มาเลเซียสั่งห้ามส่งออกไก่ 3.6 ล้านตัว หลังราคาสินค้าในประเทศพุ่ง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




รัฐบาลมาเลเซีย หารือ กับผู้ค้าสัตว์ปีกรายใหญ่ของประเทศ 12 กลุ่ม และสหพันธ์เกษตรกรปศุสัตว์มาเลเซีย ถึงมาตรการยุติการส่งออกไก่ 3.6 ล้านตัวต่อเดือนตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน

การห้ามส่งออก “สัตว์ปีก” ล่าสุดของรัฐบาลมีเป้าหมายเพราะควบคุมราคาในประเทศไม่ให้สูงเกินไป เนื่องจากมาเลเซียเป็นหนึ่งในประเทศที่กำลังต่อสู้กับต้นทุนอาหารที่สูงขึ้น จากสงครามรัสเซีย-ยูเครน เพราะเป็นประเทศที่นำเข้าอาหาร โดย 60% ของความต้องการอาหารทั้งประเทศมาจากการนำเข้า

อินเดียจำกัด "ส่งออกน้ำตาล"คุมราคาในประเทศ -รักษาสต็อก

จุรินทร์ มั่นใจ ไทยไม่ขาดแคลนอาหาร ยันสต๊อกอาหารเพียงพอ

โควิดไทย 10 จังหวัดสูงสุด ยอดพุ่งหลายแห่ง กทม. 2,001 ราย

มาตรการนี้เป็นไปในลักษณะเดียวกับ อินเดีย ห้ามส่งออกข้าวสาลี อินโดนีเซีย ห้ามส่งออกน้ำมันปาล์ม เซอร์เบียและคาซัคสถานจำกัดโควตาส่งออกเมล็ดธัญพืช

 

ภาพ AFP

อิสมาอิล ซาบรี ยาคอบ นายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย ห้ามนำเข้าสินค้าอาหารบางรายการ หลังจากได้รับผลกระทบจากราคาที่พุ่งสูงขึ้นขณะทีค่าเงินริงกิตมีทิศทางอ่อนค่า เป็นผลทำให้ราคาสินค้าในประเทศพุ่งสูงขึ้นทันที

นักวิจัยจาก MIDF Amanah Investment Bank มองว่า อัตราเงินเฟ้อด้านอาหารของมาเลเซียจะยังคงสูงขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ท่ามกลางราคาสินค้าโภคภัณฑ์โลกที่ปรับตัวสูงขึ้น การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานในประเทศ และการอ่อนค่าของสกุลเงินท้องถิ่น

ทำให้มาเลเซียกำลังได้รับผลกระทบหนักจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับขึ้นทั่วโลก  เนื่องจากเป็นประเทศที่นำเข้าอาหารเป็นหลัก 

ดร.โรนัลด์ เคียนดี รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร กล่าวว่า การห้ามส่งออกไก่จำดำเนินการไปจนกว่าราคาจะกลับมาอยู่ในระดับปกติ และไม่ได้มาแผนที่จะระงับการส่งออกสินค้าอื่นๆ อย่าง น้ำมันปาล์ม ซึ่งมาเลเซีย  2 ผู้ผลิตสำคัญของโลก

ประเทศที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ  สิงคโปร์ ซึ่งนำเข้าสัตว์ปีกจากมาเลเซียถึง 1 ใน 3 หรือราว 34% ของการนำเข้าไก่ของสิงคโปร์มาจากมาเลเซีย

โดยเกือบทั้งหมดนำเข้าเป็นไก่เป็น ไก่แช่แข็ง โดยทางการสิงคโปร์เตรียมรับมือโดยการกระตุ้นให้ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนไปบริโภคไก่แช่แข็ง หรือ ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์อื่น ๆ แทน

“ หากเป็นมาตรการระยะสั้น ทางการสิงคโปร์ก็ยังพอรับมือได้ แต่น่าเป็นห่วงว่าแกหลายประเทศจะใช้มาตรการในลักษณะเดียวกันมากขึ้น จากความกังวลเรื่องความมั่นคงด้านอาหารและปัญหาเงินเฟ้อ” Selena Ling หัวหน้าฝ่ายวิจัยและกลยุทธ์ด้านการเงินของ OCBC Bank วิเคราะห์

ในปี 2020 มาเลเซียส่งออกเนื้อสัตว์ปีกมูลค่า 18.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 82.96 ล้านริงกิต)  เป็นอันดับที่ 49 ของโลก

โลกกำลังเผชิญ “ความหิวโหย” ครั้งประวัติศาสตร์ กับ วิกฤตขาดแคลนอาหาร

ที่ปรึกษาอนามัยโลกคาด “ฝีดาษลิง” อาจระบาดหนักเพราะ “เพศสัมพันธ์”

 

ส่วนประเทศไทย เดือนมีนาคมที่ผ่านมาพบว่า การส่งออก ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง หดตัวร้อยละ 22.1 (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ และเมียนมา)

 

 

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ