ครั้งแรกของประเทศไทย กับการเปิดให้เข้าชมและสักการะพระไตรปิฎก 6 ชุดแรกของโลก


เผยแพร่




ครั้งแรกของประเทศไทย กับการเปิดให้เข้าชมและสักการะพระไตรปิฎก 6 ชุดแรกของโลก วันที่ 17-19 กันยายน นี้ เนื่องในโอกาสงานฉลองครบรอบ 100 ปี วันประสูติ 6 พฤษภาคม 2566 และการเฉลิมฉลองในพระเกียรติคุณสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นบุคคลสำคัญของโลกในปี 2566

พระไตรปิฎก คือ คำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเปรียบได้กับพระพุทธศาสนา และพระธรรมวินัยในพระไตรปิฎกเป็นกฎสูงสุดของสถาบันพระพุทธศาสนา เป็นวินัยที่ใช้บังคับคณะสงฆ์ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นเวลากว่า 2,500 ปี ดังนั้น พระไตรปิฎก จึงเป็นคลังอารยธรรมทางปัญญาของมนุษยชาติ แสดงให้เห็นถึงความยืนยาวของสถาบันพระพุทธศาสนา ซึ่งก่อให้เกิดปัญญา และสันติสุข แก่มนุษยชาติ  และจะดำรงมั่นอยู่ได้เพราะมีพระธรรมวินัย คำสอน และมีการนำมาประพฤติ ปฏิบัติ อย่างถูกต้อง

เนื่องในโอกาสงานฉลองครบรอบ 100 ปี วันประสูติ 6 พฤษภาคม 2566 และการเฉลิมฉลองในพระเกียรติคุณสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์  เป็นบุคคลสำคัญของโลกในปี 2566  โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันภาษาศาสตร์และวัฒนธรรมศึกษาราชนครินทร์ ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ ร่วมกับ ศาลรัฐธรรมนูญ กระทรวงวัฒนธรรม ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา DCI มูลนิธิสถาบันธรรมชัย และมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล  จึงได้ร่วมกันจัดงานสัมมนาวิชาการและนิทรรศการ พระไตรปิฎกบาลีสู่สากล" (Conference and Exhibition on the Internationalization of the Pali Canon)  เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ องค์ประธานกิตติมศักดิ์ในโครงการพระไตรปิฎกสากล และเพื่อเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน เกิดสันติสุขแก่ชาวโลกได้อย่างแท้จริง โดยได้เริ่มจัดงานตั้งแต่ วันที่ 16 สิงหาคม 2564 ซึ่งตรงกับวันสันติภาพไทย และ วันสุดท้ายของการจัดงาน คือวันที่ 21 กันยายน 2564 ซึ่งเป็นวันสันติภาพสากล ที่จะถึงนี้


 

พระไตรปิฎก คือ คำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเปรียบได้กับพระพุทธศาสนา และพระธรรมวินัยในพระไตรปิฎกเป็นกฎสูงสุดของสถาบันพระพุทธศาสนา เป็นวินัยที่ใช้บังคับคณะสงฆ์ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นเวลากว่า 2,500 ปี ดังนั้น พระไตรปิฎก จึงเป็นคลังอารยธรรมทางปัญญาของมนุษยชาติ แสดงให้เห็นถึงความยืนยาวของสถาบันพระพุทธศาสนา ซึ่งก่อให้เกิดปัญญา และสันติสุข แก่มนุษยชาติ  และจะดำรงมั่นอยู่ได้เพราะมีพระธรรมวินัย คำสอน และมีการนำมาประพฤติ ปฏิบัติ อย่างถูกต้อง

เนื่องในโอกาสงานฉลองครบรอบ 100 ปี วันประสูติ 6 พฤษภาคม 2566 และการเฉลิมฉลองในพระเกียรติคุณสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์  เป็นบุคคลสำคัญของโลกในปี 2566  โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันภาษาศาสตร์และวัฒนธรรมศึกษาราชนครินทร์ ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ ร่วมกับ ศาลรัฐธรรมนูญ กระทรวงวัฒนธรรม ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา DCI มูลนิธิสถาบันธรรมชัย และมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล  จึงได้ร่วมกันจัดงานสัมมนาวิชาการและนิทรรศการ พระไตรปิฎกบาลีสู่สากล" (Conference and Exhibition on the Internationalization of the Pali Canon)  เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ องค์ประธานกิตติมศักดิ์ในโครงการพระไตรปิฎกสากล และเพื่อเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน เกิดสันติสุขแก่ชาวโลกได้อย่างแท้จริง โดยได้เริ่มจัดงานตั้งแต่ วันที่ 16 สิงหาคม 2564 ซึ่งตรงกับวันสันติภาพไทย และ วันสุดท้ายของการจัดงาน คือวันที่ 21 กันยายน 2564 ซึ่งเป็นวันสันติภาพสากล ที่จะถึงนี้

 ทั้งนี้ ในระหว่างวันที่ 17-19 กันยายน 2564 นี้ จะเปิดให้ประชาชน เข้าชมนิทรรศการ "พระไตรปิฎกบาลีสู่สากล" (Conference and Exhibition on the Internationalization of the Pali Canon) และสักการะพระไตรปิฎกชุดสำคัญ "พระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน  ฉบับมหาสังคายนาสากลนานาชาติ พ.ศ.2500 (พ.ศ.2548) 40 เล่ม ชุดปฐมฤกษ์ สำหรับราชอาณาจักรไทย ฉบับพระราชทาน 1 ใน 3 ชุดแรกของโลก"  ซึ่งเป็นนวัตกรรมผลงานที่สำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จัดพิมพ์สำเร็จเป็นชุดแรกของโลก 

โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับอนุญาตจากศาลรัฐธรรมนูญ เจ้าภาพร่วม ในการอัญเชิญพระไตรปิฎกชุดดังกล่าว จากที่ประดิษฐาน ณ อาคารที่ทำการศาลรัฐธรรมนูญ มาร่วมจัดแสดงนิทรรศการที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมกันนี้ ยังได้อัญเชิญพระไตรปิฎกพระราชทานฉบับจุลจอมเกล้าบรมธรรมิกมหาราช พ.ศ.2436 อักขระสยาม ปาฬิ (ฉบับอนุรักษ์ดิจิทัล พ.ศ. 2554) 40 เล่ม จากศาลรัฐธรรมนูญ มาจัดแสดงด้วยเช่นกัน

 นอกจากนี้ ภายในนิทรรศการ ยังจัดแสดง พระไตรปิฎก ฉบับจริง ชุดสำคัญของโลกและประเทศไทย ได้แก่ พระไตรปิฎกบาลี ฉบับจุลจอมเกล้าบรมธรรมิกมหาราช ร.ศ.112 (พ.ศ.2436) อักษรสยาม พ.ศ. (39เล่ม) พระไตรปิฎกบาลี ฉบับสยามรัฐ สมัยรัชกาลที่ 7 พ.ศ.2473 อักษรไทย 45 เล่ม พระไตรปิฎกภาษาไทย พ.ศ.2500 (80 เล่ม) พระไตรปิฎกฉบับสังคีต พ.ศ. 2530 (45 เล่ม) พระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิงสากล อักษรโรมัน (40 เล่ม) (ปทานุกรพระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิง พ.ศ. 2551 พระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. 
พระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุดส.ก. เป็นต้น จัดแสดงความเป็นมาของพระไตรปิฎก จากใบลาน สู่ ดิจิทัล

 

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงขอเชิญประชาชนผู้สนใจ เข้าชมนิทรรศการ พระไตรปิฎกบาลีสู่สากล ระหว่าง วันที่ 17 - 19 กันยายน 2564 วันละ 2 รอบ รอบละไม่เกิน 15 คน รอบเช้า เวลา 10.00-12.00 น. และรอบบ่าย เวลา 13.30-15.30 น. ณ ห้องแก้วเจ้าจอม ชั้น 2 อาคารสำนักพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมการเกษตร สถาบันภาษาศาสตร์และวัฒนธรรมศึกษาราชนครินทร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้สนใจจองรอบการเข้าชมนิทรรศการได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-942-8711 และ 081-839-3653

TOP ประชาสัมพันธ์
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ