สหรัฐฯ ปัดข้อเรียกร้องรัสเซีย ห้ามยูเครนเป็นสมาชิกนาโต


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ชนวนหลักที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับชาติตะวันตกในกรณีของยูเครน คือ การที่นาโตขยายขอบเขตเข้าไปในยุโรปตะวันออก ซึ่งเคยเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต รวมถึงการกำลังพิจารณาจะรับยูเครนเข้าเป็นสมาชิก ซึ่งถือเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ความมั่นคงของรัสเซีย หรือเป็นหลังบ้าน ทำให้รัสเซียยอมไม่ได้ จึงเป็นหนึ่งในประเด็นที่อยู่บนโต๊ะเจรจาตลอดมาตั้งแต่เมื่อปลายปีที่แล้ว ทำให้รัสเซียต้องเคลื่อนกำลังนับแสนนายประชิดชายแดนยูเครน ส่วนสหรัฐฯ และนาโตก็เสริมกำลังในประเทศสมาชิกและส่งอาวุธให้ยูเครนต่อเนื่อง

ระวังเต็มสูบ! สหรัฐฯ ส่งอาวุธยุทโธปกรณ์รอบ 3 หนุนยูเครน ป้องกันรัสเซียบุก

จับตาวิกฤต “รัสเซีย-ยูเครน” สงครามใกล้จะปะทุหรือไม่

ท่ามกลางความตึงเครียด ล่าสุดเมื่อคืนที่ผ่านมา สหรัฐฯ ได้ยืนยันกับรัสเซีย อย่างเป็นทางการว่า ไม่สามารถรับข้อเรียกร้องหลักของรัสเซียได้ ไม่ว่าจะเป็นการถอนทหารออกจากประเทศยุโรปตะวันออกที่เป็นสมาชิกนาโต หรือการไม่รับยูเครนเข้าเป็นสมาชิก

แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ ประกาศจุดยืนของรัฐบาลที่จะไม่ยอมทำตามข้อเรียกร้องของรัสเซียที่ต้องการให้นาโตระงับแนวคิดการรับยูเครนเข้าเป็นสมาชิก

โดยเขาระบุว่า ยูเครนมีอธิปไตยเป็นของตัวเอง มีสิทธิ์ในการเลือกว่าจะเข้าเป็นพันธมิตรกับใครก็ได้เพื่อรับประกันความมั่นคง และสหรัฐฯ ต้องยึดมั่นในหลักการนี้

บลิงเคน ระบุด้วยว่า สหรัฐฯ ได้ส่งมอบเอกสารตอบโต้อย่างเป็นทางการนี้ให้แก่นายจอห์น ซัลลิแวน เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำรัสเซียแล้วเมื่อวานนี้

ภาพการเข้าไปยื่นหนังสือยืนยันจุดยืนของสหรัฐฯ  เป็นภาพของจอห์น ซัลลิแวน เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำรัสเซียที่เดินทางไปกระทรวงการต่างประเทศของรัสเซียในกรุงมอสโก เมื่อคืนที่ผ่านมา ท่าทีของสหรัฐฯ ครั้งนี้คือ การส่งสัญญานว่า สหรัฐฯ จะไม่อ่อนข้อให้รัสเซียการรับยูเครนเป็นสมาชิกนาโต รวมถึงไม่ยอมทำตามข้อเรียกร้องของรัสเซียในการถอนกำลังออกจากประเทศยุโรปตะวันออกด้วย

การส่งจดหมายตอบกลับของสหรัฐฯ ต่อรัสเซียมีขึ้นหลังจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียเซอร์เก ลาฟรอฟออกมาประกาศในสภาดูมาของรัสเซียว่า รัสเซียต้องการทราบจุดยืนของสหรัฐฯ ภายในสัปดาห์นี้ โดยไม่สามารถลากยาวเรื่องนี้ต่อไปได้อีกแล้ว

 

หลังสหรัฐฯ ประกาศไม่ยอมอ่อนข้อเรื่องการรับยูเครนเป็นสมาชิกนาโต และเสนอให้มีการเจราจาพูดคุยกันใหม่ ด้านรัฐมนตรีของรัสเซีย เปิดเผยว่า รัสเซียจะศึกษาเอกสารดังกล่าวของรัฐมนตรีบลิงเคนก่อน

และขณะนี้รัสเซียยังคงยืนยันในจุดเดิม นั่นก็คือนาโตจะต้องไม่รับยูเครนและจอร์เจียเข้าเป็นสมาชิก และยุติหรือยกเลิกความพยามยามในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางการทหารในประเทศยุโรปตะวันออกทันที

ทั้งหมดนี้ต้องทำเป็นรูปแบบของสัญญาที่มีพันธะผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศด้วย ( Legally Binding) ถ้าดูแบบนี้แล้วจะเห็นได้ว่า ทั้งสองฝ่ายไม่ยอมกันเลย ยืนยันในจุดเดิม แล้วจะหาทางออกทางการทูตหรือการเจรจาได้หรือไม่

 

โลกรอคำตอบจาก ปูติน พร้อมเจรจาหรือเกิดสงคราม

ตามหลักการแล้ว คู่ขัดแย้งมากต้องเรียกร้องสูงสุด เพื่อที่จะได้มีพื้นที่ต่อรอง สำหรับกรณีของรัสเซีย-ยูเครน จุดของการประนีประนอมมีอยู่  หนึ่งในนั้นคือ การทำสัญญาควบคุมอาวุธ และมีมาตรการทางกฎหมายระหว่างประเทศในการสร้างความมั่นใจ อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับคู่ขัดแย้งว่าจะยอมหรือไม่

ทั้งนี้ในจดหมายของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ส่งไปยังรัสเซีย มีการเปิดทางนี้ไว้แล้วสำหรับการเจรจา นั่นก็คือ สหรัฐฯ พร้อมที่จะหารือในประด็นการควบคุมอาวุธและมาตรการสร้างความมั่นใจ และนี่คือที่มาของอีกหนึ่งความพยายามในการใช้การทูตแก้ปัญหา นั่นก็เวทีการพูดคุยที่กำลังเกิดขึ้นที่ปารีสของฝรั่งเศส เป็นเวทีที่เรียกว่านอร์มังดีทอล์ค ที่ริเริ่มโดยฝรั่งเศส โดยเป็นที่น่าสังเกตุคือ ประเทศที่เข้าร่วมการพูดคุยในคราวนี้คือ รัสเซีย ยูเครน ฝรั่งเศส และเยอรมนี  ไม่มีสหรัฐฯ

 

ยูเครน-รัสเซีย เห็นชอบหยุดสู้รบทางตะวันออกของยูเครน

ฝรั่งเศสและเยอรมนีถูกมองว่า มีวิธีการจัดการกับรัสเซียที่ต่างไปจากแนวทางของสหรัฐฯ  เนื่องจากมีเดิมพันและผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับรัสเซียสูง เช่น การต้องพึ่งพาพลังงานที่ส่งมาจากรัสเซีย เมื่อวานนี้ ที่ปรึกษาทางการเมืองจากรัสเซีย ยูเครน ฝรั่งเศส และเยอรมนี ได้เข้าหารือกันที่กรุงปารีสยาวนานกว่า 8 ชั่วโมง

หัวหน้าฝ่ายเจรจาของรัสเซีย นายดมิทรี โคแซค ยังยืนยันในหนึ่งในข้อเรียกร้องหลัก นั่นก็คือ นาโตต้องยุติการวางกองกำลังและการซ้อมรบหลัก ๆ 9 จุด ในยุโรปตะวันออกทันที มีรายงานว่า ฝรั่งเศสและเยอรมนีไม่สามารถที่จะให้คำมั่นสัญญาได้  และการประชุม4 ชาตินี้จะมีขึ้นอีกครั้งในอีกสองสัปดาห์ข้างหน้าที่กรุงเบอร์ลิน ของเยอรมนี โดยคาดว่าการหารือจะมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ เข้าร่วมด้วย

 

อย่างไรก็ตาม มีสัญญานที่ดีออกมาบ้างจากเวทีนอร์มังดี เมื่อคู่ขัดแย้งอย่างยูเครนและรัสเซียเห็นชอบในหลักการที่จะหยุดการสู้รบทางฝั่งตะวันออกของยูเครน โดยการสู้รบในจุดนั้นคือการสู้รบระหว่างกองกำลังยูเครนและกองกำลังฝ่ายกบฎที่มีรัสเซียหนุนหลังที่ดำเนินมาตั้งแต่ปี 2014 นับตั้งแต่รัสเซียผนวกไครเมียของยูเครนมาเป็นของตนเอง

จุดการสู้รบนี้คืออีกหนึ่งปัญหาที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียและยูเครนย่ำแย่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยตัวแทนการเจรจาของยูเครนให้สัมภาษณ์ว่า นี่คือสัญญาณในทางบวก

ท่ามกลางความพยายามทางการทูต อีกด้านทั้งสองฝ่ายก็ยังเพิ่มกำลังและซ้อมรบตามจุดยุทธศาสตร์อย่างต่อเนื่อง

ล่าสุดในวันนี้ รัสเซียปล่อยภาพของขบวนรถถังชุดใหม่ที่ระบุว่า ส่งเข้าไปเพิ่มยังภูมิภาครอสตอฟที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ  รอสตอฟ คือพื้นที่ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของยูเครน นั่นหมายความว่าอีกนับหนึ่งนี่ไม่ต่างอะไรจากการส่งกองกำลังเข้าประจำการใกล้ชายแดนยูเครนเพิ่ม และในวันเดียวกันทางรัสเซียได้เผยแพร่ภาพของการซ้อมรบทางทะเลในทะเลบอลติก ที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของยุโรป รายงานระบุว่ารั สเซียยังจำลองระบบป้องกันการโจมตีทางอากาศอีกด้วย

 

เปิดจุดยุทธศาสตร์ที่รัสเซียอาจใช้บุกยูเครน

กระทรวงกลาโหมรัสเซียเผยแพร่ภาพเรือรบ Admiral Essen เรือฟริเกตชั้นแอดมิรัลกรีกอโรวิชที่แล่นอยู่ที่คาบสมุทรไครเมีย จุดยุทธศาสตร์สำคัญในทะเลดำ ไม่ไกลนักจากเมืองเซวัสโตโปล ที่ตั้งกองเรือทะเลดำหรือ Black Sea Fleet

เรือฟริเกต Admiral Essen ถือเป็นหนึ่งในยุทธโธปกรณ์ที่สำคัญของรัสเซียในทะเลดำ เพราะมีท่อยิงแนวดิ่งสำหรับจรวดร่อน ท่อยิงแนวดิ่งสำหรับระบบป้องกันภัยทางอากาศ ท่อยิงตอร์ปิโดขนาด 533 มิลลิเมตร และยังสามารถบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ Ka-28 หรือ Ka-31 ได้ 1 ลำ

 

ทั้งนี้หากรัสเซียจะบุกยูเครน สามารถทำได้จาก 3 ช่องทาง

ทางที่ 1 คือ - บุกจากทางใต้ คือจากทะเลดำและไครเมีย ถือเป็นจุดยุทธศาตร์ที่สำคัญเพราะรัสเซียสามารถส่งกำลังและเสบียงได้ง่ายที่สุดหากทำสงครามในระยะยาว

 

ทางที่ 2 - เคลื่อนกำลังเข้ามาทางภาคตะวันออกของยูเครนผ่านแคว้นโดเนตสค์ซึ่งเป็นจุดที่รัสเซียมีกองกำลังกบฎที่ต่อต้านรัฐบาลยูเครนประจำการอยู่ ซึ่งจุดนี้ก็มีการเสริมอาวุธและกำลังต่อเนื่องในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา

 

ทางที่ 3 - เคลื่อนกำลังมาจากชายแดนของเบลารุส ซึ่งเบลารุสเป็นพันธมิตรของรัสเซียและขณะนี้รัสเซียส่งกำลังและอาวุธเข้าไปที่นั่นอย่างต่อเนื่อง

โดยล่าสุดอาวุธยุทธโธปกรณ์ที่ส่งไปเบลารุสมีทั้งเครื่องบินขับไล่แบบ Su-35 หลายลำที่ถูกส่งออกจากฐานทัพแห่งหนึ่งในภูมิภาคไซบีเรีย รวมถึงส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-400  และการไม่หยุดส่งกำลังของรัสเซียทำให้นาโตออกมาแสดงความกังวลอีกครั้ง เมื่อคืนที่ผ่านมาเลขาธิการนาโตระบุว่า ความตึงเครียดกำลังเขม็งเกลียวมากขึ้นเรื่อยๆหลังจากรัสเซียส่งกำลังไปที่เบลารุสอย่างต่อเนื่อง

 

 

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ