อนามัยโลกแนะนำยาเพิ่มอีก 2 ตัว เพิ่มทางเลือกรักษาโควิด-19


โดย PPTV Online

เผยแพร่




องค์การอนามัยโลกรายงานแนะนำยาที่ใช้รักษาโควิด-19 ได้เพิ่มอีก 2 ตัว คือ บาริซิทินิบ และโซโตรวิแมบ

เมื่อวันที่ 14 ม.ค. ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกรายงานแนะนำยารักษาโควิด-19 เพิ่มอีก 2 ตัว เพื่อเป็นทางเลือกเพิ่มเติมในการรักษาโรค ยาเหล่านี้จะช่วยชีวิตคนได้มากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับว่ามีการกระจายในวงกว้างเพียงใดและมีราคาจับต้องได้มากเพียงใด

ยาตัวแรกที่ WHO แนะนำให้ใช้เพิ่มเติมคือ “บาริซิทินิบ (Baricitinib)” โดยแนะนำให้ใช้กับผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงหรืออยู่ในภาวะวิกฤต

เผยผลทดสอบ “ยาตำรับสมุนไพรลดไข้” ยับยั้งโควิดได้ กรมวิทย์ฯเร่งศึกษาเพิ่มก่อนใช้รักษา

ลาวเปิดตัวยาต้านโควิด-19 "โมลาโคเวียร์" กระปุกละ 4 แสนกีบ

เทียบสเปก ยาเม็ดต้านโควิด-19 ของ “เมอร์ค” และ “ไฟเซอร์”

บาริซิทินิบเป็นส่วนหนึ่งของยากลุ่มที่เรียกว่ายายับยั้งเอนไซม์ Janus kinase (JAK) ซึ่งจะยับยั้งการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันมากเกินไป และ WHO แนะนำว่าให้ใช้ยานี้ร่วมกับยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์

ข้อมูลใหม่จากแอสตร้าเซเนก้าสำหรับใช้ "กระตุ้นเข็ม 3"

บาริซิทินิบเป็นยารับประทาน เดิมใช้ในการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ Interleukin-6 receptor blockers

ส่วนยาอีกตัวหนึ่งที่ WHO แนะนำ เป็นยาโมโนโคลนอลแอนติบอดีที่หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อมาแล้ว นั่นคือ “โซโตรวิแมบ (Sotrovimab)” แนะนำใช้ในการรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในระดับเล็กน้อยหรือปานกลาง และมีโอกาสสูงที่จะเข้าโรงพยาบาลจากภาวะทางร่างกาย เช่น เป็นผู้สูงอายุ เป็นผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน และผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนโควิด-19

โซโตรวิแมบเป็นทางเลือกที่สามารถทดแทนการใช้ “คาซิริวิแมบ-อิมเดวิแมบ (Casirivimab-Imdevimab) ซึ่งเป็น “แอนติบอดีค็อกเทล” ได้ ในกรณีที่หาแอนติบอดีค็อกเทลสูตรดังกล่าวไม่ได้

นอกจากการใช้รักษาโควิด-19 โดยทั่วไปแล้ว ขณะนี้กำลังมีการศึกษาประสิทธิภาพของโซโตรวิแมบต่อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนด้วย ซึ่งยังไม่แล้วเสร็จ แต่มีข้อมูลในเบื้องต้นว่า ยังคงมีฤทธิ์ในการรักษาอยู่

คณะผู้เชี่ยวชาญที่ออกคำแนะนำดังกล่าวยังได้พิจารณายาอีก 2 ตัวสำหรับการติดเชื้อโควิด-19 แบบรุนแรงและร้ายแรง คือ รุกโซลิทินิบ (Ruxolitinib) และโทฟาซิทินิบ (Tofacitinib) แต่การศึกษาผลลัพธ์และผลข้างเคียงยังไม่ชัดเจน WHO จึงแนะนำว่า หากจะใช้อาจต้องพิจารณาอย่างเข้มงวด และต้องมีเงื่อนไขในการใช้งาน

คำแนะนำในครั้งนี้ของ WHO อ้างอิงจากหลักฐานจากการทดลอง 7 ชิ้นที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยโควิด-19 ที่อาการไม่รุนแรง อาการรุนแรง และอยู่ในภาวะวิกฤตรวมกว่า 4,000 ราย

WHO กำลังหารือกับบริษัทผู้ผลิตยาเหล่านี้ เพื่อหาแนวทางในการจัดหายาให้ทั่วโลกเข้าถึงการรักษาได้อย่างเท่าเทียมและยั่งยืน โดยเฉพาะการหาแผนเข้าถึงยาที่ครอบคลุมสำหรับประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง เพื่อให้การรักษาด้วยยาเหล่านี้สามารถนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็วทุกที่ ไม่ใช่แค่ในประเทศที่ร่ำรวย

นอกจากยาเหล่านี้แล้ว WHO กำลังศึกษายารักษาโควิด-19 ตัวอื่น ๆ ด้วย เพื่อออกคำแนะนำใช้เป็นยารักษา ไม่ว่าจะเป็นโมลนูพิราเวียร์ ยาของไฟเซอร์ ฟลูโวซามีน ฯลฯ

เช็กที่นี่! รวมจุดฉีดวัคซีน รพ.ในชลบุรี ที่เปิด walk in เข็ม 1-3 วันที่ 17-23 ม.ค. 65

เรียบเรียงจาก WHO

ภาพจาก Getty Image

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ