สถิติใหม่ 193 ล้านคน “เจอความไม่มั่นคงทางอาหารอย่างรุนแรง”


โดย PPTV Online

เผยแพร่




Global Report on Food Crises เปิดรายงานเดือน พ.ค. พบว่า ผู้คนราว 193 ล้านคนกำลังเผชิญกับความไม่มั่นคงทางอาหารอย่างรุนแรง ในปี 2021 ซึ่งเป็นสถิติใหม่ และสงครามรัสเซีย-ยูเครน จะยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง

รายงาน Global Report on Food Crises  ระบุว่า เรียกร้องให้มีความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนกับ 53 ประเทศ ที่มีความขัดแย้งสูง สภาพอากาศเลวร้าย  และได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส (โควิด-19) ซึ่งกำลังเผชิญกับความไม่มั่นคงทางอาหารอย่างรุนแรง

ไทยส่งออกโต 9.9% ขณะที่ราคาพลังงาน ปุ๋ยโลก ทำไทยขาดดุลการค้าสูง

โลกกำลังเผชิญ “ความหิวโหย” ครั้งประวัติศาสตร์ กับ วิกฤตขาดแคลนอาหาร

นอกจากนั้น ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจ ระบุว่า ประชากรที่เผชิญอยู่ในภาวะขาดแคลนอาหารเพราะมีจำนวนอาหารไม่เพียงพอเพิ่มขึ้น 25% หรือเกือบ 40 ล้านคนจากปี 2020 ซึ่งเป็นปีที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ตั้งแต่ Global Report on Food Crises รวบรวมข้อมูลมา

ในปี 2021 ประชากร 570,000 คน จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนเพื่อป้องกันภาวะอดอยาก และเสียชีวิต จากภาวะขาดแคลนอาหาร ใน 4 ประเทศ คือ เอธิโอเปีย ซูดานใต้ เยเมน และมาดากัสการ์ 

และอีก 139 ล้านคนใน 24 ประเทศและดินแดน กำลังเผชิญกับปัญหาความไม่มั่นคงด้านอาหารอย่างรุนแรง ซึ่งในรายงานวิเคราะห์ ทำให้เห็นว่าเป็นเพราะ สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงแบบสุดขั้ว ความขัดแย้ง และปัญหาทางเศรษฐกิจ เป็นสาเหตุหลัก โดยเกือบ 70% ของจำนวนประชากรทั้งหมด กระจุกตัวอยู่ใน 10 ประเทศและดินแดน เช่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก อัฟกานิสถาน และเอธิโอเปีย

และในปี 2022 ในรายงานกล่าวถึงสงครามรัสเซีย - ยูเครน ซึ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือน ก.พ. จะยิ่งซ้ำเติมให้ความไม่มั่นคงทางอาหารทั่วโลกเลวร้ายลง  และยิ่งสถานการณ์ความขัดแย้งยืดเยื้อ จะยิ่งทำให้บางประเทศที่ประสบปัญหาในการรับมือกับวิกฤตการณ์อาหาร เนื่องจาก การพึ่งพาการนำเข้าอาหาร เชื้อเพลิง และปัจจัยการผลิตทางการเกษตร เสี่ยงต่อราคาอาหารโลกที่พุ่งขึ้น

มีประชากรอย่างน้อย 180 ล้านคนใน 42 ประเทศและดินแดน ที่คาดว่าจะประสบปัญหาวิกฤตด้านอาหารอย่างรุนแรง อย่างประเทศในภูมิภาคที่มีความหลากหลาย เช่น ตะวันออกกลางและแอฟริกา ซึ่งต้องพึ่งพาการนำเข้าอาหารเป็นหลัก เช่น ข้าวสาลีและปุ๋ยจากยูเครนและรัสเซีย

จำนวน 38 ประเทศและดินแดนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์อาหารนำเข้าอาหาร  เนื่องจาก 34% ของการส่งออกข้าวสาลีและผลิตภัณฑ์ข้าวโพดทั้งหมดมาจากยูเครน เพราะฉะนั้นประเทศที่มีภาวะวิกฤตด้านอาหารถึง 73% ได้รับผลกระทบส่งออกข้าวสาลีของรัสเซีย ได้แก่ เยเมน ซูดาน และเอธิโอเปีย ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่มีวิกฤตด้านอาหารมากที่สุดในโลกอย่างต่อเนื่อง

เช่นเดียวกับ ปุ๋ย ที่ปริมาณการส่งออกลดลงควบคู่ไปกับการปรับขึ้นราคาพลังงาน ซึ่งคาดว่าจะส่งผลต่อการผลิตพืชผลในอนาคตลดลงแน่นอน

วิกฤตด้านอาหารยังเป็นเรื่องที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง จากสารพัดปัจจัยที่เพิ่มเข้ามา ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่ยังไม่รู้จุดสิ้นสุด แต่สามารถเตรียมรับมือได้ 

ยูเครนตอบโต้ พยายามเร่งยึด “เคอร์ซอน” คืนจากรัสเซีย

ที่ปรึกษาอนามัยโลกคาด “ฝีดาษลิง” อาจระบาดหนักเพราะ “เพศสัมพันธ์”

เรียบเรียงจาก kyodonews

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ