"ส่องโลก 2021" อะไรเกิดขึ้นบ้างในต่างแดนนอกจากโควิด-19


โดย PPTV Online

เผยแพร่




สรุปรวมเหตุการณ์ทั่วโลกที่เกิดขึ้นตลอดช่วงปี 2021 ที่ผ่านมา นอกเหนือจากสิ่งที่โลกยังคงเผชิญอยู่ อย่างโควิด-19 และสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือโลกร้อน

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า สองเรื่องใหญ่ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดปี 2021 คือ

ข่าวแห่งปี 2564 : 2 ปี เผชิญโควิด-19 "ไวรัสกลายพันธุ์เขย่าโลก กับ ความหวังสารพัดสูตรวัคซีน

รวมคำอวยพรปีใหม่ สวัสดีปีใหม่ 2565 ความหมายดี เลือกส่งให้ผู้ใหญ่และเพื่อน

1.การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ต่อเนื่องมาเป็นเวลา 2 ปี โดยในวันที่ 1 พ.ย.ตัวเลขผู้เสียชีวิตพุ่งสูงถึง 5,000 ราย ผู้ติดเชื้อจาก 83 ล้ายรายในเดือน ม.ค. ขึ้นมาเป็น 280 ล้านรายในเดือน ธ.ค. ขณะที่การฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลกคิดเป็น 57.4% ของประชากรทั้งหมด

2. เรื่องของ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก หรือสภาวะโลกร้อน จนส่งผลให้เกิดภัยพิบัติต่างๆ ทั้งน้ำท่วม ไฟป่า คลื่นความร้อน และยังคงจะเป็นเรื่องใหญ่ที่ทั่วโลกให้ความสำคัญในปีหน้า

 

แต่นอกจาก 2 เรื่องนี้แล้ว ในต่างประเทศยังคงมีเหตุการณ์ใหญ่ๆเกิดขึ้นตลอดทั้งปี พีพีทีวี นิวมีเดีย รวบรวมมาอีกครั้ง

6 มกราคม  :  การจลาจลครั้งใหญ่ของอเมริกา บุกเข้าอาคารรัฐสภา 

เหตุกลุ่มผู้ประท้วงหัวรุนแรงที่สนับสนุนทรัมป์ได้บุกเข้าไปในอาคารรัฐสภาของสหรัฐฯ โดยมีชนวนความโกรธแค้นจากผลการเลือกตั้งสหรัฐ 2020 ที่พวกเขาเชื่อว่าไม่เป็นธรรม โดยมีรายงานผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ทั้งหมด 4 ราย เจ้าหน้าที่ เก็บกู้ไปป์บอมบ์ 2 ลูกสำเร็จ ลูกหนึ่งพบนอกคณะกรรมการแห่งชาติประชาธิปไตย และอีกหนึ่งลูกนอกคณะกรรมการแห่งชาติของพรรครีพับลิกัน

นอกจากนี้ ตำรวจยังสามารถจับกุมผู้กระทำความผิดได้ทั้งหมด 52 ราย โดย 47 รายละเมิดเคอร์ฟิว 4 รายพกปืนโดยไม่มีใบอนุญาต และ 1 รายถูกจับในข้อหาครอบครองอาวุธต้องห้าม

ไล่ลำดับเหตุการณ์บุกรัฐสภาสหรัฐฯ ความรุนแรงครั้งใหญ่ในดินแดนแห่งเสรีภาพ

20 มกราคม : พิธีสาบานตนเพื่อเข้ารับตำแหน่ง "ประธานาธิบดีคนที่ 46"

โจ ไบเดน  เข้าพิธีสาบานตนเพื่อเข้ารับตำแหน่ง "ประธานาธิบดีคนที่ 46" แห่งสหรัฐอเมริกา โดยพิธีลดจำนวนคนลงเหลือราว 30,000 คน จาก 170,000 คน สาเหตุหลักมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

คณะกรรมการจัดพิธีสาบานตนเปิดเผยว่า การเข้ารับตำแหน่งครั้งนี้จะจัดขึ้นในธีม “America United (อเมริการวมเป็นหนึ่ง)” โดย โทนี อัลเลน ประธานคณะกรรมการจัดงานกล่าวว่า เหตุการณ์นี้จะเป็นการสิ้นสุด “ยุคแห่งการแบ่ง” ในสหรัฐฯ

สาบานตนสมัย โจ ไบเดน จุดเริ่มต้นสู่จุดสิ้นสุด “ยุคแห่งการแบ่งแยก” ในสหรัฐฯ

1 กุมภาพันธ์ : กองทัพเมียนมาได้เคลื่อนขบวนรถหุ้มเกราะทหาร รถบรรทุกลำเลียงทหาร ในเมืองทางตอนเหนือของรัฐฉาน และในกรุงย่างกุ้ง เมืองหลวงเก่า โดยอ้างว่าเป็นการเคลื่อนกองกำลังเพื่อออกมาหาข้อมูลการทุจริตการเลือกตั้งของพรรค NLD ซึ่งได้รับคะแนนเสียงถล่มทลายในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อเดือน พ.ย. 2563

ก.พ. โฆษกพรรค NLD เปิดเผยว่า นางอองซาน ซูจี หัวหน้าพรรคและผู้นำประเทศถูกทหารควบคุมตัวไปแล้ว รวมถึงคณะผู้นำประเทศคนอื่น ๆ ด้วย

พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ประกาศ ยึดอำนาจบริหาร-นิติบัญญัติ-ตุลาการทั้งหมด พร้อมประกาศภาวะฉุกเฉินในประเทศเป็นเวลา 1 ปี

ข่าวแห่งปี 2564 : “รัฐประหารเมียนมา” ดินแดนที่ประชาธิปไตยไม่อาจผลิบาน

บรรยากาศ “อารยะขัดขืน” เสียงต้านรัฐประหารเมียนมา

รู้จัก “มินอ่องหล่าย” ผู้นำรัฐประหารเมียนมา

ผู้นำรัฐประหารเมียนมา "พล.อ.มิน อ่อง หล่าย" สหายทหารไทย ลูกบุญธรรม "พล.อ.เปรม" ย้อนความผูกพัน "ป๋า"

20 เมษายน  : ประธานาธิบดีประเทศชาด เสียชีวิตระหว่างต่อสู่กับกบฏ

ประธานาธิบดี อีดริส เดบี ซึ่งปกครองประเทศชาด (Republic of Chad) มากนานกว่า 30 สิบปี เสียชีวิตแล้วในวันที่ 20 เม.ย. 2564 จากบาดแผลที่ได้รับระหว่างบัญชาการกองทัพต่อสู้ในแนวหน้ากับกลุ่มกบฏซึ่งใช้ชื่อว่า ‘กลุ่มแนวหน้าเพื่อความเปลี่ยนแปลงและปรองดองในชาด’ หรือ FACT

10 พฤษภาคม เหตุปะทะ อิสราเอล - ปาเลสสไตน์

ชนวนเหตุความรุนแรงครั้งใหญ่เมื่อ ชาวปาเลสไตน์ผู้นับถือศาสนาอิสลามหลายหมื่นคนมารวมตัวกันที่มัสยิดอัลอักซอ (Al-Aqsa) ในกรุงเยรูซาเล็ม เพื่อทำการละหมาดในวันศุกร์สุดท้ายของเดือนรอมฎอน ท่ามกลางการควบคุมอย่างเข้มงวดของตำรวจอิสราเอลที่บอกว่า การรวมกลุ่มกันของชาวปาเลสไตน์นอกเขตเมืองเก่า (Old City) ถือเป็นความผิด

ด้วยเหตุนี้จึงเกิดการประท้วงจากฝั่งชาวปาเลสไตน์ นำไปสู่การปะทะกันระหว่างทั้งสองกลุ่ม ฝ่ายผู้ประท้วงขว้างปาเก้าอี้ รองเท้า ก้อนหิน ขณะที่ตำรวจยิงกระสุนยางและระเบิดเสียง จนสุดท้ายมีชาวปาเลสไตน์ 205 คนและเจ้าหน้าที่ตำรวจอิสราเอล 17 คนได้รับบาดเจ็บ

ด้าน กองกำลังความมั่นคงของอิสราเอลได้ทำการจู่โจมอย่างฉับพลันในบริเวณอัลอักซอ มีการยิงกระสุนยาง แก๊สน้ำตา และระเบิดเสียงใส่ผู้ที่มาชุมนุมกันอีกครั้ง ทำให้เกิดการปะทะจนชาวปาเลสไตน์บาดเจ็บมากกว่า 300 คน และเจ้าหน้าที่อิสราเอลราว 20 คนก็ได้รับบาดเจ็บเช่นกัน

ไทม์ไลน์เหตุปะทะครั้งใหญ่ระหว่าง “อิสราเอล-ปาเลสไตน์”

ข่าวแห่งปี 2564 : “ความขัดแย้งตะวันออกกลาง” สันติสุขที่ไกลเกินเอื้อม

13 มิถุนายน : ปิดฉาก 12 ปี เนทันยาฮู แห่ง อิสราเอล

เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ในอิสราเอล เมื่ออดีตนายกรัฐมนตรีอย่าง เบนจามิน เนทันยาฮู ต้องพ้นจากตำแหน่ง หลังไม่สามารถรวมเสียงข้างมากจัดตั้งรัฐบาลได้ และความเปลี่ยนแปลงที่ว่ายังรวมถึงการมาของรัฐบาลใหม่ เพราะเป็นครั้งแรกที่อิสราเอลจะมีรัฐบาลผสมมากถึง 8 พรรคการเมือง ในจำนวนนี้รวมถึงพรรคที่เป็นชาวอิสราเอลเชื้อสายอาหรับด้วย

สภาอิสราเอลตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ปิดฉาก 12 ปี เนทันยาฮู

7 กรกฎาคม :  ประธานาธิบดีเฮติ ถูกสังหาร

โฌเวเนล โมอิส ประธานาธิบดีเฮติ  ภายในบ้านพักส่วนตัวที่กรุงปอร์โตรแปงซ์ เมืองหลวง ต่อมาพบว่า ภาพจากกล้องวงจรปิดเผยให้เห็นว่า จู่ๆ ก็มีขบวนรถปริศนาพุ่งเข้ามาในบ้าน จากนั้นกลุ่มชายติดอาวุธก็ลงมา

พวกเขา ระบุตัวว่าเป็น เจ้าหน้าที่หน่วยปราบปรามยาเสตพติดของสหรัฐฯ หรือที่เรียกกันว่า DEA ซึ่งตะโกนให้ทุกคนในบ้านอยู่ในความสงบ ก่อนจะสาดกระสุนสังหารประธานาธิบดี มีเสียงบอกเล่าจากพยานในเหตุการณ์ นั่นคือเพื่อนบ้านของประธานาธิบดีที่เล่าว่า คืนนั้นเสียงปืนดังสนั่นหวั่นไหว ประธานาธิบดีเฮติถูกยิงเสียชีวิตถึง 12 นัด ส่วนสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งก็ได้รับบาดเจ็บสาหัส และถูกส่งตัวไปรักษาในฟลอริดา

หลังเกิดเหตุอันน่าสลด มีชาวเฮติจำนวนไม่น้อยเดินทางมาร่วมไว้อาลัยต่อการจากไปของประธานาธิบดี

เหตุสังหารปธน.เฮติ จับกุมหัวหน้าการ์ด อดีตส.ว.อาจมีเอี่ยว

 

11 กรกฎาคม : อิตาลี คว้าแชมป์ ฟุตบอลยูโร 2020 

อิตาลี คว้าแชมป์ฟุตบอลยูโร 2020 ด้วยการชนะ อังกฤษ ในการดวลจุดโทษ ขุนพล “อัซซูรี่” นับเป็นครั้งแรกในรอบ 53 ปี หลังจากชนะในการดวลจุดโทษ 3-2 จากการที่เสมอกันในเวลา 120 นาที 1-1 

ยูฟ่า สรุป 142 ประตูในศึกยูโร 2020 เกิดขึ้นอย่างไร

14 กรกฎาคม : ป่าแอมะซอน ถูกตัดไม้ทำลายป่าสูงสูดในรอบ 15 ปี

สถาบันเพื่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมแห่งแอมะซอน (Imazon) สถาบันวิจัยอิสระของบราซิล ร่วมกับระบบแจ้งเตือนการตัดไม้ทำลายป่า (DAS) ได้ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลการตัดไม้ทำลายป่า พบว่า การตัดไม้ทำลายป่ามในแอมะซอนมีระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2006 หรือในรอบ 15 ปี และตั้งแต่เดือน ม.ค.-ต.ค. แอมะซอนสูญเสียพื้นที่ป่ามากกว่า 2.4 ล้านเอเคอร์ (มากกว่า 9,700 ตร.กม.) หรือขนาดประมาณ จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นช่วงที่เลวร้ายที่สุดในทศวรรษที่ผ่านมา 

นาซ่าจับภาพ แม่น้ำอเมซอนกลายเป็นสีคล้าย "ทองคำ"

ระดับการตัดไม้ทำลายป่า “แอมะซอน” ของบราซิล สูงสุดในรอบ 15 ปี

23 กรกฎาคม - 8 สิงหาคม โอลิมปิก 2020 เปิดฉากอย่างเป็นทางการ

โดยจัดขึ้นที่ ที่กรุงโตเกียว เจ้าภาพญี่ปุ่นถือว่าจัดได้อย่างยิ่งใหญ่ ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 โดยสรุปเจ้าเหรียญทอง โอลิมปิก โตเกียวเกมส์ 2020

1.สหรัฐอเมริกา คว้าไป 39 เหรียญทอง  41 เหรียญเงิน 33 ทองแดง

2.จีน คว้าไป 38 เหรียญทอง  32 เหรียญเงิน 18 ทองแดง

3.ญี่ปุ่น คว้าไป  27  เหรียญทอง  14 เหรียญเงิน 17 ทองแดง

4.สหราชอาณาจักร คว้าไป 22 เหรียญทอง  21 เหรียญเงิน 22 ทองแดง

5.คณะโอลิมปิกรัสเซีย 20 เหรียญทอง  28 เหรียญเงิน 23 ทองแดง

ส่วนไทย อันดับที่ 59 จาก 1 เหรียญทอง จาก เทนนิส" พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ นักเทควันโดสาวทีมชาติไทย ในรุ่น 49 กก.  0 เหรียญเงิน และ 1 ทองแดง จาก "แต้ว" สุดาพร สีสอนดี ที่คว้าเหรียญทองแดง จากมวยสากลรุ่น 60 กก.หญิง

รวมภาพบรรยากาศพิธีเปิด โอลิมปิกเกมส์ 2020

ข่าวแห่งปี 2564 : เหตุการณ์สำคัญวงการกีฬาไทย ยุคโควิด-19

15 สิงหาคม : ตาลีบันยึดอำนาจจากรัฐบาลอัฟกานิสถานสำเร็จ

“การหวนคืนอำนาจของตาลีบันที่ยึดอำนาจจากรัฐบาลอัฟกานิสถานสำเร็จ หลังสูญเสียอำนาจไปนานกว่า 20 ปี  โดยเมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2564 กลุ่มตาลีบันเข้ายึดครองเมืองหลวงและทำเนียบประธานาธิบดีสำเร็จ และเริ่มดำเนินการถ่ายโอนอำนาจจากรัฐบาลอัฟกานิสถาน ใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือนเท่านั้นในการยึดอำนาจ จนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์การตัดสินใจของสหรัฐฯ และพันธมิตร รวมถึงความอ่อนแอของรัฐบาลอัฟกานิสถานที่พอไม่มีสหรัฐฯ ก็ต้านกลุ่มตาลีบันไม่ไหว

ขณะที่ทั้งโลกได้เห็นภาพของชาวอัฟกานิสถานที่พยายามวิ่งขึ้นเครื่องบินของกองทัพสหรัฐเพื่อหนีออกจากประเทศ

ไทม์ไลน์ "ตาลีบัน" ยึดอัฟกานิสถาน ปฏิบัติการฟ้าแลบโค่นรัฐบาลใน 3 เดือน

ข่าวแห่งปี 2564 : “ความขัดแย้งตะวันออกกลาง” สันติสุขที่ไกลเกินเอื้อม

13 พฤศจิกายน : 64 ประชุม COP26 เพื่อมุ่งแก้ปัญหาโลกร้อน

การประชุมภาคีCOP26 ภาคีนี้หมายถึง ภาคีสมาชิก กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC- United Nations Framework Convention on Climate Change) ซึ่งประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ 197 ประเทศ ภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP26) ณ เมืองกลาสโกว์ สกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร เป็นเวทีระดับโลก

โดย วาระสำคัญของการประชุมครั้งนี้คือ การตรวจสอบ ทบทวน เร่งรัด มาตรการที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เหลือศูนย์ หรือ NET ZERO CARBON ภายในปี 2060 โดยตั้งเป้าจะลดให้เหลือครึ่งหนึ่ง ในปี 2030 หรืออีกแค่ 9 ปีนับจากวันนี้ ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสำคัญที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต คือ ควบคุมอุณหภูมิโลก ไม่ให้สูงขึ้นกว่ายุคก่อนอุตสาหกรรม 1.5-2.0 องศาเซลเซียส

รวมวรรคทองของบรรดาผู้นำระดับโลกจากการประชุม COP26 ใครพูดอะไรบ้าง?

ทั้งหมดคือ เหตุการณ์ใหญ่ๆ ที่เกิดขึ้นในต่างแดน สุดท้ายแล้วปี 2021 กำลังจะก้าวผ่านไป เข้าสู่ปี 2022 พีพีทีวี นิวมีเดีย ขออวยพร "ให้โลกสงบสุข"

 

ที่มา : AFP News Agency

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ