มาดูกัน! ข้อแตกต่างภาษี “ผ้าอนามัย" ชนิดสอดกับแบบภายนอก เหมือนหรือต่าง..


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เปิดข้อแตกต่างผ้าอนามัยชนิดสอด และชนิดภายนอก เป็นสินค้าฟุ่มเฟือย สินค้าควบคุม อย่างไร จัดเก็บภาษีลักษณะไหน มีคำตอบ...

หลังจากเกิดประเด็นหรือความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่มีการออกข่าวจากทางน.ส.เกศปรียา แก้วแสนเมือง โฆษกพรรคเพื่อชาติ ว่า รัฐบาลจัดให้ผ้าอนามัย เป็นสินค้าฟุ่มเฟือย และเตรียมเก็บภาษี 40%  โดยอ้างว่า เป็นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2561  จนกลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงเรื่องดังกล่าว แม้ล่าสุดทางรัฐบาลจะออกมาชี้แจงว่า ไม่ใช่ แต่มติดังกล่าว เป็นผ้าอนามัยแบบสอดนั้น

Change เปิดแคมเปญรณรงค์ให้ “ผ้าอนามัย” ต้องเข้าถึงผู้หญิงทุกคน

ก.พาณิชย์ โต้กลับ ‘ผ้าอนามัย’ เป็นสินค้าควบคุม ไม่ใช่ฟุ่มเฟือย

ลองมาดูข้อแตกต่างระหว่างการควบคุมผ้าอนามัยภายนอก หรือแบบทั่วไป กับผ้าอนามัยแบบสอดกันดีกว่า ว่า มีการควบคุมสินค้าอย่างไร

สำหรับ  “ผ้าอนามัยแบบสอด”  ที่กลายเป็นมติ สืบเนื่องจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. มีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดผ้าอนามัยชนิดสอดเป็นเครื่องสำอาง พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ  โดยข้อเท้จจริงแล้ว  ผ้าอนามัยชนิดสอดมีวัตถุประสงค์ในการใช้เพื่อความสะอาด โดยต้องสอดเข้าไปในช่องเปิดของร่างกาย ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่อาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ แต่ปรากฏว่าผ้าอนามัยชนิดสอดไม่เข้าข่ายเป็นเครื่องสำอางตามบทนิยามมาตรา 4 (1) แห่ง พ.ร.บ. เครื่องสำอาง พ.ศ. 2558

ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการควบคุมคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์สุขอนามัย และความปลอดภัยของผู้ใช้ สำกนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)  จึงกำหนดให้ผ้าอนามัยชนิดสอดเป็นเครื่องสำอางตาม พ.ร.บ. เครื่องสำอาง พ.ศ. 2558  และได้ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดผ้าอนามัยชนิดสอดเป็นเครื่องสำอางฯ 

ด้วยเหตุนี้  “ผ้าอนามัยแบบสอด”  จึงจัดเป็นเครื่องสำอางตั้งแต่ปี 2528 นับตั้งแต่ มี พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2517 และ พ.ศ.2535 เพราะเข้าได้กับนิยามเครื่องสำอาง คือ วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทำด้วยวิธีอื่นใดต่อส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายเพื่อความสะอาด ความสวยงาม หรือส่งเสริมให้เกิดความสวยงามและรวมตลอดทั้งเครื่องประทินผิวต่างๆ ด้วย โดยไม่รวมถึงเครื่องประดับและเครื่องแต่งตัว ซึ่งเป็นอุปกรณ์ภายนอกร่างกาย

ส่วนสาเหตุที่ต้องออกเป็นกฎกระทรวงกำหนดให้ผ้าอนามัยชนิดสอดเป็นเครื่องสำอางโดยเฉพาะนั้น เนื่องจากเมื่อครั้งออก พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 มีการแก้ไขนิยามของคำว่า "เครื่องสำอาง" ใหม่ คือ วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทำด้วยวิธีอื่นใดกับส่วนภายนอกของร่างกายมนุษย์ และให้หมายความรวมถึงการใช้กับฟันและเยื่อบุในช่องปาก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความสะอาด ความสวยงาม หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะที่ปรากฏหรือระงับกลิ่นกาย หรือปกป้องดูแลส่วนต่างๆ ให้อยู่ในสภาพดี และรวมตลอดทั้งเครื่องประทินต่างๆ สำหรับผิว แต่ไม่รวมเครื่องประดับและเครื่องแต่งตัว จึงทำให้ "ผ้าอนามัยชนิดสอด" หลุดจากคำนิยามของเครื่องสำอาง เนื่องจากนิยามกำหนดชัดว่าเป็นการใช้ภายนอกร่างกายมนุษย์ แต่ผ้าอนามัยชนิดสอดเป็นการใช้ภายในร่างกายมนุษย์ จึงต้องมีการออกกฎกระทรวงเพื่อให้กลับมาครอบคลุมอีกครั้ง

สรุป คือ  สำหรับสาระสำคัญของกฎกระทรวง ได้กำหนดบทนิยามคำว่า ‘ผ้าอนามัยชนิดสอด’ หมายความว่า ผ้าอนามัยที่ใช้สอดใส่เข้าในช่องคลอด เพื่อดูดซับเลือดประจำเดือน (ระดู) และกำหนดให้ผ้าอนามัยชนิดสอดเป็นเครื่องสำอาง

สำหรับการจัดเก็บภาษีนั้น ล่าสุด นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมสรรพสามิต  ให้ข้อมูลว่า เมื่อผ้าอนามัยแบบสอด เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยจากมติ ครม.วันที่ 17 เมษายน 2561  และมีข้อกังวลว่า จะสามารถเก็บภาษีได้ถึง 40% นั้น ปัจจุบันกรมสรรพสามิต ไม่เคยเก็บภาษีเครื่องสำอางเลย

โฆษกรัฐบาล ยัน ครม.ไม่เคยมีมติให้"ผ้าอนามัย"เป็นสินค้าฟุ่มเฟือย

สำหรับ “ผ้าอนามัยภายนอก” หรือผ้าอนามัยทั่วไปนั้น  ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เรื่อง ประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที่ 53 พ.ศ. 2562  กำหนดให้ ผ้าอนามัยอยู่ในสินค้าควบคุมลำดับที่ 31

โดยในประกาศระบุว่า จำนวนสินค้าควบคุมมีทั้งสิ้น 46 รายการ และบริการควบคุม  6  รายการ เป็นไปตามประกาศราชกิจจานุเบกษา ณ วันที่ 3 กรกฎาคม 2562 เรื่อง ประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที่ 53  พ.ศ.2562 

คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ระบุว่า รายการสินค้าทั้งหมดได้พิจารณาทบทวนการกำหนดสินค้าหรือบริการควบคุมให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป  เพื่อดูแลป้องกันการกำหนดราคาซื้อ  ราคาจำหน่ายหรือการกำหนดเงื่อนไข และวิธีปฏิบัติทางการค้าอันไม่เป็นธรรม โดยมีผลบังคับใช้เป็นเวลา 1 ปี  

ในส่วนการเก็บภาษีผ้าอนามัยแบบทั่วไปนั้น ทางกรมสรรพสามิต ระบุว่า  ผ้าอนามัยมีการเก็บภาษีปกติเหมือนสินค้าทั่วไป  คือ เป็นการเก็บภาษีแว็ต เพราะไม่ใช่สินค้าฟุ่มเฟือย เป็นสินค้าประจำวัน ปัจจัยพื้นฐานที่ต้องใช้ทุกวัน  

ดูเลย “รายการสินค้าควบคุมราคา” มีอะไรบ้าง

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ