“โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนอวกาศ” อนาคตด้านพลังงานของโลก


โดย PPTV Online

เผยแพร่




องค์การอวกาศยุโรปเตรียมพิจารณาโครงการ “โซลาริส” โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนอวกาศ ว่าจะได้พัฒนาต่อหรือไม่

“วิกฤตขาดแคลนพลังงาน” เป็นหนึ่งในประเด็นที่นักวิทยาศาสตร์มีความกังวลเป็นอย่างมาก เนื่องจากหากต้องการแก้ไขภาวะโลกร้อนและวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การจะยกเลิกการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ก่อก๊าซเรือนกระจกก็นับว่าเป็นสิ่งจำเป็น

อย่างไรก็ตาม หากพึ่งพาแต่เพียงพลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานทางเลือก นักวิทยาศาสตร์ก็ไม่มั่นใจนักว่า จะเพียงพอกับความต้องการของคนทั้งโลกหรือไม่ โดยเฉพาะเมื่อจำนวนประชากรโลกเพิ่งทะลุ 8 พันล้านคนไปเมื่อไม่นานมานี้เอง

“เทคโนโลยีสังเคราะห์แสงเทียม” อีกหนึ่งแนวทางสร้างสรรค์พลังงานสะอาด

มหาเศรษฐี 1 คน ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าคนทั่วไป 1 ล้านเท่า

"พายุบนโลกจะน่ากลัวขึ้นเรื่อย ๆ" หลังโลกร้อนทำมหาสมุทรอุ่นเกินไป

องค์การอวกาศยุโรป (ESA) กำลังพิจารณาโครงการหนึ่ง ซึ่งอาจสามารถช่วยแก้ปัญหาตรงนี้ นั่นคือ “โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนอวกาศ (Space-based Solar Power Station: SSPS)” ภายใต้ชื่อโครงการ “โซลาริส (Solaris)”

มันเป็นโครงการที่ราวกับหลุดออกมาจากภาพยนตร์ไซไฟ เพราะมันคือ “การสร้างโซลาร์ฟาร์มในอวกาศ แล้วส่งพลังงานแสงอาทิตย์จากอวกาศมาสู่โลกโดยตรง”

สำหรับโซลาร์ฟาร์ม พูดง่าย ๆ ก็คือโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โดยการนำแผงโซลาร์เซลล์จำนวนมากมาวางเรียงต่อกันเพื่อเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งอย่างที่เราทราบกันดีว่า พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy) เป็นหนึ่งในพลังงานสะอาดและพลังงานทางเลือกที่มีศักยภาพสูง ไม่มีวันหมด

โครงการโซลาริสจะส่งดาวเทียมจำนวนมากที่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ขึ้นไปบนอวกาศ โดยดาวเทียมแต่ละดวงจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าได้เทียบเท่ากับโรงไฟฟ้าทั่วไปบนโลก

ดาวเทียมเหล่านี้จะสะสมพลังงานแสงอาทิตย์ จากนั้นยิงพลังงานแสงอาทิตย์มายังโลกในรูปของคลื่นไมโครเวฟ แล้วตัวรับที่อยู่บนโลกก็จะแปลงคลื่นไมโครเวฟนั้นเป็นพลังงานไฟฟ้าอีกทีหนึ่ง พลังงานไฟฟ้านั้นก็จะถูกส่งไปจามโครงข่ายระบบไฟฟ้า พร้อมส่งต่อไปยังบ้านเรือนหรือโรงงานต่าง ๆ ต่อไป

 

คอนเทนต์แนะนำ
วิเคราะห์บอล !! ฟุตบอลโลก 2022 ฝรั่งเศส พบ ออสเตรเลีย 22 พ.ย.65
ตารางฟุตบอลโลก 2022 วันอังคารที่ 22 พ.ย. ช่องถ่ายทอดสดและอัปเดตผลบอลโลก

 

โยเซฟ อาชบาคฮาร์ ผู้อำนวยการ ESA กล่าวว่า เขาเชื่อว่าพลังงานแสงอาทิตย์จากอวกาศสามารถช่วยได้อย่างมหาศาลในการจัดการวิกฤตขาดแคลนพลังงานในอนาคต

“เราจำเป็นต้องเปลี่ยนไปสู่เศรษฐกิจที่เป็นกลางคาร์บอน และด้วยเหตุนี้จึงต้องเปลี่ยนวิธีการผลิตพลังงาน และลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในการผลิตพลังงานของเรา ... ซึ่งถ้าคุณทำได้จากอวกาศ และผมกำลังบอกว่า ถ้าเราทำได้ เพราะเรายังไปไม่ถึงขั้นนั้น มันจะวิเศษมาก เพราะมันจะแก้ปัญหาได้มากมาย” เขากล่าว

โครงการโซลาริสสามารถรวบรวมพลังงานแสงอาทิตย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าโซลาร์ฟาร์มต่าง ๆ บนโลก เพราะมันจะทำงานอยู่ในอวกาศซึ่งไม่มีทั้งเวลากลางคืน และเมฆหรือความแปรปรวนของสภาพอากาศที่จะมาบดบังหรือลดประสิทธิภาพการสะสมพลังงาน

แนวคิดแบบเดียวกับโครงการโซลาริสนี้มีมานานกว่า 50 ปีแล้ว แต่ในอดีตมันเป็นเรื่องที่ทำได้ยากเกินไปและมีต้นทุนที่สูง แต่ในปัจจุบัน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น จรวดที่รียูสได้ เทคโนโลยีส่งไฟฟ้าทางไกลแบบไร้สาย หรือนวัตกรรมอื่น ๆ ทำให้ต้นทุนทั้งหลายถูกลง แนวคิดโครงการโซลาริสจึงถูกนำมาปัดฝุ่นอีกครั้ง

ESA กำลังมองหาเงินทุนจากประเทศสมาชิกสำหรับโครงการโซลาริส และศึกษาความเป็นไปได้ โดยหลังจากใช้เวลาพิจารณามา 3 ปีกว่า ในวันนี้ (22 พ.ย.) กำลังจะมีมติจากสภาผู้บริหาร ESA ว่า แผนการนี้จะได้รับทุนสนับสนนุนและได้ไปต่อหรือไม่

ดร.ซานเจย์ วิเจนทราน หัวหน้าโครงการโซลาริสกล่าวว่า “แนวคิดเรื่องพลังงานแสงอาทิตย์จากบนอวกาศไม่ใช่แต่เรื่องในนิยายวิทยาศาสตร์อีกต่อไป ... แต่ตอนนี้เราจำเป็นต้องเข้าใจเทคโนโลยีจริง ๆ ก่อน จึงจะสามารถตัดสินใจดำเนินการต่อไปได้”

ไม่ใช่แค่ ESA เท่านั้นที่กำลังศึกษาและหาทางทำให้การผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จากโรงไฟฟ้าสถานีอวกาศเป็นเรื่องจริง ยังมีสหรัฐฯ จีน และญี่ปุ่น ที่กำลังแข่งขันกันพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนอวกาศ และคาดว่าจะประกาศแผนของตนเองในไม่ช้า

ในสหราชอาณาจักรเอง ก็ได้มีการตั้งบริษัท Space Solar ขึ้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปิดตัวโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนอวกาศภายใน 6 ปี และดำเนินการในเชิงพาณิชย์ภายใน 9 ปี

 

เรียบเรียงจาก BBC

ภาพจาก ESA

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ