ชาวโรฮิงญาค่ายผู้ลี้ภัยค็อกซ์บาซาร์ บังคลาเทศ เดินขบวนขอกลับเมียนมา


โดย PPTV Online

เผยแพร่




20 มิ.ย. เป็นวันผู้ลี้ภัยโลก บรรดาผู้ลี้ภัยชาวมุสลิมโรฮิงญา ในค่ายผู้ลี้ภัยในบังกลาเทศ ออกมาเดินขบวน พร้อมระบุว่า ต้องการกลับบ้านเกิดที่เมียนมา

ชาวโรฮิงญาหลายหมื่นคนในค่ายผู้ลี้ภัยค็อกซ์บาซาร์ที่บังกลาเทศ พวกเขาออกมาเดินขบวนประท้วงเมื่อวานนี้ เรียกร้องขอกลับบ้านที่เมียนมา หลังเมื่อห้าปีก่อนหน้านี้ ผู้อพยพชาวโรฮิงญาจำนวนมากต้องหลบหนีการปราบปรามจากทหารเมียนมาอันโหดเหี้ยม อย่างไรก็ตาม เมื่อวานนี้ พวกเขาได้รับอนุญาตให้เดินขบวนประท้วง หนึ่งวันก่อนถึงวันผู้ลี้ภัยโลก เพราะตามปกติแล้ว ทางการบังกลาเทศสั่งห้ามการประท้วงในค่ายผู้ลี้ภัย หลังจากเมื่อเดือนสิงหาคมปี 2019 ผู้อพยพที่นั่นนับแสนคนก่อเหตุประท้วงครั้งใหญ่

เยอรมนีหันกลับไปพึ่ง “ถ่านหิน” หลังรัสเซียลดส่งออกก๊าซธรรมชาติ

จับตา! นายกฯ ถก ก.ตร.วาระเลื่อนเงินเดือนตำรวจ ปี 2565

 

 

ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ชาวมุสลิมโรฮิงญาเกือบหนึ่งล้านคนต้องอาศัยอยู่ในบ้านที่ทำมาจากไม้ไผ่ ไม่มีงานทำ ระบบสุขอนามัยไม่ได้มาตรฐาน และเข้าถึงการศึกษาเพียงน้อยนิดเท่านั้น  โดยบรรดาผู้อพยพต่างตะโกนกันว่า “กลับบ้านกัน” 

ซาเย็ด อัลละห์ ผู้นำชุมชนโรฮิงญาเปิดเผยในการเดินขบวนว่า พวกเขาไม่ได้ต้องการอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย การเป็นผู้อพยพนั่นมันไม่ง่าย มันคือนรก พอแล้วจริงๆ กลับบ้านกันเถอะ

ด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจเปิดเผยว่า ผู้อพยพหลายพันคน ซึ่งมีเด็กๆรวมอยู่ด้วย เข้าร่วมการเดินขบวนประท้วง พวกเขาเดินไปตามถนน ซอกซอยต่างๆ พร้อมป้ายที่มีข้อความเขียนว่า “พอแล้วจริงๆ กลับบ้านกันเถอะ”

แม่หม้ายคนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาเปิดเผยว่า ชุมชุนของเธอรู้สึกซาบซึ้งใจอย่างยิ่งต่อความมีน้ำใจของบังกลาเทศ แต่พวกเธอต้องการกลับไปยังดินแดนบ้านเกิดของตนเอง ต้องการกลับไปยังที่ๆเกิดมาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อย่างไรก็ตาม มีความพยายามที่จะส่งตัวชาวโรฮิงญากลับเมียนมา แต่ก็ล้มเหลว เนื่องจากผู้อพยพปฏิเสธที่จะกลับเมียนมา จนกว่ารัฐบาลเมียนมาจะให้การรับรองถึงสิทธิและความปลอดภัยของพวกเขา

ทั้งนี้ สหประชาชาติเปิดการสอบสวนต่อกรณีการสังหารหมู่และเข่นฆ่าชาวมุสลิมโรฮิงญาที่เกิดขึ้นในปี 2018 และมีการสรุปว่า ทหารเมียนมาได้ก่ออาชญากรรมต่อมนุษยธรรมและฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2018 คือมีการโจมตีชุมชนชาวโรฮิงญา และทางฮิวแมนไรท์วอชรายงานว่า มีหมู่บ้านชาวโรฮิงญาอย่างน้อย 200 แห่งได้รับความเสียหาย ถูกทำลาย และถูกเผาทิ้งโดยฝีมือของกองทัพ รวมทั้งคาดการณ์ว่า มีชาวมุสลิมโรฮิงญาถึงหนึ่งหมื่นสามพันคนถูกสังหาร

นับจากนั้น ผู้อพยพชาวโรฮิงญากว่า 890,000 อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยค็อกบาซาร์ของบังกลาเทศ ซึ่งถือเป็นค่ายผู้ลี้ภัยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ส่วนชาวโรฮิงญาราว 92,000 คนอพยพมาอยู่ในไทย 21,000 คนอยู่ในอินเดีย และอีกราวหนึ่งแสนคนอพยพไปยังมาเลเซีย

ชาวอินโดนีเซียชุมนุมให้กำลังใจชาวโรฮิงญา

ค่ายผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาเผชิญปัญหาเด็กเกิดใหม่จากการถูกข่มขืน

โควิดวันนี้ (20มิ.ย.65) ยอดติดเชื้อ RT-PCR รวม ATK แตะ 4 พันราย

 

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ