ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ เตือนกิน “ยาเพร็พ” ไม่ใช้ถุงยาง เสี่ยงติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น


โดย PPTV Online

เผยแพร่




หัวหน้าหน่วยพรีเวนชั่น ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย แจง “ยาเพร็พ” เป็น 1 ทางเลือกในการป้องกันมีเพศสัมพันธ์ที่เสี่ยงติดเชื้อ เอชไอวี ได้ แต่ยังคงต้องใช้ร่วมกับถุงยาง เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างอื่น

เมื่อวันที่ (3 ม.ค.63) จากกรณีที่ประชาชน สามารถใช้สิทธิประโยชน์การให้ยาต้านไวรัสเอชไอวีสำหรับคนที่ยังไม่มีเชื้อก่อนการสัมผัสเชื้อ หรือยาเพร็พ (PrEP) ในกลุ่มเสี่ยงสูงทุกสิทธิ 2,000 ราย ซึ่งเริ่มวันที่ 1 ม.ค. 2563 ที่ผ่านมา ทำให้ ขณะนี้มีประชาชนบางกลุ่ม เข้าใจผิดว่า เมื่อการกินยาเพร็พแล้ว ไม่จำเป็นต้องสวมถุงยางอนามัย

อภ.-สปสช. กระจายยาไวรัสเอดส์กลุ่มเสี่ยงสูง 2 พันราย ดีเดย์ ‘1 ม.ค.63’  

พญ.นิตยา ภานุภาค พึ่งพาพงศ์ หัวหน้าหน่วยพรีเวนชั่น ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า ยาเพร็พ เป็น 1 ในทางเลือก ของการลดอัตราการติดเชื้อเอชไอวี แต่ยาเพร็พไม่ได้ดูแลเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ เช่น ซิฟิลิส หนองใน หนองในเทียม เริม เป็นต้น จึงยังสมควรใช้ยาเพร็พ ร่วมกับถุงยางอนามัย

โดยยาเพ็รพ เป็นเหมือนวิวัฒนาการ 1 ทางเลือก ในการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ นอกเหนือจาก ถุงยางอนามัยและยาคุม  ในส่วนของป้องกันเชื้อเอชไอวี ยาเพร็พ จะช่วยป้องกันเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ ถุงยาง ป้องกันเชื้อ เอชไอวีได้เพียง 70 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น แต่สามารถ ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ และ การตั้งครรภ์ได้เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ ยาคุม ป้องกันได้เพียงเรื่องการตั้งครรภ์ แต่ไม่ป้องกันโรคติดต่ออื่น ทั้งนี้ไม่มีวิธีไหนที่ตอบโจทย์แน่นอน และ ขึ้นอยู่กับข้อจำกัดของแต่ละบุคคล

จากข้อมูลรายงานสุขภาพคนไทย ปี 2562 พบว่า สถานการณ์เอชไอวีและโรคเอดส์ในไทยดีขึ้น เช่นเดียวกับการเข้าถึงการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ซึ่งปั[MOS]จจุบัน มีข้อมูลว่า ประชาชนเข้ารับยาเพร็พแล้วเกือบ 10,000 คน /มีการแจกฟรี ตามศูนย์บริการสุขภาพชุมชนเช่น สีลม รามคำแหง เชียงใหม่ อุบลราชธานี สงขลา เป็นต้น

พบทารกจีน ตัดต่อพันธุกรรม สร้างภูมิต้าน “เอดส์”

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ