แพทย์จุฬาฯเร่งวิจัยวัคซีน โควิด-19 คาดได้ใช้เร็วสุด ต.ค.64


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยผลการทดลองวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในหนูพบค่าภูมิคุ้มกัน หรือ แอนติบอดีระดับดี น่าพอใจ พร้อมวิจัยต่อในลิง หากได้ผลดีจะเดินหน้าวิจัยต่อในมนุษย์เพื่อให้ได้วัคซีนโดยเร็วที่สุด

อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 11 พ.ค. 63

อัปเดตข่าวสถานการณ์ โควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 11 พ.ค. 63

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม รองอธิการบดี กำกับดูแลด้านการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยความคืบหน้าการพัฒนาวัคซีนป้องกัน โควิด-19 ในประเทศไทย ว่า ทาง จุฬาฯ ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้พัฒนาดีเอ็นเอวัคซีน และทดสอบในหนู จากนั้นจึงนำเลือดหนูมาตรวจหาภูมิคุ้มกัน ปรากฏว่าผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่า หนูที่ได้รับวัคซีนต้นแบบ ทั้ง 4 ชนิด มีภูมิคุ้มกัน หรือ แอนติบอดีขึ้นค่อนข้างดี ใน 2 ชนิด เป็นที่น่าพอใจ จากนี้จะมีการฉีดวัคซีนต้นแบบดังกล่าวในสัตว์ทดลองที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และ ถ้าได้ผลดีก็เข้าสู่การทดลองในมนุษย์

สำหรับการผลิตวัคซีน ป้องกัน โควิด-19 ในประเทศไทยปัจจุบัน ในส่วนของ ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีทั้งหมด 7 ต้นแบบวัคซีน ใน 3 เทคโนโลยี ประกอบด้วย DNA วัคซีน Mrna (เอ็มอาร์เอ็นเอ) และการใช้โปรตีนสกัด จากต้นยาสูบ

หลังจากนี้ เมื่อตรวจหาภูมิคุ้มกันในเลือดของสัตว์ทดลอง ผลออกมาเป็นที่พอใจ ทางศูนย์วัคซีนจุฬาฯ คาดผลิตวัคซีน โควิด-19 ในลอตแรกจำนวน 10,000 โดส เพื่อส่งมอบได้เร็วสุดในเดือนส.ค. 2563 และจะนำมาใช้กับอาสาสมัครได้ในช่วงเดือนก.ย. 2563 ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 เฟส หากผลการทดสอบในมนุษย์เป็นที่หน้าพอใจ จะเร่งให้โรงงานผลิตเพิ่ม เพื่อใช้กับกลุ่มบุคคลทั่วไปได้เร็วสุดภายใน เดือน ต.ค. 2564

หาคำตอบ “วัคซีนโควิด-19” ไทยจะได้ร่วมทดสอบหรือไม่?

จีนเผยรายงานทดสอบ "วัคซีนโควิด -19"ในสัตว์ครั้งแรก

จุฬาฯ เดินหน้า วิจัยยารักษาไวรัสโควิด-19 จากต้นยาสูบ

รอลุ้น! 9 เดือนความหวังผลิตวัคซีนป้องกันโควิด -19  

เกาหลีใต้ เร่งพัฒนา ยาแอนติบอดีต้านโควิด-19

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ