งถูกเผยแพร่ในวงกว้างมากยิ่งขึ้น ดังนั้น คอนเทนต์ประเภทปลุกเร้าอารมณ์ความรู้สึก เช่น โพสต์ด่าทอ ยั่วยุให้เกิดความเกลียดชัง หรือแม้กระทั่ง Fake News ถูกเผยแพร่ออกไปเป็นวงกว้างจนน่ากังวล 

และนอกจากประเด็นนี้จะกลายเป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับประชาชนทั่วไปแล้ว ยังกลายเป็นเรื่องที่ นักการเมืองในสหรัฐอเมริกา ก็สนใจ เพราะมันอาจเป็นหลักฐานชั้นดี ในการใช้อ้างอิงแก้กฎหมายสำหรับควบคุมยักษ์ใหญ่แห่งโลกเทคโนโลยี ที่มักจะพยายามหาทางหลีกเลี่ยงการถูกควบคุมด้วยระเบียบและกฎหมายต่างๆ

ขณะที่ สภาคองเกรสเองก็ได้มีการ ขับเคลื่อนจากสมาชิกวุฒิสภาของสหรัฐฯ เพื่อหาทางปฏิรูปมาตรา 230 ของพระราชบัญญัติความเหมาะสมในการสื่อสาร (Communications Decency Act) หรือ CDA ซึ่งมีบทบัญญัติยกเว้นให้บริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider) หรือ ISP จากความรับผิดในโพสต์ที่อยู่บนแพลตฟอร์มของตัวเอง

ส่วนผู้เชี่ยวชาญ ได้เสนอแนะว่า ควรมีการออกกฎหมายควบคุมโซเชียลมีเดียไม่ให้มีขนาดของเครือข่ายใหญ่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เนื่องจากวิธีนี้เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดสำหรับแต่ประเทศในแง่ของการปฏิบัติสำหรับการออกกฎหมายเพื่อควบคุมโซเชียลมีเดียไม่ให้ใหญ่โตเกินกว่าที่จะสามารถกลั่นกรองเนื้อหาบนแพลตฟอร์มของตัวเองได้ จนกระทั่งปล่อยปละให้เนื้อหาสร้างความเกลียดชัง และ Fake News สามารถลุกลามได้รวดเร็วราวกับไฟลามทุ่งเช่นในปัจจุบัน
 

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ