การเดินทางสู่ "ดินแดนแห่งสงคราม" ของชายชื่อ "ปั๊บ"


โดย PPTV Online

เผยแพร่




“เพราะโลกมันกว้างใหญ่” จึงมีเรื่องราวที่ออกไปเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต การท่องโลกกว้างเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมของนักเดินทาง นักท่องเที่ยว จุดหมายปลายทางล้วนแตกต่างกันออกไป LIFE STORY ได้เจอกับ “ปั๊บ พงศ์ศรณ์ ภูมิวัฒน์” เลือกที่จะไปในจุดที่มีความขัดแย้งสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ที่ซึ่งเป็น “ดินแดนแห่งสงคราม”

จากโลกหนังสือ สู่ การเดินทางปักหมุดในสถานที่จริง

อูลานบาตอร์วีรบุรุษแดง...คอมมิวนิสต์มองโกล

จุดเริ่มต้นจากตรงไหน...?

จุดเริ่มต้นที่ผมสนใจก็ผมชอบติดตามเรื่องข่าวสาร ข่าวสงคราม ตั้งแต่เด็กๆ ก็ติดตามมา แต่ว่าตรงที่มันมีข่าวพวกนี้เยอะๆ เป็นจุดที่สำคัญของโลกส่วนใหญ่มักจะเป็นตะวันออกกลาง เพราะตะวันออกกลางมันเป็นจุดศูนย์กลางของทวีปใหญ่ของโลก คือ ทวีปยุโรป ทวีปเอเชีย ทวีปแอฟริกา ชื่อว่า ยูเรเซีย แล้วตะวันออกกลางมันอยู่ตรงกลาง ดังนั้น มันจะเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่มหาอำนาจชิงอำนาจกัน มีน้ำมันเยอะ เป็นทางผ่านเส้นทางสายไหม มันก็เลยเป็นจุด War Zone ที่ทำให้ผมสนใจโฟกัสเป็นพิเศษ ในตอนแรกก็เริ่มประเทศง่ายๆ ก่อน ไปโอมาน ไปตุรกี แล้วก็เริ่มไปอิหร่าน ไปอิรัก แต่ละครั้งก็ได้รับรู้อะไรมากขึ้น มีความเข้าใจสิ่งที่เราอ่านมากขึ้นกว่าเดิมเข้าไปอีก

ใช้เวลากี่ปี…? ถึงเริ่มออกไปสู่ตะวันออกกลาง

เปิดคลิปคนไทยในอิรัก ล่าสุดประกาศเข้าสู่สถานการณ์เสี่ยง

มันอยู่ที่เงิน (หัวเราะ) พอเริ่มทำงานมีเงิน เริ่มแก่กล้าไปประเทศอื่นจนเชี่ยวชาญการท่องเที่ยวคนเดียว เชี่ยวชาญการท่องเที่ยวเองแล้ว ก็ไป และผมศึกษามาอย่างดีแล้ว เพราะผมก็กลัวตาย ก็กล้าไปพื้นที่พวกนี้มากขึ้น จังหวะมันได้ พื้นที่มันได้ เซฟตี้ตัวเองเก่งขึ้นก็พยายามไป

เน้นประเทศที่มี “ความขัดแย้งและมีความแปลกในเชิงการเมือง”

คำว่าประเทศแปลกๆ ที่ผมสนใจ มันจะแปลกๆในเชิงการเมือง ได้รับการยอมรับไม่สมบูรณ์จากสังคมโลก จากสหประชาชาติ อาจจะเป็นชน กลุ่มน้อยบ้าง  ประเทศที่มีความขัดแย้งบ้าง จะเป็นจุดพิเศษที่กำลังมีการประจันหน้าอยู่บ้าง ผมสนใจที่พวกนี้เพราะมันเป็นพีคของความขัดแย้ง อะไรก็ตามที่อยู่ตรงนั้นมันจะ Extreme และพอเราไปจุดที่ปัญหามัน Extreme มาก ถึงขนาดที่ชนกลุ่มน้อยกับคนกลุ่มใหญ่ต้องฆ่ากัน เราจะอยู่ในจุดพีค เราจะเข้าใจมันมากขึ้น หรือคนที่นั่นเขาจะเข้าใจปัญหานี้มากๆ แล้วเขาจะหวาดกลัวมัน เขาจะแสดงความรู้สึก ความเห็นขัดแย้งต่อมัน มันจะทำให้เราสัมผัสจุดพีคพวกนี้ แล้วเราจะย้อนกลับมามองตัวเราว่า ถ้าเราทำแบบนี้มาเรื่อยๆ มันจะนำเราไปสู่อะไร

เป้าหมายหลักคือ “การเอาตัวเข้าไปอยู่จุดตรงนั้นเพื่อเรียนรู้”

นครแห่งศรัทธา "เยรูซาเล็ม" ศูนย์กลางแห่ง 3 ศาสนา

สถานที่ไปจะเป็นที่ท่องเที่ยวหรือไม่ก็ได้ ที่ท่องเที่ยวถ้ามันเรียนรู้ได้ก็ไป บางทีผมไปประเทศต่างๆ อย่างไปอิรักผมก็ไปตัดผม เขามีงานปีใหม่ผมก็ไปร่วมเต้นรำกับเขาด้วย พยายามเอาตัวเข้าไปอยู่ในจุดที่สามารถเรียนรู้เขาได้มากๆ หรือขออนุญาตเข้าไปค่ายผู้ลี้ภัยไปสัมภาษณ์คนในค่าย

การเดินทางแต่ละครั้งเขาเลือกประเทศจากฤดูกาล บางประเทศเหมาะเที่ยวฤดูหนาว บ้างประเทศเหมาะเที่ยวฤดูร้อน อากาศถ้าร้อนเกิน หนาวเกิน ก็ไม่ดี ต่อมาคือสถานการณ์ ณ ตอนนั้น ประเทศนั้นอยู่ในช่วงปลอดภัย ไม่มีปัญหา ไม่มีสถานการณ์เลวร้าย และสามคือเทศกาล เช่น  เทศกาลศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา ทางการเมือง วันชาติ ซึ่งตอนนี้มีแพลนไปถึงสิ้นปี

“ประเทศที่ไปแล้วรู้สึกคุ้มมากคือ อิรัก เคอร์ดิสถานอิรัก (อิรักมี 2 รัฐ คือ รัฐของชาวอาหรับ กับรัฐขของชาวเคิร์ด อันนี้รู้สึกคุ้มมากอยากกลับไปอีกเรื่อยๆ จุดที่ตะวันออกกลางเป็นจุดศูนย์กลางความ Conflict (ขัดแย้ง) ของโลก แล้ว เคิร์ด ก็เป็นจุดศูนย์กลาง Conflict (ขัดแย้ง) ของตะวันออกกลาง มันเป็นจุดพิเศษมากๆ แล้วเป็นปัญหาชนกลุ่มน้อยที่รุนแรงมาก เข้าไปแล้วเห็นอะไรเยอะมาก เข้าไปแล้วประทับใจ”

ห้ามเข้าอาเซอร์ไบจัน” ตลอดชีวิต...

ครั้งหนึ่งเขาเดินทางไป ประเทศ “อาร์ตซัค” อันเป็นประเทศที่เกิดจากการที่ประเทศอัลเบเนียไปรบชนะประเทศอาเซอร์ไบจัน แล้วยึดแผ่นดินส่วนหนึ่งมาตั้งเป็นประเทศ ดังนั้น การที่จะเข้าไปได้ต้องเข้าทางประเทศอัลเบเนีย แต่ก็จะไม่สามารถเข้าประเทศอาเซอร์ไบจันได้อีกต่อไป ซึ่งการเข้าไปในอาร์ตซัคต้องนั่งรถทั้งวันตั้งแต่ 08.00 น. – 23.00 น. แล้วก็ต้องทำวีซ่าข้างในนั้น ถือว่าเป็นประเทศที่เข้ายากที่สุด

“ผมรู้สึกดีใจที่ตัวเองชอบเรื่องนี้ มันยากมากเลยที่จะเที่ยวหมด แล้วประเทศหนึ่งก็เที่ยวได้หลายครั้ง ก็คือแบบถ้าผมชอบเรื่องนี้มันก็จะมีอะไรแปลกๆ ให้เราได้ไปอยู่เสมอ โลกเรามันกว้างใหญ่”

ติดตาม LIFE STOEY ตอนอื่นๆ ที่ //www.pptvhd36.com/tags/PPTVLIFESTORY 

บางประเทศต้องใช้ “เส้นสายจากคนในท้องถิ่น” เขาเล่าว่า...

ในแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน เช่น เคอร์ดิสถานอิรัก ถ้าผมไม่มีติดต่อไกด์ หรือเส้นสายเพื่อขอ วีซ่ายากมากเพราะประเทศนี้มีสถานทูตอยู่ 2 แห่งคือ อังกฤษกับสหรัฐอเมริกา คือถ้าจะขอต้องส่งจดหมายไปขอที่อังกฤษกับสหรัฐอเมริกา แล้วให้ส่งกลับมารวมทั้งต้องมีคนจากสหรัฐอเมริการับรองด้วย แต่พอได้รู้จักไกด์ มีคนช่วยก็จะง่ายขึ้น คือถ้าเริ่มเป็นประเทศแปลกๆ เส้นสายจะสำคัญมากในการขอวีซ่า เส้นสายคือคนในท้องถิ่นที่การันตีว่าเราปลอดภัย

จากแบกเป้เดินทางสู่ดินแดนแห่งสงครามคนเดียว สู่ การจัด "War Tourism" เพราะแท้จริงเขาเป็นคน “ขี้เหงา” เขาเล่าให้ฟังถึงแนวคิดนี้หลังจากจัดมาแล้ว 2 ครั้ง ด้วยการพาแฟนเพจ Wild Chronicles – เชษฐา เดินทางไปสัมผัสพื้นที่เหล่านั้น และได้ผลตอบรับที่ดี การท่องเที่ยวนี้เรียกว่า "War Tourism"

เขาขยายความว่า คือการเข้าไปในจุดที่เคยมีสงครามมาก่อน มีเรื่องราวของสงครามนั้นเป็นจุดสนใจหลักของการท่องเที่ยว ในต่างประเทศมีคนทำแต่ในเมืองไทยยังไม่เคยเห็น จึงคิดว่าการท่องเที่ยวเชิงนี้ทำให้เราได้เปิดโลกทัศน์ มีความเข้าใจในความขัดแย้ง เข้าใจในอะไรต่างๆ เยอะขึ้น ถ้าจัดให้มันดี ปลอดภัย ก็จะเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งของการท่องเที่ยว

“ผมเป็นคนขี้เหงา ไปเที่ยวคนเดียวผมจะเหงา ต้องพยายามหาเพื่อนไป ก็เลยต้องชวนเพื่อไปกรุ๊ปหนึ่งก็ใหญ่เหมือนกัน จัดสำเร็จไปแล้ว 2 ครั้ง ก็คือ ไปเคอร์ดิสถานอิรัก ไปดูซากสงครามของแถวๆ นั้น ครั้งที่ 2 คือไปศรีลังกาเหนือ ไปดูซากสงครามศรีลังกา แล้วมีแผนว่าจะไปรัสเซียใต้ ไปตรง อับคาเซีย เซาท์ออสซีเชีย ดาเกสถาน  เชชเนีย แล้วก็อยากไปอาร์ตซัค อัลเบเนีย”

ยิ่งเดินทางยิ่งได้รู้จักตัวเอง รู้จัก สังคม วัฒนธรรม ภาษา ผู้คน สภาพแวดล้อม  ในอีกมุมหนึ่งของโลก  ส่วนเขาได้รู้จัก “ต้นตอของความเกลียดชังที่ฝังรากอยู่ในใจผู้คน เมืองที่ถูกปลูกฝังในคนเกลียดกัน”

การเดินทางสู่ดินแดนตะวันออกกลาง เขาได้เรียกรู้ถึงเรื่องราวของความเกลียดชัง ว่ามีที่มาอย่างไร วิธีการแก้ไขความเกลียดชังต้องแก้อย่างไร เพราะว่าพื้นที่นั้นเป็นจุดที่มีความแตกต่างเยอะมาก  “คนพื้นที่เขาพูดกับผมเองว่า ปัญหาหลักของตะวันออกกลางคือสิ่งที่เรียกว่า Culture Of Hate คือคนตะวันออกกลางสอนให้เกลียดกัน ต่างชนเผ่า ต่างศาสนา ต่างนิกาย สอนให้เกลียดกัน” และเนื่องจากการสอนแบบนี้จึงทำให้ปัญหาไม่จบสักที ขณะที่วิธีการแก้ไขคือพยายามให้ความรู้คน พยายามให้เข้าใจความแตกต่างมากขึ้นให้ก้าวผ่านความแค้นในอดีตไปให้ได้

อยู่ในจุดที่ขัดแย้งที่สุดในโลกจุดหนึ่ง จุดที่มีซากหายนะแห่งสงคราม เชื่อหรือไม่ว่าสักวันโลกของเราจะพบกับความ “สันติภาพ” จริงๆ เขามองว่า...

“เชิงทฤษฎีทุกอย่างเป็นไปได้หมด ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โลกเราอยู่ในยุคที่เรียกว่า Long Peace หรือสันติภาพยาว เพราะมนุษย์เราพัฒนาอาวุธขึ้นมามีอานุภาพมากเกินไป คือ อาวุธนิวเคลียร์ แล้วทั้ง รัสเซีย สหรัฐอเมริกา จีน ต่างก็รู้ว่าถ้าใช้อันนี้ไม่คุ้ม จากแทนที่จะทำสงครามใหญ่ฆ่าล้างกัน ก็เลยทำสิ่งที่เรียกว่า Proxy War หรือสงครามตัวแทน แทนที่จะสู้ตรงๆ ทำให้เกิดสงครามโลกก็ไปสู้กันในซีเรีย สู้ในอิรัก ตะวันออกกลาง ซึ่งมีดินแดน Proxy War และเนื่องจากรัฐบาลตะวันออกกลางอ่อนแอ ร่ำรวย (น้ำมัน) แต่อ่อนแอ ทำให้อยู่ในจุดถ้าใครมาชิงเราได้จะรวยมาก พออยู่ในสถานการณ์นี้เราจะถูกแทรกแซง มันเป็นธรรมชาติ และ เคอร์ดิสถาน ที่ไปมาเป็นศูนย์กลางของ War Zone ระหว่าง 4 ประเทศใหญ่ ซีเรีย อิรัก อิหร่าน ตุรกี เป็นจุดพิเศษคือไม่ได้สวามิภักดิ์ต่อรัฐไหน เป็นจุดที่เหมือนที่มาจ้างแล้วล่อใจเขาเขาก็ยินดีสู้ให้แล้วพวกเขาสู้เก่งมาก” 

จากเด็กผู้ชายยุค 90 ที่ชอบศึกษาด้านสงคราม ปริญญาตรีเรียนรัฐศาสตร์เพื่อเข้าใจการเมือง วัฒนธรรม ปริญญาโทเรียนบริหาร (MBA) เอาไว้หากิน หาเงินท่องเที่ยว เดินทางไปจุดศูนย์กลางความขัดแย้ง ดินแดนที่มีซากของสงคราม แม้กระทั่งจุดที่พร้อมเกิดสงครามได้ทุกเมื่อ เห็นโลกกว้างขึ้น เข้าใจมุมมองความขัดแย้ง เกิดเป็น Passion แล้วนำมาถ่ายทอดผ่านผลงานการเขียนหนังสือ ทั้ง โลหิตอิสราเอล,เชือดเช็ด เชเชน พยัคฆ์ทมิฬ สิ้นชาติ และล่าสุด WAR ON TERROR

“ ผมมี Passion กับความเข้าใจคนมาขึ้นเรื่อยๆ  แล้วการที่ผมเข้าใจคนมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วเอาความเข้าใจของผมมาเผยแพร่ ทำให้คนที่อ่านงานผม เป็นคนที่จิตใจกว้างขึ้น มีอคติน้อยลง เพราะว่าถ้าเราอยู่ของเราคนเดียว คือคนเราความคิดความเชื่อมันถูกเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อม ยิ่งเราแบบว่าก้าวข้ามพรมแดนไปหลากหลายมากขึ้น เราจะสามารถที่จะเรียนรู้และเข้าใจมากขึ้นเรื่อยๆ จะยิ่งทำให้จิตใจเราเหมือนบรรลุมากขึ้นเรื่อยๆ”

TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ