“โทน บางแค” ควัก 1 ล้านซื้ออุปกรณ์ป้องกันโควิด-19 แจกกู้ภัย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




จากกรณีที่กู้ภัยไม่ได้รับการจัดสรรหน้ากากอนามัยในช่วง1-2สัปดาห์ที่ผ่านมา จนทำให้กู้ภัยหลายจังหวัดเริ่มประกาศตัวว่าหากอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ซื้อหามาเองหมด ไม่สามารถหาเพิ่มได้ จะยุติการรับผู้ป่วย ล่าสุดประธานมูลนิธิสยามนนทบุรีซึ่งเป็นอาสาสมัครกู้ภัยเหมือนกัน ออกมาเรียกร้องขอให้รัฐดูแลเรื่องนี้ด้วย รวมถึง ประกาศควักเงินส่วนตัว 1 ล้านบาท จัดซื้ออุปกรณ์ให้อาสากู้ภัยในช่วงที่ขาดแคลนนี้

อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 6 เม.ย. 63

อัปเดตข่าวโควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 6 เม.ย. 63

เจลแอลกอฮอล์และชนิดน้ำ หน้ากากอนามัย แว่นตา ชุดพีพีอีและชุดกันฝน เฟซชิลด์ และอุปกรณ์ป้องกันต่างๆ สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของอาสากู้ภัย จำนวนนี้ นายโทนทอง สุขแก่น ประธานมูลนิธิสยามนนทบุรี ใช้เงินส่วนตัว 1 ล้านบาท จัดซื้อเข้ามาและเตรียมแจกจ่ายให้กับมูลนิธิกู้ภัยทั่วประเทศที่ขาดแคลนจนไม่สามารถออกทำงานได้

หลังนายโทนทองประกาศผ่านทางเว็บไซต์ยูทูปไปเมื่อวาน ตอนนี้มีมูลนิธิอาสากู้ภัยติดต่อเข้ามา 7 แห่งแล้ว เพื่อขอความช่วยเหลือ และ เขามีทีมงานในการตรวจสอบประวัติของมูลนิธิ เพื่อให้รู้ว่า นำไปใช้งานจริงหรือไม่ สำหรับวันแรกหลังประกาศช่วยเหลือ จะจัดส่งให้กับมูลนิธิอาสากู้ภัยก่อน 2 แห่งใน จ.กาฬสินธุ์ และ ชัยภูมิ

อาสากู้ภัยขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกัน เตรียมงดออกระงับเหตุ

สำหรับอุปกรณ์แต่งกายของอาสากู้ภัย นายโทนทอง ระบุว่า ในกรุงเทพมหานครไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องความขาดแคลน แต่อาสากู้ภัยตามต่างจังหวัดต้องเจอปัญหานี้อย่างหนัก โดยเฉพาะโซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ซึ่งตัวเองเข้าใจได้ตามกฎหมายว่าอาสากู้ภัย ไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ แต่การตัดโควต้าแจกจ่ายอุปกรณ์ป้องกันตัว บั่นทอนกำลังใจการทำงานของอาสากู้ภัยอย่างหนัก ซึ่งอาสาถือเป็นคนแรกเสมอที่ถึงที่เกิดเหตุ แต่กลับไม่มีอุปกรณ์ป้องกันตัว

นายโทนทอง ยกตัวอย่างกรณีการพบผู้เสียชีวิตบนรถไฟ อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ที่เมื่อดูจากภาพ พบว่า เจ้าหน้าที่อาสากู้ภัย ไม่ได้สวมชุดป้องกันที่รัดกุม แม้ว่าจะปฎิบัติงานอยู่ข้างศพผู้เสียชีวิตที่ต่อมาได้รับการยืนยันภายหลังว่าเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19

เซียนมวย 30 คน เตรียมบริจาค“พลาสมา”ช่วยผู้ป่วยโควิด-19

นายโทนทอง ยังเล่าว่ามูลนิธิของเขาใช้วิธีดัดแปลงอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ใช้ท่อพีวีซีเป็นโครง ต่อไวเรอบเตียงผู้ป่วย และหุ้มด้วยพลาสติก เพื่อป้องกันการสัมผัสกับผู้ป่วย

ส่วนชุดป้องกัน ใช้วิธีดัดแปลงเสื้อกันฝน และ ใส่แว่นตา คาดหน้ากากอนามัย มีเฟซชิลด์กันอีกชั้น และสวมถุงมือ ราคาชุดอยู่ที่ประมาณ 500 บาท โดยสาเหตุที่ต้องใช้การดัดแปลงอุปกรณ์ เพื่อให้ประหยัดเงินเนื่องจากอุปกรณ์ทางกาแพทย์หาซื้อยากและราคาแพง

ตรวจเข้มใครไม่ใส่หน้ากากถูกลงโทษวิดพื้น-กระโดดตบ

ด้านนพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ยืนยันว่า ภาครัฐมีโควต้าหน้ากากอนามัยทาง ให้กับอาสาสมัครกู้ภัย แต่ยอมรับว่า ยังไม่มีโควต้า หน้ากากN-95 เนื่องจากตอนนี้ราคาสูงและขาดแคลนทั่วโลก แต่หลังจากนี้ เชื่อว่า เมื่อหาของมาได้ก็จะจัดสรรให้ตามความจำเป็นของกลุ่มที่ต้องใช้งาน

นพ.ทวีศิลป์ ระบุอีกว่า อุปกรณ์ทุกอย่างเชื่อว่าทั้ง กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงมหาดไทยจะจัดสรรให้บุคลากรทางการแพทย์และผู้เกี่ยวข้องทุกคนอย่างแน่นอน

ชาวบ้านปฏิเสธขับไล่คนไร้บ้าน แจง“ตกใจ”เพราะจนท.ไม่บอกก่อน

กพท.ขยายเวลาห้ามเครื่องบินทุกประเภท บินเข้าไทยจนถึง 18 เม.ย.

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ