‘เยอรมนี’ประกาศแผนฉุกเฉินระดับ 2 รับมือพลังงานขาดแคลน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




‘เยอรมนี’ ประกาศใช้แผนฉุกเฉินระดับ 2 รับมือพลังงานขาดแคลนในช่วงหน้าหนาว หลังรัสเซียส่งก๊าซธรรมชาติให้น้อยลง

เยอรมนี คือ ประเทศที่นำเข้าก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียสูงมาก โดยก่อนหน้าเกิดสงครามในยูเครน ก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในประเทศกว่าร้อยละ 55 มาจากรัสเซีย แต่หลังจากที่เยอรมนีเข้าร่วมกับสหภาพยุโรปในการคว่ำบาตร รัสเซียเริ่มลดการส่งก๊าซธรรมชาติที่เคยส่งให้กับเยอรมนีเพื่อเป็นการตอบโต้

ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา รัฐบาลเยอรมนีจึงได้ออกมาตรการประหยัดพลังงาน เป้าหมาย คือ เพื่อสะสมก๊าซธรรมชาติที่รัสเซียยังส่งมาให้อยู่เพื่อเก็บไว้ในคลังให้ได้ถึง 90% ของความจุทั้งหมดภายในเดือนพฤศจิกายน 

“แพทริเซีย” ว่าที่เจ้าสาว ถูกแฟนหนุ่ม “โน้ต วิเศษ” ขอแต่งงาน

ประกาศ! กทม.แจ้ง 7 พื้นที่ชุมนุมสาธารณะ ขอแสดงออกภายใต้พ.ร.บ.ชุมนุมฯ

ซึ่งเป็นช่วงหน้าหนาวที่ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติจะมากเป็นพิเศษ

อย่างไรก็ตาม เยอรมนีทำได้ไม่ถึงเป้า เพราะเมื่อที่ 17 มิถุนายน ที่ผ่านมา จู่ ๆ ก๊าซพรอม ซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของรัสเซียประกาศลดการส่งมอบก๊าซธรรมชาติให้เยอรมนีโดยอ้างว่าเป็นปัญหาด้านเทคนิค เนื่องจากต้องซ่อมบำรุงท่อส่งก๊าซ โดยเยอรมนีได้รับก๊าซเพียงร้อยละ 40 จากจำนวนที่ตกลงกันไว้

สิ่งที่รัสเซียทำส่งผลให้ขณะนี้เยอรมนีมีก๊าซสะสมในคลังเพียง 56.7% ของความจุทั้งหมด ซึ่งยังห่างไกลจากเป้าหมายที่วางเอาไว้ ด้วยเหตุนี้จึงกลายเป็นที่มาของการประกาศใช้แผนฉุกเฉินขั้นที่ 2 เมื่อวานนี้เพื่อรับมือกับสภาวะการขาดแคลนพลังงาน

โดยคนที่ออกมาแถลงเรื่องนี้ คือ โรเบิร์ต ฮาเบค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ โดยเขาได้ร้องขอประชาชนว่า ให้ช่วยกันใช้พลังงานอย่างประหยัด เพื่อให้มีเพียงพอและเตรียมรับมือกับฤดูหนาวที่กำลังจะมาถึง

“กระต๊อบนักตกปลา” บ้านพักตากอากาศสุดลึกลับของปูติน?

‘เน็ตฟลิกซ์’ ประกาศปลดพนักงานอีกครั้ง ในรอบ 2 เดือนกว่า 300 คน

ทั้งนี้รัฐบาลเยอรมนีได้มีการประกาศแผนฉุกเฉินด้านพลังงานไม่กี่สัปดาห์หลังจากที่รัสเซียบุกยูเครนเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 โดยแผนฉุกเฉินด้านพลังงานที่รัฐบาลเยอรมนีเตรียมไว้มี 3 ระดับ ดังนี้

ระดับแรก การเตือนภัยขั้นต้น หรือ early warning ที่ประกาศใช้ไปเมื่อเดือนเมษายนในคราวที่รัสเซียออกกฏให้ผู้ซื้อต้องจ่ายค่าพลังงานเป็นเงินรูเบิล แต่เยอรมนีปฏิเสธ และประกาศแผนฉุกเฉินขั้นที่ 1 ทันที

การเตือนในระดับที่ 1 คือ การบอกประชาชนว่า อาจเกิดภาวะที่ความต้องการก๊าซธรรมชาติมากกว่าความสามารถในการผลิต

ระดับที่สอง การเตือนภัย หรือ Alarm เป็นระดับที่เพิ่งประกาศไป มาตรการ คือ ขอความร่วมมือประชาชนให้ประหยัดพลังงานเพราะกำลังจะเกิดการขาดแคลน โดยในระดับนี้รัฐบาลสามารถใช้กลไกตลาดแก้ปัญหาได้

ระดับสุดท้าย การเตือนภัยฉุกเฉิน หรือ Emergency จะประกาศเมื่อกลไกทางการตลาดไม่สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงานได้ จนทำให้หน่วยงานกลางของรัฐบาลต้องเข้ามาควบคุมการจำหน่ายพลังงาน

และมีสัญญานว่า เยอรมนีอาจถึงขั้นต้องขึ้นการระดับการเตือนภัยไประดับสูงสุดและอาจต้องใช้มาตรการปันส่วนก๊าซธรรมชาติด้วย หลังจากเมื่อวานนี้ ฟาตีห์ ไบรอล ผู้อำนวยการบริหารของทบวงพลังงานสากลให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า เป็นไปได้ที่รัสเซียจะตัดการส่งก๊าซธรรมชาติมายุโรปโดยสิ้นเชิง

อนึ่งก่อนหน้า ที่จะมีประกาศยกระดับแผนฉุกเฉินด้านพลังงานไปอยู่ขั้นที่ 2 จากทั้งหมด 3 ขั้นแล้ว เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาเยอรมนีได้ประกาศกลับไปเพิ่มสัดส่วนการใช่ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าแล้ว โดยจะมีการอนุญาตให้บริษัทด้านสาธารณูปโภคสามารถขยายการใช้งานโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มขึ้นด้วย เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะมีแหล่งพลังงานเพียงพอในการใช้ทั้งในครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม

การประกาศกลับมาใช้ถ่านหินคือการสวนทางนโยบายหลักของเยอรมนีที่มุ่งเป้าไปสู่การใช้พลังงานสะอาด ซึ่งปัจจุบันเยอรมนีใช้พลังงานถ่านหินเป็นสัดส่วน 1ใน 3 ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด โดยเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ ลดการพึ่งพาถ่านหินอย่างสิ้นเชิงภายในปี 2038 แต่เป้าหมายนี้อาจทำไม่ได้เนื่องจากสงครามในยูเครน

“ไนกี้” ประกาศถอนกิจการในรัสเซียถาวร ปิดเว็บ-แอป-หน้าร้านทั้งหมด

โควิดวันนี้ (24 มิ.ย.65) ป่วยใหม่ยังทะลุ 2 พัน เสียชีวิต 16 ราย

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ