คมชัดบาดตา! ภาพ “เสาแห่งการก่อกำเนิด” โดยกล้อง “เจมส์ เว็บบ์”


โดย PPTV Online

เผยแพร่




นาซาเผยภาพใหม่จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศ เจมส์ เว็บบ์ เป็นภาพของ “เสาแห่งการก่อกำเนิด” ซึ่งคมชัดกว่าที่ “ฮับเบิล” เคยถ่ายไว้

หากพูดถึงภาพถ่ายอวกาศที่มีชื่อเสียงซึ่งหลายคนน่าจะรู้จัก เชื่อว่า “เสาแห่งการก่อกำเนิด (Pillars of Creation)” ต้องเป็นหนึ่งในลิสต์นั้นอย่างแน่นอน โดยมันเป็นที่รู้จักครั้งแรกในปี 1995 จากภาพถ่ายของกล้องโทรทรรศน์อวกาศ ฮับเบิล (Hubble) ซึ่งขณะนั้นแม้ภาพจะยังไม่มีความคมชัดมาก แต่ก็ทำให้หลายคนต้องทึ่งกับความอลังการของมัน ในระดับที่เรียกได้ว่าเป็น “ไอคอนิก” ในแวดวงนักสังเกตการณ์อวกาศเลยทีเดียว

เห็นวงแหวนชัดแจ๋ว ภาพดาวเนปจูนจากกล้อง “เจมส์ เว็บบ์”

“เนบิวลาทารันทูลา” ภาพใหม่สุดอลังการจากกล้อง เจมส์ เว็บบ์

นาซาเปิดภาพ “ดาวพฤหัส” จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศ “เจมส์ เว็บบ์”

เสาแห่งการก่อกำเนิด มีลักษณะเป็นเหมือนเสายักษ์ 3 ต้น (หรือบางคนอาจจะมองเป็นเหมือนอุ้งมือยักษ์) ที่ประกอบขึ้นจากฝุ่นและก๊าซ อยู่ภายในเนบิวลานกอินทรี (Eagle Nebula, M16) ในบริเวณกลุ่มดาวงู (Serpens) ห่างจากโลกประมาณ 6,500 ถึง 7,000 ปีแสง เฉพาะส่วนที่ปรากฏเป็น “เสา” ในภาพ มีความยาวถึง 4-5 ปีแสง (ราว 40 ล้านล้านกิโลเมตร)

กล้องฮับเบิลเคยถ่ายภาพเสาแห่งการก่อกำเนิดอีกครั้งในปี 2014 ซึ่งก็มีความคมชัดมากขึ้น แต่เมื่อเทียบกับภาพสุดคมชัดล่าสุดจาก “กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ (JWST)” ก็ทำให้เราเห็นความแตกต่างหลายจุด

กล้องอินฟราเรดใกล้ (NIRCam) ของ เจมส์ เว็บบ์ เผยให้เห็นตัวขโมยซีน เป็นดาวฤกษ์ที่เพิ่งก่อตัวใหม่หลายดวง หรือบรรดาจุดกลมสีแดงสดที่แปล่งแสงออกมาหลายแฉก

ดาวฤกษ์ใหม่เกิดจากก๊าซและฝุ่นในอวกาศ เมื่อพวกมันมีมวลเพียงพอ จะเริ่มยุบตัวภายใต้แรงโน้มถ่วงของพวกมันเอง ค่อย ๆ ร้อนขึ้น และในที่สุดก็ก่อตัวเป็นดาวดวงใหม่ในที่สุด

จากในภาพจะเห็นว่า มีดาวเกิดใหม่จำนวนมากอยู่ในอาณาบริเวณของสิ่งที่เป็นเหมือนเสา ซึ่งทำให้มันได้ชื่อว่าเสาแห่งการก่อกำเนิดนั่นเอง

ศ.มาร์ก แม็กคอเรียน ที่ปรึกษาอาวุโสด้านวิทยาศาสตร์ขององค์การอวกาศยุโรป กล่าวว่า “ผมศึกษาเนบิวลานกอินทรีมาตั้งแต่กลางทศวรรษ 1990 โดยพยายามจะมองทะลุไปให้เห็น 'ภายใน' เสาที่ฮับเบิลเคยถ่ายไว้ เพื่อค้นหาดาวเกิดใหม่ที่อายุน้อยในนั้น ผมรู้เสมอว่าเมื่อเจมส์ เวบบ์ถ่ายภาพมัน ภาพที่ออกมาจะน่าทึ่ง และมันก็เป็นเช่นนั้นจริง”

 

เรียบเรียงจาก NASA

ภาพจาก NASA

 

คอนเทนต์แนะนำ
วิกฤตประชากร “ปูหิมะอะแลสกา” 3 ปี ลดลงไป 7 พันล้านตัว
“ดาวเคราะห์ที่มีน้ำ” หายากแค่ไหน ในจักรวาลอันกว้างใหญ่

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ