WHO เตือนสายพันธุ์ “โอมิครอน” ระบาดเร็วกว่าสายพันธุ์อื่น


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ผอ.WHO เตือนสายพันธุ์โอมิครอน ระบาดในอัตราที่สูงอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ไม่อยากให้ปชช.เข้าใจโอมิครอนอาการไม่รุนแรง

นายแพทย์เทดรอส เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ระบุว่าไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนมีอัตราการแพร่ระบาดในอัตราสูงอย่างที่เคยไม่เห็นมาก่อนในสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ และเชื่อว่าตอนนี้ประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อสายพันธุ์นี้แล้ว โดยตอนนี้มีรายงานพบการระบาดของสายพันธุ์ดังกล่าวใน 77 ประเทศทั่วโลกแล้ว แต่ผู้อำนวยการ WHO คาดการณ์ว่า อาจจะเป็นไปได้ที่หลายประเทศยังตรวจไม่เจอ

อาการเบื้องต้นของสายพันธุ์ "โอมิครอน"

โอไมครอน ถึงมาเลเซียแล้ว เข้าประเทศเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน | 3 ธ.ค. 64 | รอบโลก DAILY

นอกจากนี้ WHO ยังแสดงความเป็นกังวลที่ประชาชนเข้าใจว่าสายพันธุ์โอมิครอนทำให้เกิดอาการที่ไม่รุนแรงมากนัก เพราะถึงแม้ว่า สายพันธุ์ดังกล่าวจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการป่วยไม่มากจริง แต่จำนวนคนป่วยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วก็จะส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุข

นายแพทย์เทดรอส ยังระบุอีกว่า วัคซีนบูสเตอร์โดส หรือเข็มกระตุ้น สามารถมีบทบาทสำคัญในการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด 19 ได้ ตราบเท่าที่ประชาชนสามารถเข้าถึงวัคซีน แต่ก็เตือนว่าทาง WHO เป็นกังวลว่าการที่รัฐบาลหลายชาติประกาศให้ประชาชนเข้ารับบูสเตอร์โดสอาจจะนำไปสู่ปัญหาการกักตุนวัคซีนแบบที่เคยเกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา

ขณะเดียวกันที่อังกฤษ ซึ่งการระบาดของโอมิครอนทำให้มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รัฐบาลตัดสินใจออกมาตรการชุดใหม่เพื่อควบคุมการระบาด แต่ก็เกิดประเด็นความขัดแย้งในพรรครัฐบาล เมื่อ ส.ส.จากพรรครัฐบาลของนายกฯบอริส จอห์นสัน โหวตสวนมติพรรคถึง 99 คน

ที่ประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอังกฤษลงมติเห็นชอบมาตรการชุดใหม่เพื่อควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยมี ส.ส.พรรคอนุรักษ์นิยมของนายกรัฐมนตรี บอริส จอห์นสัน จำนวนมากถึง 99 คน ที่ลงคะแนนเสียงไม่เห็นชอบ นับเป็นการโหวตสวนทางสิ่งที่รัฐบาลนำเสนอครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ จอห์นสัน ดำรงตำแหน่งนายกฯ แต่มาตรการเหล่านี้ยังได้รับการสนับสนุนจาก ส.ส.บางส่วนของพรรคแรงงาน ซึ่งเป็นฝ่ายค้าน จึงทำให้ผ่านความเห็นชอบได้ในที่สุด

รายงานระบุว่า บรรดาส.ส.ที่ไม่โหวตสนับสนุนมาตรการของนายกฯบอริส เพราะว่ามองว่า เขาอ่อนแอและรับมือกับปัญหานี้ได้ไม่ดีพอ

สำหรับมาตรการโควิดชุดใหม่ที่ทางอังกฤษประกาศใช้ คือการทำให้วัคซีนโควิดเป็นวัคซีนขั้นพื้นฐานที่ต้องฉีดสำหรับบุคลากรที่ทำงานให้แก่ระบบบริการสุขภาพแห่งชาติ หรือ NHS ในอังกฤษ

และบุคคลที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในอังกฤษจะต้องแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีนครบโดสแล้วห หรือได้รับการตรวจหาเชื้อเป็นลบ ก่อนเข้าใช้บริการสถานที่ต่างๆ เช่น ไนต์คลับ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

แพทย์แนะคนฉีดวัคซีนโควิด ทานสมุนไพรไทย ผักใบเขียว และธัญพืช ช่วยลดอาการข้างเคียงได้

ส่วนบุคคลที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว แต่มีความเสี่ยงเพราะสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด ไม่จำเป็นต้องกักตัว แต่ต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อทุกวันแทน และขยายสถานที่ที่ประชาชนต้องสวมหน้ากากอนามัยก่อนเข้าใช้บริการ

 

อย่างไรก็ตาม มาตรการต่างๆ ของอังกฤษมีขึ้น หลังทางการเริ่มโครงการบูสเตอร์โดส เพื่อฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิให้แก่ประชาชน เพราะมองว่าเป็นวิธีการรับมือกับโอมิครอนที่ดีที่สุดในเวลานี้ ขณะเดียวกัน บริษัทไฟเซอร์ ผู้ผลิตวัคซีน เปิดเผยผลการศึกษาว่า วัคซีนไฟเซอร์สองเข็ม สามารถลดอัตราการเข้ารพได้ 70 เปอร์เซ็นต์ และยาเม็ดชนิดรับประทานของไฟเซอร์ ยังสามารถลดอัตราการเข้ารพหรือการตายของกลุ่มเสี่ยงได้เกือบ 90 เปอร์เซ็นต์

โดยไฟเซอร์ เปิดเผยว่าการวิเคราะห์ขั้นสุดท้ายต่อประสิทธิภาพของยารักษาโควิด-19 ชนิดรับประทาน ยังให้ผลลัพธ์ลดอาการป่วยจนต้องเข้าโรงพยาบาล หรือ การตายของกลุ่มเสี่ยงสูงได้ถึง 89 เปอร์เซนต์ โดยจากการทดลองใช้งานในผู้ติดเชื้อกลุ่มนี้ประมาณ 1,100 คน พบว่าผู้ที่ได้รับยาจากไฟเซอร์ไม่มีใครเสียชีวิตเลย ส่วนผู้ที่ได้รับยาหลอกเสียชีวิต 12 คน

ขณะที่ Discovery Health ผู้ให้บริการประกันสุขภาพเอกชนรายใหญ่ที่สุดของแอฟริกาใต้ ร่วมกับสภาวิจัยทางการแพทย์ของแอฟริกาใต้ (SAMRC) ได้วิเคราะห์ผลตรวจโควิด-19 ที่เป็นบวกกว่า 211,000 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 15 พฤศจิกายน ถึง 7 ธันวาคม ซึ่งในจำนวนนี้ 78,000 ตัวอย่าง เชื่อว่าเป็นสายพันธุ์โอมิครอน

โดยผลการศึกษาคำนวณว่า การฉีดวัคซีนไฟเซอร์ 2 โดส ช่วยป้องกันอาการป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้ 70 เปอร์เซ็นต์ และป้องกันการติดเชื้อได้ 33 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงที่จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในแอฟริกาพุ่งสูงขึ้น ท่ามกลางการระบาดของเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน จนถึงขณะนี้ นักวิทยาศาสตร์แอฟริกาใต้ได้ถอดลำดับพันธุกรรมตัวอย่างผู้ติดเชื้อโควิด-19 จากเดือนพฤศจิกายน ยืนยันเป็นเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนแล้ว 550 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 78 เปอร์เซ็นต์ของตัวอย่างที่ตรวจวิเคราะห์ ซึ่งสูงกว่าเชื้อสายพันธุ์เดลต้าที่เป็นสายพันธุ์หลักก่อนหน้านี้

ขณะที่นับตั้งแต่พบเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายวันของแอฟริกาใต้ได้เพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 20,000 คนต่อวัน ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา

แอฟริกาใต้ เข้าใกล้จุดสูงสุดของการระบาดระลอกที่ 4 แล้ว

อังกฤษแห่รับบูสเตอร์โดส หวั่นโอมิครอนกลายเป็นสายพันธุ์หลักระบาด | 13 ธ.ค. 64 | รอบโลก DAILY

แอฟริกาใต้ใช้วัคซีนของไฟเซอร์-ไบออนเทค และจอห์นสันแอนด์จอห์นสันในโครงการสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19 โดยมีการฉีดวัคซีนของไฟเซอร์ให้ประชาชนแล้วมากกว่า 20 ล้านโดส

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ