พบการเปลี่ยนแปลงในสมองของนักบินอวกาศที่ปฏิบัติภารกิจในอวกาศนานครึ่งปี


โดย PPTV Online

เผยแพร่




วิจัยใหม่พบ นักบินอวกาศที่ปฏิบัติภารกิจในอวกาศเป็นเวลานาน จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในสมอง แต่ยังไม่พบว่าเป็นการเปลี่ยนในทางที่ไม่ดี

การศึกษาฉบับใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Frontiers in Neural Circuits ทำการศึกษาและวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสมองของนักบินอวกาศ หลังจากการปฏิบัติภารกิจในอวกาศเป็นเวลานาน

ผลลัพธ์แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างจุลภาคที่ในมัดใยประสาทเนื้อขาว (White Matter Tract) หลายแห่ง เช่น มัดใยประสาทที่เกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว (Sensorimotor Tract)

หัวหน้าองค์การอวกาศรัสเซียขู่ "คว่ำบาตร" อาจทำสถานี ISS โหม่งโลก

พบกาแล็กซีที่ใหญ่ที่สุดที่เคยพบ ใหญ่กว่ากาแล็กซีทางช้างเผือก 150 เท่า

นักดาราศาสตร์ตะลึง ครั้งแรกในโลกวิทยาศาสตร์ พบ “แสงสว่างหลังหลุมดำ”

งานวิจัยนี้เป็นพื้นฐานสำหรับการวิจัยในอนาคตในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงบริเวณสมองซึ่งเป็นผลจากการสำรวจอวกาศของมนุษย์

โดยปกติแล้ว สมองของเราสามารถเกิดการเปลี่ยนแปลงและปรับโครงสร้างและการทำงานได้ตลอดชีวิต หรือเรียกว่า “นิวโรพลาสติซิตี (Neuroplasticity)” การทำความเข้าใจผลกระทบของการทำงานในอวกาศที่มีต่อสมองของมนุษย์จึงเป็นสิ่งสำคัญ การวิจัยก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่าการทำงานในอวกาศมีโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงทั้งรูปร่างและหน้าที่ของสมอง

องค์การอวกาศยุโรป (ESA) องค์การอวกาศรัสเซีย (Roscosmos) และทีมนักวิจัยที่นำโดย ดร.ฟลอริส วุยต์ส จากมหาวิทยาลัยแอนต์เวิร์ป ได้ร่วมกันศึกษาสมองของมนุษย์ที่เดินทางไปในอวกาศ

วุยต์สและทีมวิจัยได้ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างมัดใยประสาทเนื้อขาวในสมองหลังการบินในอวกาศ

มัดใยประสาทเนื้อขาวหมายถึงส่วนต่าง ๆ ของสมองที่รับผิดชอบในการสื่อสารระหว่างเนื้อสมองสีเทา (Gray Matter) กับร่างกาย หรือก็คือ มัดใยประสาทเนื้อขาวเป็นช่องทางในการสื่อสารของสมอง ส่วนเนื้อสมองสีเทาเป็นที่ที่การประมวลผลข้อมูลเสร็จสิ้น

เพื่อศึกษาโครงสร้างและการทำงานของสมองหลังการปฏิบัติภารกิจในอวกาศ นักวิจัยได้ใช้เทคนิคการถ่ายภาพสมองที่เรียกว่า Fiber Tractography

“การศึกษาของเราเป็นการศึกษาแรกที่ใช้วิธีการเฉพาะนี้ในการตรวจจับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสมองหลังการทำงานในอวกาศ” วุยต์สอธิบาย

โดยวุยต์สและทีมวิจัยได้ทำการสแกนสมองของนักบินอวกาศ 12 คนด้วยวิธี MRI ก่อนและหลังการบินในอวกาศ และยังสแกนติดตามผล 8 ครั้ง จนถึง 7 เดือนหลังจากการบินในอวกาศ นักบินอวกาศทุกคนมีการปฏิบัติภารกิจระยะยาวในอวกาศนานเฉลี่ย 172 วัน

แอนเดรย์ โดโรชิน จากมหาวิทยาลัยเดร็กเซล หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า “เราพบการเปลี่ยนแปลงในการเชื่อมต่อของระบบประสาทระหว่างส่วนที่เรียกว่า มอเตอร์ ในสมอง ... มอเตอร์คือสมองส่วนที่สั่งการการเคลื่อนไหว ในสภาวะไร้น้ำหนัก นักบินอวกาศจำเป็นต้องปรับการเคลื่อนไหวของตนอย่างมากเมื่อเทียบกับตอนอยู่บนโลก การศึกษาของเราแสดงให้เห็นว่าสมองของพวกเขามีการปรับตัวใหม่”

การสแกนติดตามผลเผยให้เห็นว่า เมื่อผ่านไป 7 เดือนของการกลับมายังโลก การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ยังคงปรากฏให้เห็น

“จากการศึกษาก่อนหน้านี้ เราทราบดีว่า บริเวณที่มีการเคลื่อนไหวเหล่านี้แสดงสัญญาณของการปรับตัวหลังการบินในอวกาศ ตอนนี้ เรามีข้อบ่งชี้ประการแรกว่ามันสะท้อนให้เห็นในระดับความเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่สมองเหล่านั้นด้วย” วุยต์สกล่าว

นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังพบการเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคของสมองที่สังเกตได้หลังจากการบินในอวกาศ

“เราตรวจพบการเปลี่ยนแปลงในคอร์ปัส คาโลซัม (Corpus callosum) ซึ่งเป็นส่วนที่เชื่อมระหว่างสมองทั้งสองซีกของคนเรา ... โดยการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่เราพบในคอร์ปัส คาโลซัม นั้น เกิดจากการขยายของโพรงสมองที่กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคของเนื้อเยื่อประสาทที่อยู่ติดกัน” วุยต์สกล่าว

 

เรียบเรียงจาก The Brighter Side News

ภาพจาก Shutterstock

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ