เปิดแนวคิด “เมืองฟองน้ำ” แนวทางรับมืออุทกภัยของนักวิชาการจีน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




รู้จักแนวคิด “เมืองฟองน้ำ” จากนักวิชาการจีนที่เปลี่ยนประสบการณ์เฉียดตายจากน้ำท่วมในวัยเด็ก มาออกแบบเมืองที่รับมืออุทกภัยได้ดี

ศ.อวี๋คงเจี้ยนยังจำวันที่เขาเกือบตายในแม่น้ำได้ ขณะนั้นเขาอายุเพียง 10 ขวบ ในวันที่ฝนตกหนักจนน้ำท่วมนาขั้นบันไดในชุมชนเกษตรกรรมของเขา เขาวิ่งไปอย่างตื่นเต้นที่ริมฝั่งแม่น้ำ

ทันใดนั้น ดินที่อยู่ใต้เท้าของเขาทรุดตัวลง ส่งเขาลงไปในน้ำที่เชี่ยวกรากในชั่วพริบตาอย่างน่าสะพรึงกลัว แต่ตลิ่งที่เต็มไปด้วยต้นหลิวและต้นกกทำให้การไหลของแม่น้ำช้าลง ทำให้อวี๋สามารถคว้าต้นไม้ไว้และดึงตัวเองขึ้นมาได้

ประกาศ 5 เขตเสี่ยง กทม. เตรียมพร้อมรับมือน้ำเอ่อ จากทะเลหนุนสูง 2 ระลอก

สภาวิศวกร อัดรัฐแก้ปัญหาน้ำทะเลหนุนช้า ทำน้ำท่วมกรุง

เตือน!! คนกรุงรับมือ น้ำทะเลหนุนสูงต่อเนื่อง จนถึง 14 พ.ย. 64

“ผมแน่ใจว่าถ้าแม่น้ำเป็นอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ คือสองข้างตลิ่งเป็นกำแพงคอนกรีต ผมคงจมน้ำตายไปแล้ว” เขากล่าว ช่วงเวลาเป็นตายดังกล่าวไม่เพียงเปลี่ยนชีวิตของเขาเท่านั้น แต่จะเปลี่ยนจีนทั้งประเทศด้วย

ปัจจุบัน ศ.อวี๋คงเจี้ยน เป็นหนึ่งในนักคิดด้านการออกแบบเมืองที่โด่งดังที่สุดของจีน และยังเป็นคณบดีวิทยาลัยสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์มหาวิทยาลัยปักกิ่ง เป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังแนวคิด “เมืองฟองน้ำ (Sponge City)” ในการรับมือเหตุน้ำท่วม ซึ่งกำลังทยอยนำมาใช้งานจริงในเมืองต่าง ๆ ของจีน

เมืองฟองน้ำเป็นแนวคิดที่เขาเชื่อว่า สถานที่อื่น ๆ ในโลกก็สามารถนำมาใช้ได้ แม้ว่าบางคนจะตั้งคำถามว่า เมืองฟองน้ำสามารถทำงานได้จริงหรือ เมื่อต้องเผชิญกับอุทกภัยรุนแรงที่เชื่อมโยงกับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

โดยแนวคิดเกิดขึ้นจากคำถามที่ว่า “จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราเปิดรับน้ำท่วมมากกว่าที่จะกลัวมัน”

การจัดการน้ำท่วมแบบเดิม ๆ มักจะเกี่ยวข้องกับการสร้างทางหรือท่อระบายน้ำเพื่อสูบน้ำออกไปโดยเร็วที่สุด หรือการเสริมคอนกรีตริมตลิ่งแม่น้ำเพื่อให้แน่ใจว่าน้ำจะไม่ล้นตลิ่งขึ้นมา

แต่เมืองฟองน้ำกลับทำตรงกันข้าม โดยเน้นการดูดซับน้ำฝนและชะลอการไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ในบริเวณ 3 จุดสำคัญคือ

หนึ่ง ที่แหล่งกำเนิด (Source) ต้องทำให้เหมือนกับฟองน้ำที่มีรูหลายรู ถ้ามีบ่อน้ำหลายบ่อ เมืองก็จะพยายามที่บรรจุน้ำด้วยบ่อน้ำจำนวนมากไว้ได้

สอง ในกระแสน้ำ (Flow) คือแทนที่จะพยายามระบายน้ำอย่างรวดเร็วเป็นเส้นตรง การทำให้กระแสน้ำคดเคี้ยวด้วยพืชพรรณหรือพื้นที่ชุ่มน้ำจะทำให้น้ำไหลช้าลง เช่นเดียวกับต้นไม้ริมตลิ่งที่ช่วยชีวิตเขาไว้

จุดนี้ยังมีประโยชน์ในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว สวนสาธารณะ และแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ รวมถึงพืชจะทำให้น้ำที่ไหลบ่าอยู่บนผิวดินบริสุทธิ์ โดยช่วยกำจัดสารพิษและสารอาหารที่ก่อมลพิษ

สาม พื้นที่ที่เป็นอ่าง (Sink) หรือสถานที่ที่ซึ่งน้ำจะไหลออกสู่แม่น้ำ ทะเลสาบ หรือทะเล ศาสตราจารย์อวี๋สนับสนุนให้ปล่อยที่ดินนี้ไว้ตามธรรมชาติ หลีกเลี่ยงการก่อสร้างในพื้นที่ราบลุ่ม “คุณไม่สามารถต่อสู้กับน้ำได้ คุณต้องปล่อยมันไป” เขากล่าว

เซอร์ไพรส์! สหรัฐฯ-จีน ประกาศความร่วมมือแก้ปัญหาสภาพอากาศ

ดร.นิรมล คิสนานี ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบที่ยั่งยืนจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ กล่าวว่า แม้แนวคิดที่คล้ายคลึงกันนี้จะมีอยู่ในที่อื่นเช่นกัน แต่เมืองฟองน้ำของอวี๋มีความโดดเด่นในการใช้กระบวนการทางธรรมชาติในการแก้ปัญหาของเมือง

“ตอนนี้เราขาดการเชื่อมต่อกับธรรมชาติ … แต่แนวคิดคือ เราต้องหาทางกลับไปมองตัวเองเมื่อครั้งยังเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ” เธอบอก

แนวคิดส่วนใหญ่ของเมืองฟองน้ำได้รับอิทธิพลจากเทคนิคการทำฟาร์มแบบโบราณที่ ศ.อวี๋ ได้เรียนรู้จากการเติบโตในมณฑลเจ้อเจียง ซึ่งเป็นมณฑลชายฝั่งทางตะวันออกของจีน

“จะไม่มีใครจมน้ำได้ แม้แต่ในฤดูมรสุม เราแค่อยู่กับน้ำ เราปรับตัวเข้ากับน้ำเมื่อน้ำท่วมเข้ามา” เขากล่าว

ในอดีตเมื่ออายุ 17 ปี เขาเดินทางไปปักกิ่งเพื่อศึกษาศาสตร์การปรับภูมิทัศน์ และศึกษาต่อด้านการออกแบบที่ ม.ฮาร์วาร์ด สหรัฐฯ จนเมื่อเขาเดินทางกลับบ้านเกิดในปี 1997 ก็พบว่า ประเทศจีนกำลังอยู่ในช่วงของการก่อสร้างตึกรามบ้านช่องอย่างบ้าคลั่ง

ศ.อวี๋รู้สึกตกใจกับ “โครงสร้างเมืองที่ไร้ชีวิตชีวา” จึงเริ่มสนับสนุนปรัชญาการออกแบบเมืองตามแนวคิดจีนดั้งเดิม ตัวอย่างเช่น นอกจากเมืองฟองน้ำแล้ว เขายังเรียกร้องให้มีการปรับภูมิทัศน์ตามธรรมชาติหรือ “แผนปฏิวัติเท้าใหญ่ (Big Feet Revolution)” ตรงข้ามกับสวนสาธารณะที่ตกแต่งอย่างสวยงามเกินไป ซึ่งเขาเปรียบเสมือนธรรมเนียมการรัดเท้าสตรีจีนให้เล็กเป็นรูปดอกบัวอย่างในอดีต

เขาเชื่อว่าเมืองชายฝั่งของจีน และสถานที่อื่น ๆ ที่มีสภาพอากาศใกล้เคียงกัน ได้ใช้รูปแบบที่ไม่ยั่งยืนสำหรับการสร้างเมือง

“เทคนิคที่พัฒนาขึ้นในประเทศแถบยุโรปไม่สามารถนำมาปรับใช้ให้เข้ากับสภาพอากาศแบบมรสุมของเราได้ เมืองเหล่านี้ล้มเหลวเพราะถูกวัฒนธรรมตะวันตกครอบงำและคัดลอกโครงสร้างพื้นฐานและรูปแบบของเมืองมาใช้” เขากล่าว

ในช่วงต้นของการเผยแพร่แนวคิด เขาเผชิญกับการต่อต้านและความไม่พอใจจากการที่เขาวิพากษ์วิจารณ์การก่อสร้างของจีน ซึ่งรวมถึงโครงการอันเป็นความภาคภูมิใจของชาติ เช่น เขื่อนสามผา (Three Gorges Dam) ด้วย

ประกอบกับภูมิหลังที่เรียนจบจากฮาร์วาร์ดและได้รับการยกย่องจากตะวันตก ทำให้เขาถูกกล่าวหาว่าเป็นคนทรยศและสายลับที่พยายามบ่อนทำลายการพัฒนาของจีน

ศาสตราจารย์อวี่บอกพร้อมกับหัวเราะว่า “ผมไม่ใช่ชาวตะวันตก ผมเป็นนักอนุรักษ์นิยมจีน เรามีประสบการณ์นับพันปี เรามีวิธีแก้ปัญหาที่คุณไม่ควรมองข้าม เราต้องปฏิบัติตามวิถีจีนดั้งเดิมสิ”

แนวคิดของเขาได้ดึงให้เจ้าหน้าที่จีนที่รักชาติบางกลุ่มช่วยวิ่งเต้นเพื่อทดลองสร้างเมืองฟองน้ำ ประกอบกับการรายงานข่าวจากสื่อเกี่ยวกับความคิดของเขาหลังจากเกิดภัยอุทกภัยในกรุงปักกิ่งและอู่ฮั่นหลายครั้งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

เมียนมา ตั้งข้อหาก่อการร้ายนักข่าวอเมริกัน เสี่ยงถูกจำคุก 40 ปี

ความพยายามของเขาเป็นผลในที่สุด เพราะในปี 2015 ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ได้ลงนามอนุมัติแผนเมืองฟองน้ำของ ศ.อวี๋ และรัฐบาลจีนได้ประกาศแผนการมูลค่าหลายล้านหยวนที่มีเป้าหมายว่า ภายในปี 2030 พื้นที่ 80% ของเขตเทศบาลของจีนจะต้องมีองค์ประกอบของเมืองฟองน้ำ และรีไซเคิลปริมาณน้ำฝนอย่างน้อย 70%

ทั่วโลก มีหลายพื้นที่มากขึ้นที่ประสบปัญหาในการรับมือกับฝนที่รุนแรงมากขึ้น ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า เกี่ยวพันกับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เมื่ออุณหภูมิโลกสูงขึ้นจากภาวะโลกร้อน ความชื้นจะระเหยสู่ชั้นบรรยากาศมากขึ้น ทำให้ฝนตกหนักขึ้น

นั่นทำให้ผู้เชี่ยวชาญหลายคนไม่แน่ใจนักว่า แนวคิดเรื่องเมืองผองน้ำจะเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นนี้ได้หรือไม่

เฟธ ชาน ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการน้ำท่วมจากมหาวิทยาลัยนอตติงแฮมหนิงปัวกล่าวว่า “เมืองฟองน้ำอาจดีสำหรับรับมือพายุฝนระดับเล็กน้อย แต่ด้วยสภาพอากาศที่รุนแรงมากขึ้นที่เราเห็นในปัจจุบัน เรายังคงต้องมีโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ที่สำคัญ เช่น ท่อระบายน้ำ ทางระบายน้ำ หรือถังเก็บน้ำ”

นอกจากนี้ เขายังชี้ให้เห็นด้วยว่า สำหรับเมืองที่หนาแน่นไปด้วยสิ่งปลูกสร้างจนมีที่ว่างเหลือน้อย อาจเป็นเรื่องยากที่จะนำแนวคิดบางอย่างของ ศ.อวี๋ มาใช้ เช่น การจัดหาพื้นที่ดินราบให้น้ำท่วมไหลลงสู่ทะเล โดยที่ผ่านมาแม้จะใช้งบไปหลายล้านหยวน แต่จีนก็ยังประสบอุทกภัยครั้งใหญ่อยู่ดี

ฤดูร้อนที่แล้ว น้ำท่วมหลายครั้งในจีนคร่าชีวิตผู้คนไป 397 คน ได้รับผลกระทบ 14.3 ล้านคน และมีส่วนทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ 2.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (7.2 แสนล้านบาท) ตามการประมาณการของสหประชาชาติ

แต่ ศ.อวี๋ ยืนยันว่า ภูมิปัญญาจีนโบราณไม่อาจผิดพลาดได้ และความล้มเหลวเหล่านี้เกิดจากการที่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นดำเนินการตามความคิดของเขาอย่างไม่เหมาะสม

เขากล่าวว่า เหตุน้ำท่วมเจิ้งโจวเมื่อต้นปีนี้เป็นตัวอย่างที่คลาสสิก เมืองปูทางทับแอ่งน้ำ ทำหใเก็บน้ำไว้ได้ไม่เพียงพอเมื่อฝนเริ่มตก แม่น้ำสายหลักยังไหลลงสู่ท่อระบายน้ำคอนกรีต ทำให้น้ำไหลเร็วขึ้น “เหมือนส้วมชักโครก” เขากล่าว และเสริมว่า แม้แต่โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เช่น โรงพยาบาล ก้กลับถูกสร้างขึ้นบนที่ราบลุ่มซึ่งควรเป็นพื้นที่ให้น้ำไหลงทะเล

“เมืองฟองน้ำสามารถรองรับน้ำท่วมได้ แต่ถ้าไม่ แสดงว่าไม่ใช่เมืองฟองน้ำ มันต้องมีความยืดหยุ่นกว่านี้” เขากล่าว

ศ.อวี๋ กล่าวว่า ประเทศที่มีโอกาสเกิดน้ำท่วมบ่อย เช่น บังกลาเทศ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย อาจได้รับประโยชน์จากแนวคิดนี้ และบางประเทศ เช่น สิงคโปร์ สหรัฐฯ และรัสเซีย ได้เริ่มใช้แนวคิดที่คล้ายคลึงกันแล้ว

แต่ความสำเร็จส่วนใหญ่ในการขยายเมืองฟองน้ำไปทั่วประเทศจีน มีการวิเคราะห์ว่า อาจเป็นเพราะมีรัฐบาลที่รวมศูนย์อำนาจ และเงินกองทุนของรัฐมีจำนวนมาก

ศ.อวี๋ กล่าวว่า เมืองฟองน้ำจะมีค่าใช้จ่ายเพียง 1 ใน 4 ของการแก้ปัญหาน้ำท่วมโดยทั่วไป เขาให้เหตุผลว่า การสร้างสิ่งปลูกสร้างเฉพาะบนที่สูงและการจัดสรรที่ดินไว้สำหรับรองรับน้ำท่วม จะถูกกว่าการสร้างระบบท่อระบายน้ำเสียอีก

“การใช้คอนกรีตจัดการกับน้ำท่วมเหมือนกับการดื่มยาพิษเพื่อดับความกระหาย ... มันเป็นการมองแต่เรื่องเฉพาะหน้า ไม่มองการณ์ไกล ... เราต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศ หากพวกเขาไม่ทำตามวิธีแก้ปัญหาของผม พวกเขาจะล้มเหลว” ศ.อวี๋กล่าว

“บางกอกแอร์เวย์ส” กลับมาให้บริการเที่ยวบิน กรุงเทพฯ – พนมเปญ เริ่ม 1 ธ.ค.

เรียบเรียงจาก BBC

ภาพจาก Turenscape

PR-โปรแกรมผลบอล-2_B PR-โปรแกรมผลบอล-2_B
TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ