ทำไมต้องย้ายเมืองหลวง? กรณีศึกษาจากอินโดนีเซีย-อียิปต์


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เปิดสาเหตุอินโดนีเซีย-อียิปต์ย้ายเมืองหลวง มีความจำเป็นอย่างไร?

เรื่องของการ “ย้ายเมืองหลวง” เป็นคำที่คนไทยเองมีความคุ้นเคยพอสมควร นับตั้งแต่การย้ายราชธานีมายังกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ที่ย้ายมายังกรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงของประเทศไทยในปัจจุบัน

ซึ่งไม่ใช่เพียงแต่ประเทศไทยที่มีการย้ายเมืองหลวง เพราะในต่างประเทศก็มีการตัดสินใจย้ายจุดศูนย์กลางของประเทศเช่นกัน โดยเหตุผลในการย้ายก็มีทั้งเรื่องของภูมิประเทศที่ลำยาก จุดยุทธศาสตร์การทำสงคราม รวมถึงโรคระบาด

ภูเขาไฟปะทุใกล้เมืองหลวงไอซ์แลนด์ หลังสงบไปนาน 900 ปี

อียิปต์ ส่อเลื่อนแผนย้ายเมืองหลวง

ย้ายเมืองหลวง !! “อินโดนีเซีย” ผุดแผน หนีรถติด-ความแออัด-เมืองจมน้ำ

ปัจจุบันนี้เอง ยังคงมีบางประเทศที่มีแผนการย้ายเมืองหลวง หรือบ้างก็เริ่มย้ายประชากรแล้วด้วยซ้ำ แต่ในยุคสมัยที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีซึ่งน่าจะแก้ไขปัญหาหลาย ๆ อย่างได้ ทำไมจึงยังต้องมีการย้ายเมืองหลวงอยู่ ตัวอย่างที่ไม่ไกลตัวจากเรานัก คือ “อินโดนีเซีย”

ในปี 2019 โจโค วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ประกาศแผนย้ายเมืองหลวง จากกรุงจาการ์ตาบนเกาะชวาในปัจจุบัน ไปยังจังหวัดกาลิมันตันตะวันออก บนเกาะบอร์เนียว

และล่าสุดทางการอินโดนีเซียเคาะชื่อของเมืองหลวงแห่งใหม่แล้วว่า  “นูซันตารา (Nusantara)” ซึ่งในภาษาชวาแปลว่า “หมู่เกาะ (Archipelago)” เพื่อสะท้อนลักษณะทางภูมิประเทศของประเทศอินโดนีเซีย

แผนการย้ายเมืองหลวงของอินโดนีเซียนี้เป็นความพยายามที่จะบรรเทาความท้าทาย 3 ด้าน คือ ความหนาแน่นของประชากร ปัญหาสิ่งแวดล้อม และเพื่อกระจายความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของประชาชน

ยื่นภาษีของปี 2564 ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 และภาษีทุกประเภท ผ่าน E-FILING

เช็กเลย! ปฏิทินจ่ายเงินเดือนข้าราชการ - ลูกจ้าง - บำนาญ ปี 2565 เงินเข้าวันไหน?

กรุงจาการ์ตาเป็นเมืองที่มีประชากรมากกว่า 10 ล้านคน ทำให้มีความแออัดอย่างมาก ซึ่งสะท้อนชัดผ่านการจราจรที่หนาแน่น อัตราการสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ ซึ่งส่งผลกระทบสืบเนื่องไปยังปัญหาที่สอง คือเรื่องของสิ่งแวดล้อม

กรุงจาการ์ตาของอินโดนีเซียมักประสบอุทกภัยเป็นประจำ และเป็นหนึ่งในเมืองที่จะทรุดตัวเร็วที่สุดในโลก เนื่องจากการดึงน้ำบาดาลมาใช้มากเกินไป โดยพื้นที่บางส่วนของทางเหนือของจาการ์ตาทรุดลงประมาณ 25 ซม. ต่อปี นอกจากนี้ กรุงจาการ์ตายังประสบปัญหาแหล่งน้ำเน่าเสีย จากภาคอุตสาหกรรมและพฤติกรรมของประชาชนที่มีอยู่มาก

ส่วนในด้านของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ชวาซึ่งเป้นที่ตั้งของจาการ์ตา เป็นที่อยู่อาศัยของประชากรมากกว่า 60% ของประเทศ และมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศ จึงทำให้ความเจริญและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่นี้สูงล้ำไปกว่าพื้นที่อื่น ขณะที่กาลิมันตันมีขนาดใหญ่กว่าเกือบ 4 เท่ากลับมีสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่สู้ดีนัก

ด้วยเหตุนี้ ทางการอินโดนีเซียจึงคาดหวังว่า การย้ายเมืองหลวงจากจาการ์ตามายังนูซันตารานี้ จะช่วยลดความหนาแน่นของประชากร เพิ่มโอกาสฟื้นฟูสภาพแวดล้อมของจาการ์ตา และกระจายความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ

รัฐบาลยืนยันว่า จาการ์ตาจะยังคงเป็นศูนย์กลางการค้าและการเงินของประเทศ ไม่ได้ปล่อยทิ้งเป็นเมืองร้าง เพียงแต่หน่วยงานด้านการบริหารของรัฐบาลจะย้ายไปที่กาลิมันตันตะวันออก ห่างจากกรุงจาการ์ตาไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 2,000 กม.

แม้แผนการย้ายเมืองหลวงอินโดนีเซียจะล่าช้าไปเนื่องจากการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 แต่คาดว่าจะสามารถดำเนินการย้ายเมืองได้ในปี 2024 และการก่อสร้างจะเริ่มได้ตั้งแต่ปีนี้ หลังจากที่ร่างกฎหมายเกี่ยวกับเมืองหลวงใหม่ได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาเมื่อวันอังคาร (18 ม.ค.) ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม นักสิ่งแวดล้อมเตือนว่า การย้ายเมืองหลวงนั้นเสี่ยงต่อการสร้างมลภาวะในพื้นที่กาลิมันตันตะวันออก เพราะการสร้างเมืองจะต้องมีการทำลายป่าฝน ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของลิงอุรังอุตัง หมีแดด ลิงจมูกยาว และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ นับล้าน

เช็กที่นี่ ! รวมจุดฉีดวัคซีนโควิด ทั้งแบบลงทะเบียน และ Walk in

ด่วน! ลงทะเบียนฉีดวัคซีนเข็ม 3 "ไฟเซอร์" กับสภากาชาดไทย เริ่ม 18 ม.ค. 65

"เช็ก 5 อาการโอมิครอน" ที่แพทย์ตรวจพบในกลุ่มผู้ติดเชื้อโควิด

ขยับมาดูที่ประเทศ "อียิปต์" ซึ่งมีอารยธรรมมาแต่โบราณกาล ก็มีแผนการย้ายเมืองหลวงตั้งแต่ปี 2015 โดยย้ายจากกรุงไคโร ไปยังกรุงนิวไคโร (New Cairo) และมีประกาศย้ายที่ทำการของรัฐบาลอียิปต์ไปตั้งแต่เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2021 ที่ผ่านมา

หลังจากนั้น รัฐบาลอียิปต์ได้เริ่มกระบวนการย้ายที่ทำการไปยังเมืองหลวงแห่งใหม่ในเดือน ธ.ค. ตามแผนนำร่องระยะ 6 เดือน หลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนเตรียมความพร้อมด้านอาคารและสำนักงานใหญ่ของรัฐบาลแล้ว

เมืองหลวงแห่งใหม่ของอียิปต์ตั้งอยู่ห่างจากกรุงไคโรไปทางตะวันออกราว 45 กิโลเมตร และเริ่มก่อสร้างตั้งแต่เมื่อปี 2015 สามารถรองรับประชากรได้ 6.5 ล้านคน โดยในระยะแรกจะเคลื่อนย้ายประชาชนไปก่อน 500,000 คน

สาเหตุสำคัญในการย้ายเมืองหลวงของอียิปต์มาจากปัญหาเรื่องของความแออัดของประชากร โดยกรุงไคโรเป็นที่อยู่ของประชาชนกว่า 20 ล้านคน หรือ 1 ใน 5 ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมาก

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของการจัดวางผังเมือง เนื่องจากกระทรวงและสถานทูตต่าง ๆ ซึ่งตั้งอยู่รอบบริเวณจัตุรัสทาห์เรียร์ ใจกลางกรุงไคโร เป็นเหมือนก้อนไขมันที่อุดตันกระแสเลือด เพราะถนนหลายสายมักถูกปิดกั้นเพื่อความปลอดภัยของอาคารและผู้ที่อยู่ในอาคารสำคัญเหล่านี้ จนบ่อยครั้งเกิดปัญหาการจราจรที่เข้าขั้นวิกฤต บางครั้งแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะเดินทางจากเมืองหนึ่งไปยังอีกเมืองหนึ่ง

หากไม่มีการย้ายเมืองหลวง ทาการอียิปต์คาดว่า จำนวนประชากรในกรุงไคโรเก่าจะเริ่มขึ้นจาก 20 กว่าล้านเป็น 40 ล้านคนภายในปี 2050

นอกจากนี้ รัฐบาลอียิปต์ยังมุ่งมั่นที่จะ “เป็นประเทศที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” โดยการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับประเทศ ด้วยแผนสร้างพื้นที่สีเขียว 15 ตารางเมตรต่อประชากร 1 คน และจะมี “แม่น้ำสีเขียว” อยู่ตรงกลางเมือง ซึ่งจะสร้างความเขียวขจีได้เป็น 2 เท่าของเซ็นทรัลพาร์กในนิวยอร์ก

รัฐบาลอียิปต์ยังคาดว่า เมืองหลวงแห่งใหม่นี้จะสร้างโอกาสด้านการจ้างงานได้อีกราว 2 ล้านอัตรา

ธปท.ออกธนบัตรพอลิเมอร์ ชนิดราคา 20 บาทใหม่ เริ่มใช้ 24 มี.ค.

อัปเดต "ภาวะ Long COVID" ทั้งเกิดขึ้นใหม่และเป็นต่อเนื่อง หลังติดเชื้อโควิด-19

นอกจากอินโดนีเซียกับอียิปต์ที่เพิ่งมีแผนย้ายเมืองหลวงเมื่อเร็ว ๆ นี้แล้ว เมื่อปี 2005 เมียนมาซึ่งขณะนั้นอยู่ในภายใต้รัฐบาลทหารก็ประกาศย้ายเมืองหลวง จากกรุงย่างกุ้ง มาเป็นกรุงเนปิดอว์ โดยให้เหตุผลว่า เพื่อให้รัฐบาลทหารอยู่ในตำแหน่งที่เป็นศูนย์กลางทางภูมิศาสตร์มากขึ้น “เพื่อจับตาดู” กลุ่มกบฏที่จัดตั้งและฝึกอบรมการก่อรัฐประหารในป่า

หรืออย่างไนจีเรีย ที่มีการย้ายเมืองหลวงจากลากอส ไปยังอาบูจา เพื่อหลีกเลี่ยงอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมือง 3 กลุ่มที่ทรงอิทธิพลในพื้นที่เมืองหลวงเก่า รวมถึงเพื่อลดปัญหาประชากรแออัดเช่นกัน

ขณะที่กรุงเทพฯ ของประเทศไทยเอง ก็มีกระแสถามถึงการย้ายเมืองหลวงอยู่บ้าง โดยเฉพาะในช่วงที่มีข่าวว่า กรุงเทพฯ อาจจะจมอยู่ใต้บาดาลในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากทั้งภาวะโลกร้อน และสภาพดินของกรุงเทพฯ ที่ทรุดตัวได้ง่าย กระนั้น ก็ยังไม่มีความชัดเจนหรือแผนการย้ายเมืองหลวงอย่างเป็นทางการ

แต่หากวันหนึ่งวันใดกรุงเทพฯ เผชิญกับวิกฤตสิ่งแวดล้อมและความแออัดของประชากรเกินรับไหวจริง ๆ ถึงวันนั้น การย้ายเมืองหลวงก็คงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

สิ่งหนึ่งที่เราเรียนรู้จากประเด็นเรื่องการย้ายเมืองหลวง คือทุกอย่างล้วนต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา และบางครั้งเราจำต้องเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมกับการใช้ชีวิตมากกว่าความคุ้นชิน ซึ่งก็แตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย แต่ในโลกที่กำลังเผชิญกับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปัญหาประชากรล้นโลกนี้ การย้ายเมืองหลวงของประเทศต่าง ๆ อาจเป็นเรื่องที่เราเห็นได้จนชินนับจากนี้

 

ภาพจาก AFP / Xinhua

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ