นักวิทย์พบโควิด-19 “โอมิครอน BA.2” ลูกพี่ลูกน้องของโอมิครอนเดิม


โดย PPTV Online

เผยแพร่




พบสายพันธุ์ย่อยของ “โอมิครอน” ชื่อ “BA.2” มีชื่อเล่นว่า "สายพันธุ์ล่องหน" ย้ำยังไม่พบในไทย และยังไม่พบว่ารุนแรงกว่าเดิม

นักวิจัยในสหราชอาณาจักรกล่าวว่า พวกเขาพบโควิด-19 “โอมิครอน (Omicron)” สายพันธุ์ย่อย “BA.2” ซึ่งมีการตั้งชื่อกันเล่น ๆ ขึ้นมาว่าเป็นโอมิครอน “สายพันธุ์ล่องหน (Stealth Variant)”

การค้นพบนี้ทำให้นักวิจัยแยกสายพันธุ์ของโอมิครอน จากเดิมที่เรียกรวม ๆ ว่า B.1.1.529 ก็แยกออกเป็น “โอมิครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม BA.1” และสายพันธุ์ย่อยที่พบล่าสุด “BA.2”

“ดร.อนันต์” ชี้ภูมิต้านทานลูกผสมจากไฟเซอร์ ป้องกัน “โอมิครอน” ได้ แม้หนีภูมิ 41 เท่า

ตรวจเจอ“โอมิครอน”เพิ่มอีก 2 รายรักษาหายแล้ว พบไทม์ไลน์ กลับจากไนจีเรีย ไม่ได้ฉีดวัคซีน

มุมมอง 3 ภาคเอกชน "โอมิครอน" ความเสี่ยงใหม่ต่อเศรษฐกิจโลกช่วงต้นปี 65

โดยโอมิครอน BA.2 มีการกลายพันธุ์หลายตำแหน่งที่เหมือนกันกับโอมิครอนดั้งเดิมที่แอฟริกาใต้รายงานพบเมื่อปลายเดือน พ.ย. แต่ขาดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมบางจุดที่จะมีผลให้มันสามารถ “ตีเนียน” ว่าตัวเองเป็นสายพันธุ์อื่นได้เมื่อตรวจหาเชื้อด้วยวิธี PCR

ที่ว่าโอมิครอน BA.2 เป็นสายพันธุ์ล่องหนนั้น ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การตรวจโควิด-19 ด้วยวิธี PCR นั้น จะมีการตรวจสอบยีน 2-3 ส่วนในไวรัส แต่โอมิครอน (รวมถึงรุ่นพี่อย่างอัลฟา) จะตรวจเจอยีนเพียง 1 ใน 2 ส่วน หรือ 2 ใน 3 ส่วนเท่านั้น โดยจะขาดส่วนของยีน S ที่สร้างโปรตีนหนามไป

เหตุเพราะว่าโอมิครอนและอัลฟามีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่เรียกว่า “การลบบนยีนโปรตีนหนาม (S-Gene Drop Out)” ดังนั้นหากตรวจ PCR แล้วไม่พบยีน S หรือตรวจยีนขึ้นไม่ครบ ขึ้นเพียง 2 ใน 3 ก็จะเป็นข้อบ่งชี้ว่า เชื้อที่พบเป็นสายพันธุ์โอมิครอน

แต่กับโอมิครอน BA.2 นี้ มันจะไม่ลบยีนบนโปรตีนหนามออก นั่นหมายความว่า เมื่อตรวจ PCR จะเจอยีนแบบ 2 ใน 2 ส่วน หรือ 3 ใน 3 ส่วน ซึ่งเบื้องต้นทั่วไปเราจะวินิจฉัยว่าเป็นสายพันธุ์เบตา หรือเดลตา เท่ากับว่า โอมิครอนพยายามปลอมตัวเป็นสายพันธุ์ข้างต้นนั่นเอง

ดังนั้น อย่างไม่เป็นทางการ นักวิจัยบางคนจึงเรียกโควิด-19 โอมิครอน BA.2 นี้ว่า “โอมิครอนเวอร์ชันล่องหน (Stealth Omicron)”

พูดโดยง่ายคือ BA.2 เป็นสายพันธุ์ล่องหน เพราะมันจะดูเนียนไปกับสายพันธุ์อื่นได้ แต่ถ้าเป็น BA.1 มันจะมีจุดที่หายไป ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ว่าเป็นโอมิครอน”

นักวิจัยกล่าวว่า ยังเร็วเกินไปที่จะระบุทราบชัดเจนว่า สายพันธุ์ย่อยใหม่ของโอมิครอนนี้จะแพร่กระจายในลักษณะเดียวกับสายพันธุ์โอมิครอนเดิมหรือไม่ แต่บอกได้เพียงว่า มีความแตกต่างทางพันธุกรรมในบางจุด ที่ส่งผลให้อาจมีวิธีการทำงานหรือแพร่เชื้อแตกต่างกัน

โควิด-19 โอมิครอน BA.2 นี้ถูกตรวจพบครั้งแรกในตัวอย่างจีโนมไวรัสโควิด-19 ที่ส่งมาหลายร้อยตัวอย่างในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา จากแอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย และแคนาดา รวมมีเชื้อสายพันธุ์ BA.2 ทั้งสิ้น 7 ตัวอย่าง

แอนดรูว์ แรมเบาต์ นักชีววิทยา ภาควิชาวิวัฒนาการระดับโมเลกุลที่มหาวิทยาลัยเอดินบะระ เป็นผู้เผยแพร่ภาพตำแหน่งการกลายพันธุ์ที่พบว่าเพิ่มขึ้นจากโอมิครอนเดิม นำไปสู่สมมติฐานว่านี่อาจเป็นสายพันธุ์ย่อยใหม่ของโอมิครอน

เขาระบุว่า “ในช่วงสองสามวันที่ผ่านมา มีการอัปโหลดจีโนมจำนวนหนึ่งจากแอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย และแคนาดา ซึ่งในขณะที่มีการกลายพันธุ์หลายอย่างเหมือน B.1.1.529 (โอมิครอน) แต่ก็มีบางจุดที่ไม่เหมือน และมีการกลายพันธุ์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวอื่น ๆ หลายตำแหน่งด้วย”

ด้าน ศ.ฟรังซัวส์ บัลลู ผู้อำนวยการสถาบันพันธุกรรมมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน กล่าวว่า “มี 2 สายพันธุ์ย่อยในโอมิครอน BA.1 และ BA.2 ซึ่งมีความแตกต่างทางพันธุกรรมค่อนข้างมาก ทั้งสองสายพันธุ์อาจมีพฤติกรรมแตกต่างกัน”

สิ่งหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบคือ โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยใหม่นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร แม้ว่าจะนับเป็นสายพันธุ์โอมิครอน ณ ตอนนี้ แต่ก็มีความแตกต่างทางพันธุกรรมมากเสียจนอาจกลายเป็น “สายพันธุ์ที่น่ากังวลตัวใหม่” ในอนาคต หากพบว่ามีศักยภาพในการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว

 

รพ.จุฬาลงกรณ์ เปิดจองวัคซีน "โมเดอร์นา" ฉีดฟรีเป็นเข็มกระตุ้น เริ่ม 8 ธ.ค. 64

WHO ชี้ “โอกาสน้อย” โควิดสายพันธุ์โอมิครอนหลบเลี่ยงวัคซีนได้หมด

เรียบเรียงจาก The Guardian

ภาพจาก AFP

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ