
ครั้งแรกของโลก! ปลูกถ่าย “หัวใจหมู” ให้ผู้ป่วยโรคหัวใจระยะสุดท้าย
เผยแพร่
แพทย์มหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ปลูกถ่าย “หัวใจหมู” ให้ผู้ป่วยโรคหัวใจระยะสุดท้ายครั้งแรกของโลก
เดวิด เบนเน็ตต์ ชายชาวรัฐแมรีแลนด์วัย 57 ปี ป่วยด้วยโรคหัวใจระยะสุดท้าย แพทย์วินิจฉัยว่า เขาไม่สามารถรักษาด้วยการปลูกถ่ายหัวใจทั่วไปหรือการใส่หัวใจเทียมได้ นั่นทำให้ความหวังในการหายป่วยของเขาดูจะกลายเป็นศูนย์ในทันที
แต่เขายังมีความหวังเล็ก ๆ อยู่ นั่นคือการปลูกถ่าย “หัวใจหมู” และเป็นทางเลือกเดียวที่มีในปัจจุบันที่จะทำให้เขาหายป่วยได้ ซึ่งการรักษากึ่งการทดลองนี้ ได้รับอนุญาตจากองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2021 ให้ทำการผ่าตัดฉุกเฉินได้
ปฏิวัติวงการแพทย์! สหรัฐฯ ปลูกถ่ายไตหมูในมนุษย์สำเร็จครั้งแรกในโลก
นักวิทย์สร้างตัวอ่อนครึ่งคนครึ่งลิง หวังแก้ปัญหาขาดแคลนอวัยวะปลูกถ่าย
ครั้งแรกของโลก!! แพทย์มะกันปลูกถ่ายอวัยวะเพศชายพร้อมอัณฑะสำเร็จ
“มันคือทางเลือกว่าจะยอมตายหรือเสี่ยงทำการปลูกถ่าย ผมต้องการมีชีวิตอยู่ ผมรู้ว่ามันเป็นแสงเล็ก ๆ ในความมืด แต่มันเป็นทางเลือกสุดท้ายของผม” เบนเน็ตต์กล่าวก่อนการผ่าตัด
การผ่าตัดครั้งนี้ดำเนินการโดยทีมแพทย์จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ เป็นครั้งแรกในโลกที่พิสูจน์ความเป็นไปได้ของการปลูกถ่ายหัวใจจากหมูสู่คน ซึ่งทำได้สำเร็จโดยใช้เครื่องมือแก้ไขยีนแบบใหม่
เนื่องจากหัวใจหมูจะมียีน 3 ตัวที่ทำให้ร่างกายมนุษย์ปฏิเสธอวัยวะ จึงต้องมีการดัดแปลงยีน รวมถึงเพื่อป้องกันการเติบโตของเนื้อเยื่อหัวใจหมูมากเกินไป และแทรกยีนของมนุษย์ลงไป 6 ตัวเพื่อให้ร่างกายยอมรับหัวใจหมูนี้
หัวใจหมูที่นำมาปลูกถ่ายให้เบนเน็ตต์นั้น มาจากบริษัท Revicor บริษัทเวชศาสตร์ฟื้นฟูในเวอร์จิเนีย ในตอนเช้าของวันผ่าตัด ทีมปลูกถ่ายได้เอาหัวใจของหมูออกแล้วใส่ลงในอุปกรณ์พิเศษเพื่อรักษาสภาพของหมูไว้จนกระทั่งถึงเวลาผ่าตัด
การผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจหมูให้เบนเน็ตต์ดูจะผ่านไปได้ด้วยดี โดย 3 วันหลังการปลูกถ่าย เบนเน็ตต์มีอาการดีขึ้น นอกจากการดัดแปลงยีนของหัวใจหมูแล้ว เบนเน็ตต์ยังได้รับยาต้านการปฏิเสธอวัยวะซึ่งเป็นยาที่อยู่ระหว่างการทดลองด้วย
แพทย์ผู้รับผิดชอบการปลูกถ่ายหัวใจหมูกล่าวว่า หลังจากนี้ จะต้องเฝ้าติดตามอาการของเบนเน็ตต์ต่อเนื่องเป็นเวลาหลายวันจนถึงหลายสัปดาห์ เพื่อดูว่าการปลูกถ่ายนั้นเป็นประโยชน์ต่อชีวิตเขาหรือไม่ และจะคอยเฝ้าระวังปัญหาของระบบภูมิคุ้มกันหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
ดร.บาร์ตลีย์ พี. กริฟฟิธ ศัลยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด กล่าวว่า “ปัจจุบัน ในสหรัฐฯ มีการบริจาคหัวใจไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ที่เข้าคิวรอรับการเปลี่ยนหัวใจ ... เราดำเนินการอย่างระมัดระวัง แต่เราก็หวังว่า การผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจหมูครั้งแรกในโลกนี้จะเป็นทางเลือกใหม่ที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจในอนาคต”
8 อาการติด "โอมิครอน" สธ.ชี้ เกินครึ่งไม่แสดงอาการ
ข้อมูลจากเว็บไซต์บริจาคอวัยวะของทางการสหรัฐฯ ระบุว่า มีผู้ป่วยในสหรัฐฯ ทั้งหมด 106,657 รายที่อยู่ในรายชื่อรอการปลูกถ่ายอวัยวะ และในแต่วันมีผู้ที่ต้องเสียชีวิตเพราะรออวัยวะถึง 17 รายโดยเฉลี่ย หรือประมาณ 6,000 รายต่อปี
สุกรเป็นแหล่งอวัยวะปลูกถ่ายที่มีศักยภาพนานแล้ว เพราะอวัยวะของพวกมันมีความคล้ายคลึงกับมนุษย์มาก โดยอวัยวะอื่น ๆ จากหมูที่กำลังได้รับการวิจัยเพื่อนำมาปลูกถ่ายให้มนุษย์ ได้แก่ ไต ตับ และปอด
ก่อนหน้านี้ มีเพียงลิ้นหัวใจหมูเท่านั้นที่ได้รับการปลูกถ่ายให้มนุษย์มาหลายปีแล้ว
นอกจากนี้ เมื่อเดือนตุลาคม 2021 ที่ผ่านมา นิวมีเดีย พีพีทีวี ได้นำเสนอข่าวทีมวิจัยของดร.โรเบิร์ต มอนต์โกเมอรี ศัลยแพทย์ปลูกถ่ายอวัยวะ ที่ทดลองปลูกถ่ายไตจากหมูให้กับผู้ป่วยที่มีภาวะสมองตายได้สำเร็จ เป็นก้าวสำคัญของวงการแพทย์ในการปลูกถ่ายอวัยวะ
ด้าน อาร์ต แคปแลน ศาสตราจารย์ด้านชีวจริยธรรมที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก กล่าวว่า เขารู้สึกวิตกเล็กน้อยเมื่อได้ยินข่าวเรื่องการปลูกถ่ายหัวใจหมูให้มนุษย์
เขาบอกว่า มันยังเร็วเกินไปที่จะเรียกว่านี่เป็นความสำเร็จ ความสำเร็จจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเบนเน็ตต์มีชีวิตที่ดีต่อเนื่องเป็นเวลาหลายเดือน แต่ก็ยังมีความเป็นไปได้ที่เขาอาจจะเสียชีวิต
“แต่ไม่ว่าผลลัพธ์จะออกมาเป็นอย่างไร นักวิจัยก็จะได้เรียนรู้บางสิ่งที่สามารถนำไปใช้กับการปลูกถ่ายในอนาคตได้” แคปแลนเสริม
เช็กที่นี่ ! รวมจุดฉีดวัคซีนโควิด ทั้งแบบลงทะเบียน และ Walk in
ภาพจาก University of Maryland School of Medicine
อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร Add friend ได้ที่ @PPTVOnline