ประชาชนในหลายประเทศประท้วงมาตรการรับมือโควิด-19 ระลอกสอง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




โควิด-19 ระลอกสองทำให้หลายประเทศต้องกลับมาใช้มาตรการที่เข้มงวด แต่กลับทำให้ประชาชนบางส่วนไม่พอใจ ตัดสินใจออกมาประท้วง

หลายประเทศกำลังเผชิญกับสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในระลอกที่สอง ส่งผลให้มาตรการที่เข้มงวดต่าง ๆ ถูกนำมาใช้อีกครั้ง สร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนบางส่วนในประเทศเหล่านั้น จนเกิดการประท้วง ทั้งที่สงบเรียบร้อย และที่รุนแรงถึงขั้นมีการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับผู้ประท้วง

อัปเดต สถานการณ์โควิด-19 ทั้งในไทยและต่างประเทศทั่วโลก 6 ก.ย. 2563

รัสเซียเผยรายงานผลการทดสอบวัคซีนโควิด-19 ทางการเป็นครั้งแรก

เมื่อวันเสาร์ (5 ก.ย. 63) ที่ผ่านมา ประชาชนราว 1,000 คนออกมาประท้วงใจกลางกรุงโรมเพื่อต่อต้านการบังคับเด็กนักเรียนสวมใส่หน้ากากอนามัย และมาตรการบังคับฉีดวัคซีนที่จะมีขึ้นในอนาคต

สื่อต่างประเทศรายงานว่า ผู้ชุมนุมประกอบด้วยนักเคลื่อนไหวต่อต้านวัคซีน และนักทฤษฎีสมคบคิด พร้อมป้ายเขียนว่า “ไม่ต้องมีหน้ากาก ไม่ต้องเว้นระยะห่างทางสังคม”

ผู้ประท้วงคนหนึ่งถือรูปถ่ายของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสที่มีคำว่าซาตานเขียนอยู่ข้างบน และเขียนตัวเลข 666 ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของปีศาจ

ด้านนายกรัฐมนตรีอิตาลี จูเซปเป คอนเต (Giuseppe Conte) ได้ออกมาแสดงปฏิกิริยาอย่างเย็นชาว่า “เรามีผู้ป่วยมากกว่า 274,000 ราย เสียชีวิตมากกว่า 35,000 ราย หยุดเถอะ”

เขากล่าวว่าอิตาลีจะไม่ประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์ แต่อาจต้องมีการคุมขังหากจำเป็น

ในวันเดียวกัน ผู้คนหลายพันคนรวมตัวกันในเมืองหลวง ซาเกร็บ (Zagreb) ของโครเอเชีย เพื่อประท้วงมาตรการที่ทางการกำหนดเพื่อรับมือการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยกล่าวว่า มาตรการเหล่านั้นละเมิดสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพของประชาชน โดยใช้ชื่อการชุมนุมว่า “Festival of Freedom (เทศกาลแห่งเสรีภาพ)”

ป้ายประท้วงบางส่วนที่ผู้ประท้วงนำมาเขียนว่า “โควิด-19 เป็นเรื่องโกหก พวกเราไม่ได้โง่นะ” หรือ “จงถอดหน้ากาก ปิดทีวี ใช้ชีวิตให้เต็มที่”

การชุมนุมนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเตือนให้ประชาชนตื่นตัวต่อมาตรการที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ซึ่งผู้จัดงานกล่าวว่า “เป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของพลเมือง” โดยไม่มี “พื้นฐานทางการแพทย์หรือกฎหมายที่ถูกต้อง”

ในช่วง 2-3 เดือนแรกที่โควิด-19 แพร่ระบาด โครเอเชียมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันน้อยกว่า 100 รายเป็นเวลาหลายเดือน และแทบจะไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ แต่ภายหลังจากมีการเปิดพรมแดนรับนักท่องเที่ยว ทำให้ตัวเลขผิ้ดเชื้อพุ่งขึ้นมากกว่า 200 รายต่อวันในช่วงปลายเดือนสิงหาคม และเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ 369 รายในวันพฤหัสบดี (3 ก.ย. 63) ที่ผ่านมา

ความไม่พอใจของผู้คนคุกรุ่นตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมที่ทางการประกาศบังคับให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยในระบบขนส่งสาธารณะ ในร้านค้า และบริการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อกับลูกค้าอย่างใกล้ชิด รวมถึงมีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนการรวมกลุ่มและการเว้นระยะห่างทางสังคม

ปัจจุบัน โครเอเชียมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสมเกือบ 12,000 ราย เสียชีวิต 197 ราย

ขณะที่ในออสเตรเลียก็เกิดการประท้วงในกรุงเมลเบิร์น รัฐวิกตอเรีย โดยมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 300 คน เพื่อต่อต้านมาตรการล็อกดาวน์ซึ่งดำเนินมาเป็นเวลา 1 เดือน

การประท้วงครั้งนี้มีการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจและผู้ประท้วง จนท้ายที่สุดตำรวจจับกุมผู้ประท้วงได้ 14 คน โดย 3 คนในนี้ต้องสงสัยว่าทำร้ายเจ้าหน้าที่

รัฐวิกตอเรียเป็นศูนย์กลางการระบาดระลอกสองของโควิด-19 โดยผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่ได้รับการยืนยันในออสเตรเลียเพิ่มขึ้นมากกว่า 3 เท่า สะสมเป็นมากกว่า 28,000 รายในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ส่วนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 748 ราย

ปัจจุบัน การติดเชื้อโควิด-19 ในรัฐวิกตอเรียคิดเป็น 75% ของการติดเชื้อทั้งหมดในออสเตรเลีย และคิดเป็น 90% ของการเสียชีวิตทั้งหมด

นั่นทำให้รัฐวิกตอเรียต้องอยู่ภายใต้มาตรการล็อกดาวน์มาเป็นเวลา 6 สัปดาห์ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเพื่อควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยเจ้าหน้าที่ได้สั่งให้ประชาชนอยู่แต่ในบ้าน และประกาศใช้เคอร์ฟิวในเมลเบิร์น ทำให้กิจการหลายแห่งต้องปิดตัวลงอีกครั้ง

เมื่อวันศุกร์ (4 ก.ย. 63) ที่ผ่านมา สก็อตต์ มอร์ริสัน (Scott Morrison) นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย กล่าวว่า รัฐและดินแดน 7 แห่งจาก 8 แห่งของประเทศได้ตกลงที่จะล็อกดาวน์ และเปิดพรมแดนอีกครั้งภายในภายในเดือนธันวาคม

“แต่ในกรณีที่ไม่มีวัคซีนโควิด-19 เราอาจต้องใช้ชีวิตแบบนี้ไปอีกหลายปี” เขาเตือน

นิวซีแลนด์พบผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 รายแรกในรอบ 3 เดือน

อนามัยโลกย้ำ “วัคซีนชาตินิยม” ซ้ำเติมวิกฤตโควิด-19

เรียบเรียงจาก BBC, The Guardian

ภาพจาก AFP, Shutterstock

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ