อินโดนีเซีย อนุมัติ ช่วยชาวโรฮิงญาหลังนานาชาติเรียกร้อง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เมื่อวันพุธ มีชาวประมงชาวอินโดนีเซีย พบเรือของผู้อพยพชาวโรฮิงญา กำลังลอยลำอยู่ทางตะวันตกของเกาะสุมาตรา วิดิโอที่บันทึกภาพ ของชาวโรฮิงญาแพร่หลายจนทำให้องค์กรสิทธิมนุษยชนต่างๆ เรียกร้องให้มีคนยื่นมือเข้าช่วยเหลือพวกเขา

ชาวโรฮิงญาแออัดกันประมาณ 120 คน ในนั้นมีทั้งผู้ใหญ่ เด็ก และคนชรา ก่อนหน้านี้มีรายงานว่ามีผู้ป่วยอยู่หลายคน และมีคนเสียชีวิตบนเรือไปแล้ว 1 ราย เดิมที เจ้าหน้าที่นาวิกโยธินกล่าวว่าพวกเขาทำได้แค่ลำเลียงน้ำและอาหารให้กับชาวโรฮิงญาบนเรือ แต่ไม่สามารถพาพวกเขาขึ้นฝั่งบนดินแดนอินโดนีเซียได้ เพราะชาวโรฮิงญาไม่มีสัญชาติอินโดนีเซีย

แต่เพราะเรือของพวกเขามีสภาพชำรุดเต็มที ทั้งเจ้าหน้าที่ยังประเมินว่าคงจะลอยเหนือน้ำได้อีกไม่กี่วันก่อนจะจมเพราะมีรูน้ำรั่วหลายจุด 

“ใช้อาหารสู้โลกร้อน” เมื่อสิ่งที่เรารับประทานทุกวัน มีผลกับโลกทั้งใบ

เตือนไม่กี่วัน 1 ใน 10 ของชาวยุโรปจะติดโควิด

ทำให้องค์กรนานาชาติอย่าง UNHCR และ Amnesty International เรียกร้องให้รัฐบาลอินโดนีเซียอนุญาตให้พวกเขาขึ้นฝั่ง

เจ้าหน้าที่ของ UNHCR อินโดนีเซีย กล่าวว่าหลังจากนี้จะมีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 และกักตัวชาวโรฮิงญา ก่อนจะประสานงานกับรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นต่อไป และพวกเขากล่าวขอบคุณที่รัฐบาลอินโดนีเซียที่ตัดสินใจอนุญาตช่วยเหลือชาวโรฮิงญา

อินโดนีเซียไม่ได้ลงนามใน อนุสัญญาปี 1951 ว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย และก่อนหน้านี้อินโดนีเซียทำหน้าที่เป็นเพียงประเทศทางผ่านให้กับคนที่ต้องการลี้ภัยในประเทศปลายทางเท่านั้น และอินโดนีเซียเคยรับผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญามาก่อน ทางการอินโดนีเซียเปิดเผยว่าปัญหาผู้ลี้ภัยที่เคยเกิดขึ้น จะช่วยให้พวกเขาหาวิธีการดูแลชาวโรฮิงญากลุ่มนี้ให้ดีมากขึ้น

ก่อนหน้านี้ ชาวโรฮิงญานับร้อยคนต่างเสี่ยงชีวิตอยู่บนเรือกลางทะเล โดยชาวประมงที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญ ให้สัมภาษณ์ว่าผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาอยู่ในสภาพที่น่าสลดใจมาก

เขาเล่าว่า เรือของชาวโรฮิงญามีสภาพเก่าและเล็กเกินกว่าจะบรรทุกผู้โดยสารหลักร้อย แต่ละคนอยู่ในสภาพหิวโซ หลายคนเจ็บป่วย และทุกคนต้องการความช่วยเหลือโดยเร่งด่วน แต่เพราะตามกฎหมายของอินโดนีเซีย หากพาผู้ลี้ภัยเหล่านี้กลับเข้าฝั่งมาด้วย เขาอาจได้รับโทษจำคุกถึง 8 ปี

ตั้งแต่เกิดสังหารหมู่ชาวโรฮิงญา บริเวณรัฐยะไข่ ทางตะวันตกของเมียนมา ทำให้มีชาวโรฮิงญาลี้ภัยออกนอกประเทศมากกว่า 730,000 คน ส่วนใหญ่หนีข้ามชายแดนไปยังฝั่งประเทศบังกลาเทศที่มีพรมแดนติดกับรัฐยะไข่ และจำนวนไม่น้อยลี้ภัยมุ่งหย้ามาที่ไทย มาเลเซียหรือ

อินโดนีเซียโดยทางเรือ ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน เนื่องจากเป็นช่วงปลอดมรสุม ทำให้ทะเลสงบ  ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางไหน การลี้ภัยของชาวโรฮิงญาเต็มไปด้วยอันตราย ทั้งจากการถูกทหารเมียนมาสังหารระหว่างเดินทาง เจ็บป่วย และเรือล่ม

การปฏิบัติต่อชาวโรฮิงญาทำให้รัฐบาลเมียนมาถูกประนาม และสถานการณ์หนักหนาสาหัสมากขึ้นหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ และการใช้ความรุนแรงไม่ได้อยู่เพียงเฉพาะชาวโรฮิงญาอีกต่อไป หลังการรัฐประหาร ใครก็ตามที่ออกมาคัดค้านถูกสังหารหรือปราบปราม

ตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นมา กองทัพเมียนมาใช้เครื่องบินรบและระเบิดถล่มหมู่บ้านกลุ่มชาติพันธุ์ในรัฐชิน กะยา และกะเหรี่ยง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ทั้งเด็กและผู้หญิง มีผู้พลัดถิ่นหลายหมื่นคน และมีชาวเมียนมาหลายพันคนต้องอพยพหนีตายเข้ามาในฝั่งอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ความเคลื่อนไหวล่าสุดจากนานาชาติ เมื่อวานนี้สหภาพยุโรป เปิดเผยว่าจะมีการพิจารณาคว่ำบาตรเมียนมา ด้วยการระงับการค้าอาวุธให้กับรัฐบาลทหารเมียนมา

โจเซฟ บอเรล เจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจการต่างประเทศของสหภาพยุโรป กล่าวว่าขณะนี้นานาชาติต้องเริ่มช่วยกันยุติความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเมียนมา หนึ่งในนั้นคือการยกเลิกการค้าอาวุธ และเขากล่าวว่าสหภาพยุโรป พร้อมจะเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรรัฐบาลทหารของเมียนมาในอนาคต

ก่อนหน้านี้ สหภาพยุโรปได้คว่ำบาตรผู้นำและสมาชิกสำคัญของคณะรัฐประหารเมียนมา และระงับเงินทุนสนับสนุนและช่วยเหลือรัฐบาล เพื่อไม่ให้เป็นการสนับสนุนความชอบธรรมของรัฐบาลเผด็จการทหาร

ส่งท้ายปีเก่า สวดมนต์ข้ามปี 2565 เพื่อเสริมสิริมงคลให้ชีวิตรับ "ปีใหม่"

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ