ตรวจหา “โควิด-19” วิธีไหนได้มาตรฐาน พร้อมเปิดรายชื่อ รพ. รับตรวจเชื้อกลุ่มเข้าข่าย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ยืนยันห้องปฏิบัติการตรวจหาเชื้อ “โควิด-19” เพียงพอ กระจาย 110 แห่งทั่วประเทศ ยืนยันวิธีตรวจ  RT PCR  ได้รับการยอมรับ

หลังจากเกิดประเด็นประเทศไทยไม่พร้อมในการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทั้งๆที่มีประชาชนรอตรวจจำนวนมาก แต่ข้อมูลที่เผยแพร่กลับพบจำนวนน้อยนั้น  ล่าสุดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ออกมายืนยันว่า มีความพร้อม เพราะที่ผ่านมามีการตรวจไปแล้ว 71,860 ตัวอย่าง  และขณะนี้มีศักยภาพการตรวจเชื้อถึงวันละ 10,000 ตัวอย่าง

กรมวิทย์ฯ ยันวิธีตรวจ “Real-time RT PCR”  หาโควิด-19 องค์การอนามัยโลกยอมรับ!!

ผู้ป่วยโควิด-19 เสียชีวิตเพิ่ม 3 ราย เป็นชายต่างชาติ ติดเชื้อเพิ่ม 111 ราย

นพ.โอภาส  การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้ข้อมูลว่า ที่ผ่านมาเราสามารถตรวจหาเชื้อกว่า 2 พันรายตามที่กระทรวงสาธารณสุขเผยสถานการณ์พบเชื้อ จากทั้งหมดที่เข้ามากว่า 71,860 ตัวอย่าง  ส่วนที่สงสัยว่าผู้ป่วยรายใหม่น้อยละ เพราะเราตรวจน้อยลงหรือไม่นั้น อยากจะชี้แจงว่า

“หากพิจารณาเฉพาะวันที่ 6 เมษายน ก็มีการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนาประมาณ 3,000 -4,000 ตัวอย่าง และตัวเลขผู้ป่วยรายใหม่ลดเพราะมาตรการต่างๆร่วมกัน ที่สำคัญ หากมีคนป่วยมากกว่าที่รายงานไม่สามารถปิดบังได้แน่นอน เพราะคนป่วยจะไปออกันยู่ที่โรงพยาบาล และมีคนจำนวนหนึ่งต้องเสียชีวิตไปเพราะระบบสาธารณสุขดูแลไม่ทันเหมือนที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ และด้วยวิถีโซเชียลมีเดียในปัจจุบัน หากมีคนป่วย คนเจ็บมากจริงคงปิดบังไม่ได้ เพราะคนคงโพสต์ลงโซเชียลฯแล้ว” นพ.โอภาสกล่าว

ล่าสุดเรายังขยายห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม สำหรับการตรวจยืนยันเชื้อไวรัสโคโรนาวิธี RT PCR ที่ได้รับรองแล้ว 80 แห่ง มีทั้งในภาครัฐและเอกชน และ ในสิ้นเดือนเมษายนนี้ จะมีโครงการ 1 ห้องแล็บ 1 จังหวัด   จะมีห้องแล็บที่ผ่านการรับรองเป็นอย่างน้อย 110 แห่ง และจะรายงานผลผ่านระบบออนไลน์ให้ได้ภายใน 24 ชั่วโมง หรือ 1 วัน โดยห้องแล็บที่จะผ่านประเมินนั้น จะต้องมีนักเทคนิคการแพทย์ที่มีความรู้ในการตรวจหาสารพันธุกรรม มีเครื่องมือ มีสถานที่ปลอดภัย มีบุคลากรที่ผ่านการทดสอบ มีระบบควบคุมมาตรฐานห้องแล็บ และมีระบบข้อมูลที่เชื่อมโยงกัน 

อัปเดตข่าวโควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 8 เม.ย. 63

ส่วนที่มีคำถามว่า การตรวจแบบ  Rapid Test หรือการตรวจหาภูมิคุ้มกันในเลือดนั้น สามารถตรวจได้หรือไม่นั้น  

นพ.โอภาส กล่าวว่า     การตรวจด้วยวิธี RT PCR  เป็นวิธีมาตรฐาน และการตรวจแบบRapid Test ไม่ใช่การตรวจเพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อ แต่เป็นการตรวจหาภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นหลังการติดเชื้อไปแล้ว ซึ่งภูมิคุ้มกันจะขึ้นอย่างน้อยต้อง 7-10 วันหลังการรับเชื้อ ขณะที่RT PCR ที่เป็นการตรวจมาตรฐานนั้น จะตรวจหาการติดเชื้อได้หลังรับเชื้อ 3 วัน  ดังนั้น การตรวจเชื้อที่ยอมรับกันยังคงเป็น   การตรวจแบบ RT PCR หรือการตรวจหาสารพันธุกรรมด้วยการเก็บสารคัดหลั่งในระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วย  

อย่างไรก็ตาม สำหรับห้องปฏิบัติการในการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี  RT PCR  ปัจจุบันมีทั้งภาครัฐและเอกชน กระจายทั่วประเทศ ดังนี้

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ