WHO สั่งเฝ้าระวังใกล้ชิด MISC โรคอุบัติใหม่ในเด็ก


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กระทรวงสาธารณสุข เผย องค์การอนามัยโลกสั่งเฝ้าระวังใกล้ชิด โรคอุบัติใหม่ในเด็กที่มีอาการ โรคคาวาซากิ และอาจเชื่อมโยงกับโรคโควิด-19 ที่หากมีอาการรุนแรงอาจทำให้ถึงเสียชีวิตได้ ขณะที่ในไทยยังไม่พบเด็กเป็นโรคนี้

อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 3 มิ.ย. 63

อัปเดตข่าวสถานการณ์ โควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 3 มิ.ย. 63

โรคใหม่นี้ มีชื่อว่า เอ็มไอเอสซี หรือ มิสซี (MIS-C) หรือ Multisystem Inflammatory Syndrome in Children and Adolescents เป็น กลุ่มอาการคล้ายโรคคาวาซากิ แต่ มีภาวะของอวัยวะอักเสบเฉียบพลันพร้อมๆ กันหลายๆอวัยวะ ซึ่ง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานของโรคนี้ที่เกิดในเด็กจำนวนมาก โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศทางยุโรป มากที่สุดที่นครนิวยอร์ก ที่พบเด็กป่วยเกิน 100 คน และมีผู้เสียชีวิตแล้วหลายคน จึงเป็นที่มาของการที่องค์การอนามัยโลก สั่งให้ทุกประเทศเฝ้าระวังเป็นพิเศษ รวมทั้งประเทศไทยด้วย

รศ.พญ.วารุณี พรรณพานิช วานเดอพิทท์ แพทย์เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ระบุว่า โรคนี้พบช่วงต้นเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา เด็กจะป่วยมาหาหมอด้วยอาการอักเสบผิดปกติรุนแรงของอวัยวะของหลายๆระบบ เช่นมีผื่น 60-70%ของร่างกาย มีเยื่อบุตาแดงแต่จะไม่ขี้ตา เด็กซึม รู้ตัวน้อยลง บางรายมีอาการช็อก มีอาการทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นโรคที่คล้ายโรคคาวาซากิ แต่ในทวีปเอเชีย โรคคาวาซากิก็มีอาการแตกต่างกัน โดยเกณฑ์การสังเกตอาการจะมีดังนี้

เด็ก 3 รายในชิคาโก มีอาการอวัยวะอักเสบรุนแรงขณะป่วย โควิด-19

โรค คาวาซากิ จะมีอาการไข้สูง มักเกิดในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีอาการหลอดเลือดอักเสบ แต่ไม่ถึงกับช็อค มีเกล็ดเลือดสูง

ส่วนโรค เอ็มไอเอสซี หรือ มิส-ซี (MISC) หรือ อวัยวะอักเสบหลายระบบทั่วร่างกาย จะมักเกิดในเด็กโต อายุเฉลี่ย 7.5 ปี ที่พบมีเกิดได้ถึงคนอายุ 21 ปี มักมาหาหมอด้วย อาการระบบทางเดินอาหาร อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้องมาก บางรายพบภาวะช็อคจากการทำงานของหัวใจล้มเหลว กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติชั่วคราว และมีอาการทางหลอดเลือดสมองได้

ด้าน นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ ยืนยันว่า จากการเก็บข้อมูล ในประเทศไทยยังไม่พบโรคนี้ ทั้งนี้ การไม่พบโรค อาจเกิดจากการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลซึ่งทำได้ดี ซึ่งทำให้สถานการณ์คาวาซากิในประเทศไทยก็ลดลงด้วย ทั้งนี้หากผู้ปกครองมีข้อสงสัยว่าเด็กมีความผิดปกติ ให้สอบถามที่ 1415 ได้

ส่วนการเปิดเทอม ที่จะอยู่ในช่วงหน้าฝน การดูแลตนเอง กินร้อน ช้อนเรา การรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล จะช่วยลดโรคระบาดที่จะเกิดในหน้าฝนได้ดี รวมทั้งขอให้ช่วยกันทำลายลูกน้ำ ยุงลาย เพื่อลดโรคไข้เลือดออกด้วย

สำหรับโรคโควิด-19 ในเด็ก พบน้อย ล่าสุดพบไม่ถึง 1% ไม่น่ากังวล แต่การ์ดก็ยังไม่ควรตก

หลายประเทศพบเด็กป่วยโรคหายากคาดเอี่ยว โควิด-19

ซีดีซีเตือนแพทย์เฝ้าระวังโรคป่วยหายากเอี่ยวโควิด-19ในเด็ก

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ