วันแรก! รัสเซีย-เบลารุส เปิดฉากซ้อมรบ สหรัฐฯ-นาโต เร่งเสริมทหารทั่วยุโรป


โดย PPTV Online

เผยแพร่




วันนี้การซ้อมรบใหญ่ที่สุดในรอบหลายปีระหว่างรัสเซียและเบลารุสเปิดฉากขึ้น กองกำลังรัสเซียทั้งสามเหล่าทัพเดินทางถึงเบลารุสท่ามกลางความไม่ไว้วางใจของชาติตะวันตก ด้านฝรั่งเศสยังไม่ละความพยายามในการใช้วิธีทางการทูต หลังเห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ ด้านเยอรมนียืนยันจะยึดมั่นในการเจรจาภายใต้เงื่อนไขรัสเซียต้องไม่บุกยูเครน หากมีการบุกเยอรมนีพร้อมร่วมคว่ำบาตรทันที ยูเครนรับอาวุธจากอังกฤษเพิ่ม ย้ำพอใจกับการคว่ำบาตร แต่ถ้าคว่ำบาตรก่อนที่รัสเซียจะบุกจริงได้ จะเป็นการดีกว่า

รัสเซีย-ยูเครน ยังตึงเครียด ทุกฝ่ายกำลังเจอจุดวัดใจ

ทูตรัสเซียชี้ไม่คิดบุกยูเครนเตือนอย่ายั่วยุ

ภาพรถขนขีปนาวุธ รถถังจู่โจม ที่ทันสมัยของรัสเซียกำลังซ้อมรบในเบลารุส จากภาพจะเห็นได้ว่า นี่คือการซ้อมรบแบบเต็มรูปแบบที่สุดในรอบหลายปี โดยทหารของทั้งสองประเทศได้ปฏิบัติการร่วมกัน  ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นท่ามกลางความกังวลของชาติตะวันตกและยูเครน

ด้านสหรัฐฯ และชาติตะวันตกเองก็ไม่น้อยหน้า เร่งส่งกองกำลังและส่งอาวุธไปยังพื้นที่ยุทธศาสตร์อย่างยุโรปตะวันออกและยูเครน ตลอดจนเตรียมความพร้อมของกองกำลังและยุทโธปกรณ์หากรัสเซียบุกยูเครนจริง

โดยเมื่อเย็นวานนี้ตามเวลาประเทศไทย ทหารสหรัฐฯ ที่ประจำการอยู่ในเยอรมนีได้เช็ก และเตรียมความพร้อมกำลังพลตลอดจนยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อเตรียมออกเดินทางสมทบกับกองกำลังนาโตที่ประจำการอยู่ในประเทศโรมาเนีย และถัดมาทางตะวันออกของโรมาเนีย ทหารสหรัฐฯ ประจำเมืองยาซอนกาซึ่งห่างจากชายแดนยูเครนไปเพียง 71 กิโลเมตร ก็ได้เตรียมความเตรียมความพร้อมอาวุธและกำลังพลเช่นกัน  โดยทหารกลุ่มนี้เป็นหนึ่งในทหารที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ส่งมาเมื่อต้นเดือนนี้

แม้จะมีทหารของสหรัฐฯ และนาโตประจำการอยู่หลายจุดทั่วยุโรป แต่ดูเหมือนว่านั่นจะยังไม่เพียงพอ เมื่อกิตานัส นาวเซดา ประธานาธิบดีลิทัวเนีย ออกมาเรียกร้องให้สหรัฐฯ ส่งกองกำลังมาประจำการถาวรในประเทศท่ามกลางการเผชิญหน้ากับรัสเซีย

ด้านผู้นำนาโตตอบกลับว่า นาโตต้องการใช้วิธีทางการทูตก่อน หากภัยคุกคามมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น นาโตจะส่งกองกำลังไปประจำการเพื่อป้องกันพันธมิตรแน่นอน

 

ในขณะที่หน่วยงานทหารเตรียมการและตั้งรับอย่างดี ในทางการทูตสถานการณ์เป็นอย่างไรบ้าง?

ตอนนี้ความพยายามคลี่คลายวิกฤตด้วยการเจราจา โดยมีฝรั่งเศสและเยอรมนีเป็นตัวหลักผ่านเวทีการพูดคุยที่เรียกว่า นอร์มังดี  ซึ่งเวทีนี้ยึดหลักการที่ว่าปัญหาของยุโรปให้ยุโรปจัดการกันเอง โดยเฉพาะคู่ขัดแย้งอย่างยูเครนและรัสเซียต้องมีช่องทางในการเจรจากัน

หลายวันที่ผ่านมา จึงเห็นตัวกลางอย่างประธานาธิบดีฝรั่งเศสเดินทางไปมาระหว่างมอสโกกับเคียฟ โดยเมื่อคืนวันจันทร์ที่ผ่านมาก็ไปหารือกับประธานาธิบดีปูติน แล้วก็บินไปเคียฟ เพื่อหารือกับประธานาธิบดีเซเลนสกีของยูเครน จากนั้นก็กลับมาที่เบอร์ลินเพื่อพบกับผู้นำเยอรมันและโปแลนด์ และจนถึงขณะนี้หลายฝ่ายมองว่าเวทีนอร์มังดีอาจเป็นตัวคลี่คลายวิกฤตได้

 

ภาพรถขนขีปนาวุธ รถถังจู่โจมที่ทันสมัยของรัสเซียกำลังซ้อมรบในเบลารุส จากภาพจะเห็นได้ว่า นี่คือการซ้อมรบแบบเต็มรูปแบบที่สุดในรอบหลายปี โดยทหารของทั้งสองประเทศได้ปฏิบัติการร่วมกัน  ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นท่ามกลางความกังวลของชาติตะวันตกและยูเครน

ด้านสหรัฐฯ และชาติตะวันตกเองก็ไม่น้อยหน้า เร่งส่งกองกำลังและส่งอาวุธไปยังพื้นที่ยุทธศาสตร์อย่างยุโรปตะวันออกและยูเครน ตลอดจนเตรียมความพร้อมของกองกำลังและยุทโธปกรณ์หากรัสเซียบุกยูเครนจริง

 

เยอรมนีแสดงท่าทีชัดเจนขึ้น หลังหารือสหรัฐฯ-ฝรั่งเศส

โอลาฟ ชอลซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมนีได้แถลงว่า ถึงแม้ยังมีความเห็นต่างกัน แต่การพูดคุยปัญหารัสเซีย-ยูเครนมีสัญญาณในทางบวกมากขึ้น และยุโรปอาจหลีกเลี่ยงสงครามได้

เยอรมนีพยายามกลับมามีบทบาทในการคลี่คลายวิกฤตมากขึ้นหลังจากถูกตั้งคำถามว่าเป็นทองไม่รู้ร้อน ในสัปดาห์หน้า ผู้นำเยอรมนีจะเดินทางไปมอสโกเพื่อหารือกับประธานาธิบดีปูติน จากนั้นก็จะเดินทางไปที่เคียฟเพื่อหารือกับประธานาธิบดีเวเลนเชกีของยูเครน ที่ผ่านมาเยอรมนียังไม่มีการสนับสนุนยูเครนอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นการส่งกำลังเข้าไปช่วยสนับสนุนนาโตในประเทศยุโรปตะวันออก หรือการส่งอาวุธในยูเครนตามที่ยูเครนร้องขอ

เยอรมันอยู่ในสถานะลำบากเพราะต้องพึ่งพาพลังงานจากรัสเซีย โดยเฉพาะจากโครงการท่อส่งก๊าซนอร์ดสตรีม 2 (Nord Stream 2) โดยท่อส่งก๊าซนี้ มีความยาวกว่า 1,200 กิโลเมตร เริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2018 และเสร็จสมบูรณ์เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว แต่ยังไม่ได้เปิดใช้ นอร์ดสตรีม 2 เป็นท่อก๊าซที่เริ่มจากตะวันตกของรัสเซีย ข้ามใต้ทะเลบอลติก และไปสิ้นสุดไปที่ตอนเหนือเยอรมนี  เป็นโครงการส่งพลังงานจากรัสเซียไปที่ยุโรปโดยไม่ผ่านยูเครนเหมือนกับโครงการก่อนหน้านี้ เจ้าของโครงการคือ บริษัทก๊าซพรม ซึ่งมีรัฐบาลรัสเซียถือหุ้นใหญ่ งบประมาณโครงการมากถึง 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 3.66 แสนล้านบาท

หากเปิดใช้นอร์ดสตรีม 2 สามารถส่งก๊าซให้เยอรมันได้ถึง 5.5 หมื่นล้านลูกบาก์เมตรต่อปี เพียงพอให้ชาวเยอรมัน 26 ล้านคนอยู่รอดในช่วงฤดูหนาว และสำหรับรัสเซีย นี่คือรายได้มหาศาลที่ไม่ควรปล่อยให้หลุดมือไป

ที่ผ่านมาสหรัฐพยายามจะใช้โครงการนี้มาเป็นส่วนหนึ่งของมาตราการคว่ำบาตร ต่อรองไม่ให้รัสเซียแข็งกร้าว

โดย ประธานาธิบดีไบเดน ระบุว่า จะยุติโครงการนี้ถ้ารัสเซียบุกยูเครน ในวันนั้นผู้นำเยอรมนีหลีกเลี่ยงที่จะพูดสนับสนุนผู้นำสหรัฐฯ

อย่างไรก็ตามเมื่อคืนที่ผ่านมามีท่าทีชัดเจนขึ้นจากผู้นำเยอรมนีในเรื่องการใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย โดยระบุว่า เยอรมนีเห็นชอบกับพันธมิตรในการใช้มาตรการคว่ำบาตร

 

แล้วมาตรการการคว่ำบาตรที่สหรัฐและชาติตะวันตกจะใช้กับรัสเซียมีอะไรบ้าง?

แม้จะยังไม่มีการประกาศว่าการคว่ำบาตรรัสเซียจะทำด้วยวิธีการใดบ้าง แต่นักวิชาการหลายคนวิเคราะห์ว่าการคว่ำบาตรน่าจะทำใน 4 รูปแบบหลัก ๆ คือ เทคโนโลยี การเงิน พลังงาน และคว่ำบาตรรายบุคคล

ด้านเทคโนโลยี สหรัฐฯ จะจำกัดการเข้าถึงวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์-อุปกรณ์สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมการบิน

ด้านการเงิน มาตราการคว่ำบาตรจะมุ่งเป้าไปที่ธนาคารกลางรัสเซีย และตัดขาดระบบการเงินรัสเซียจากตลาดการเงินโลก ทำให้รัสเซียไม่สามารถทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศได้

ด้านพลังงาน คือ การบังคับไม่ให้เยอรมนีอนุมัติเปิดใช้โครงการนอร์ดสตรีม 2 ซึ่งเป็นแหล่งทำเงินใหม่ของรัสเซีย

ด้านการคว่ำบาตรรายบุคคล จะเป็นการคว่ำบาตรประธานาธิบดีปูตินและคณะที่ปรึกษาในรัฐบาล โดยอาจทำผ่านการแช่แข็งทรัพย์สินของคนเหล่านี้ที่อยู่ต่างประเทศ ทำให้ไม่สามารถจัดการทรัพย์สินนอกประเทศได้

 

หากรัสเซียบุกยูเครนจริง มาตรการคว่ำบาตรเหล่านี้เป็นยาแรงมากสำหรับรัสเซีย เมื่อยาแรงขนาดนี้ คู่กรณีอย่างยูเครนพอใจหรือไม่และว่าอย่างไรบ้าง ?

 

ยูเครน ขอให้ชาติตะวันตกชิงคว่ำบาตรรัสเซียก่อน

ท่าทีของยูเครนค่อนข้างพอใจกับมาตรการคว่ำบาตรที่ชาติพันธมิตรจะใช้หากรัสเซียบุกยูเครนพอสมควร แต่ทางรัฐบาลเคียฟจะพอใจมากกว่านี้ถ้าตะวันตกคว่ำบาตรรัสเซียเลยโดยไม่ต้องรอให้รัสเซียบุกยูเครน

โดยเรื่องนี้ได้รับการยืนยันจากดมิโตร คูเรบา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของยูเครนถึงแม้ว่าเขาจะกล่าวว่าทางรัฐบาลเคียฟเองก็พอเห็นสัญญาณทางการทูตบ้าง

เมื่อค่ำวานนี้ตามเวลาประเทศไทย รัฐบาลเคียฟได้รับมอบอาวุธที่ส่งตรงมาจากสหราชอาณาจักร โดยเป็นยุทโธปกรณ์ป้องกันการโจมตีอาวุธเบาและอุปกรณ์สำหรับการฝึกกำลังพล  อาวุธล็อตดังกล่าวเป็นอาวุธที่ได้รับการอนุมัติจากที่อังกฤษได้ให้คำมั่นไว้เมื่อเดือนที่แล้วว่าจะส่งอุปกรณ์มาช่วยยูเครนในการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือหากมีการบุกของรัสเซียจริง

 

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ