เรียน-สอนผ่านออนไลน์ ปรับตัวสู้โควิด-19


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ในช่วงที่สถาการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ยังไม่สามารถควบคุมได้ หลายหน่วยงาน หลายองค์กร เริ่มปรับตัว ให้ทำงานที่บ้าน เช่นเดียวกับสถาบันการศึกษาที่ปรับตัวเปลี่ยนรูปแบบมาใช้การเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่โรค

ไนซ์ นักศึกษา ปี2 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คนนี้ ใช้เวลากว่า 3 ชั่วโมง บนหน้าจอแทบเลตทุกวัน หลังมหาวิทยาลัยปรับให้มีการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ แทนการเรียนแบบปกติ เพื่อลดความเสี่ยงในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม ที่ผ่านมา

ก.อุดมศึกษาฯ ประกาศ หยุดเรียน-ยกเลิกฝึกงานนศ.  

ไนซ์ บอกว่า ช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระยะแรก มหาวิทยาลัยประกาศงดจัดกิจกรรม ที่มีการรวมตัวของนักศึกษาและ ขอความร่วมมืออาจารย์ปรับให้มีการสอนแบบออนไลน์ตามความสะดวก จนเมื่อมีบุคลากรในสถาบัน ติดเชื้อโควิด-19 จึงมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด ด้วยการประกาศเรียนผ่านระบบออนไลน์เท่านั้น

เขาบอกว่า การปรับรูปแบบการเรียนการสอนครั้งนี้ แม้เป็นเพียงนโยบายชั่วคราว แต่ถือว่าส่งผลกระทบกับนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาปิโตเลียม อย่างเขา ที่แต่เดิมต้องเข้าห้องปฏิบัติการ เพื่อทำการทดลองและเก็บคะแนน แต่การเรียนการสอนแบบออนไลน์นี้ทำให้ต้องยกเลิกการเรียนและทดลอง ในห้องปฏิบัติการรวมถึง ต้องปรับการให้คะแนนใหม่ทั้งหมด

ไม่เพียงแต่การฝึกปฏิบัติเท่านั้น ในรายวิชาทฤษฎีอย่างวิชาคณิตศาสตร์ที่มีการคำนวณ การเรียนผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ทำให้เข้าใจยากขึ้น รวมถึงการปฏิสัมพันธ์กับอาจารย์ผู้สอนก็ยากขึ้นด้วย
ไนซ์ บอกว่าการเรียนผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์แม้จะเป็นมาตรการป้องกันโรคที่ดี แต่ยอมรับว่าบางครั้งรู้สึกเครียดเนื่องจากต้องทำกิจวัตรเดิมๆซ้ำๆ ไม่เหมือนการทำกิจกรรมที่มหาวิทยาลัย

ไม่ใช่แค่นักศึกษาเท่านั้นที่ต้องปรับตัวรับกับวิกฤตโรคโควิด-19 บุคลากรก็เป็นส่วนสำคัญที่ต้องรับมือกับสถานการณ์นี้เช่นกัน อย่างสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือนิด้า สถาบันแรกที่ออกประกาศปรับการเรียน-การสอนผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์

ครม. สั่งปิด สถานบันเทิง-สถานบริการ-สถานศึกษา 14 วัน พื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ป้องกันโควิด-19

อธิการบดีนิด้าบอกว่า สถาบันวางแผนปรับโครงสร้างการสอนโดยใช้สื่อออนไลน์ก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพราะมองว่า แพลตฟอร์มนี้ตอบโจทย์ เรื่องการลดต้นทุนการศึกษา การเข้าถึงง่าย และที่สำคัญ คือส่งเสริมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น ซึ่งส่วนนี้ต้องอาศัยการมีปฏิสัมพันธ์ของผู้สอนและนักศึกษา จึงคิดพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ต้นแบบ ที่เรียกว่าสมาร์ทคลาสต์รูม รองรับความสามารถในการสอนของอาจารย์ในทุกรูปแบบละที่สำคัญต้องสามารถสื่อสารได้ทั้ง 2 ทาง ทั้งผู้สอนและนักศึกษา

ขณะเดียวกัน ยังระบุว่า ภายในสัปดาห์หน้า นิด้าปรับการเรียนการสอนให้เป็นแบบออนไลน์ทั้งหมด ด้วยการเพิ่มห้องสมาร์ทคลาสรูมอีก 15 ห้องส่วนการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนในห้องปฏิบัติการเป็นแบบออนไลน์นั้น สามารถทำได้จริงแต่ต้องอาศัยต้นทุนที่สูงขึ้น

“เศรษฐพงค์” แนะ เร่งดันนโยบาย“เรียน-ทำงาน” ผ่านออนไลน์ ช่วงวิกฤตโควิด-19

อัปเดตข่าวโควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 17 มี.ค. 63

 

 

 

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ