"แด่มะเร็งที่รัก" ไม่ว่าจะอย่างไรถ้าฉันเจอกับคุณ(มะเร็ง) ฉันก็ยังมีชีวิตของฉันได้เหมือนเดิม


โดย PPTV Online

เผยแพร่




อีกครั้งที่ PPTVHD36 กลับมาคุยกับผู้หญิงที่ชื่อ หลิง พีรดา พีรศิลป์ อีกครั้งหลังเมื่อ 1 ปีก่อนหน้า เราเคยเจอกันมาแล้วครั้งหนึ่ง เรื่องราวของเธอถูกถ่ายทอดผ่านบทความ “ถ้าไม่เป็นมะเร็งวันนั้น "ผู้หญิงคนนี้" อาจไม่ได้ยินเสียงหัวใจของตัวเองในวันนี้” วันที่เธอถ่ายทอดเรื่องราวที่เกิดขึ้น หลังจากเผชิญกับโรคมะเร็งมาแล้วถึง 2 ครั้งในชีวิต และครั้งนี้เรากลับมาคุยกับหลังจากที่เธอเพิ่งรักษามะเร็ง “ครั้งที่ 3” ด้วยวัย 47 ปี

“คุณหมอถามพี่ว่า เอาออกเลยเหรอ”

ถ้าไม่เป็นมะเร็งวันนั้น "ผู้หญิงคนนี้" อาจไม่ได้ยินเสียงหัวใจของตัวเองในวันนี้

อาลัย “นุ๊กซี่ อัญพัชญ์” สาวหัวใจนักสู้

“พี่บอก ค่ะคุณหมอ แต่เราไม่ได้เป็นอะไรนะ”

ซึ่งสิ่งที่เธอเอาออกคือ “เต้านม”

เสียงหัวใจของเธอยังเหมือนเดิม แต่ที่ต่างคือ เธอตัดสินใจ “ตัดเต้านมทิ้ง” แด่มะเร็งที่รัก โครงการที่จะทำให้ผู้ป่วยมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม หันกลับมาบอกตัวเองว่า ไม่ว่าจะอย่างไร ถ้าฉันเจอกับคุณ(มะเร็ง) ฉันก็ยังมีชีวิตของฉันได้เหมือนเดิม

หลิง พีรดา ตัดสินใจไม่นาน เพราะเธอเชื่อว่ามัน จะเป็นกระบอกเสียงที่สร้างกำลังใจให้กับอีกหลายคน

ก็หลังจากเป็นมะเร็งครั้งล่าสุด และผ่าตัดไปแล้ว รู้สึกว่าที่เต้านมเรา มันก็อาจกลับมาเป็นอีก เพราะว่าที่ท้องยังเป็นเลย ไม่รู้ว่ามันจะกลับมาอีกเมื่อไหร่ แล้วตอนนี้เรายังแข็งแรง พอครบรอบการมาพบคุณหมอเรื่องเต้านม ก็เลยบอกคุณหมอว่าขอตัดเต้านมออกได้ไหม เพราะว่าที่เสริมเต้านม แล้วเสริมซิลิโคลนมันเริ่มเสียทรง เพราะกล้ามเนื้อมันโดนฉายแสงมาก่อน ฉะนั้นไม่ว่าจะแก้อย่างไร กล้ามเนื้อจะรัดตัวเป็นพังผืด ทำให้เต้านมเราเสียรูป คือวิธีแก้มันสามารถแก้มาสวยงามได้ แต่ก็ต้องแก้ในภายหลัง เลยแบบไม่ต้องแล้ว อายุเท่านี้แล้ว ขี้เกียจแก้แล้ว

มะเร็งเต้านม ภัยเงียบอันดับ 1 ของผู้หญิงทั่วโลก 7 ต.ค.“วันมะเร็งเต้านมโลก”

'โกลบอลแคนเซอร์' เผยสถิติพบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ 2.5 คน/ชม.

ส่งกำลังใจ ผ่านภาพถ่าย ในเดือนแห่งการรณรงค์มะเร็งเต้านม

เดือนตุลาคม เป็นเดือนที่รณรงค์มะเร็งเต้านมพอดี ถ้าผ่าตัดได้เรียบร้อยก็อยากจะถ่ายรูปตัวเอง เพื่อรณรงค์เรื่องมะเร็งเต้านม เอาตรงนี้มาใช้ประโยชน์ ก็เลยเกิดเป็นโครงการ แด่มะเร็งที่รัก ไม่ว่าจะอย่างไรถ้าฉันเจอกับคุณ(มะเร็ง) ฉันก็ยังมีชีวิตของฉันได้เหมือนเดิม  

อย่างที่กล่าวไปไม่ใช่ครั้งแรกของการต่อสู้กับมะเร็ง แต่คือ ครั้งที่ 3 ในชีวิต จังหวะที่รู้ว่าเป็นมะเร็งอีกแล้ว..

ตอนนั้นไม่ช็อกเหมือน 2 ครั้งแรก ครั้งแรกช็อก ครั้งที่ 2 ไม่ช็อกเหมือนครั้งแรก แต่มันทำให้ชีวิตเราเปลี่ยนไปเลย แต่พอครั้งที่ 3  อ้าวเป็นเหรอคุณหมอ แล้วต้องทำอย่างไรบ้าง ก็ถามคุณหมอเลย คุณบอกโอเคผ่าตัดนะ เสร็จแล้วให้คีโม 6 ครั้ง ก็โอเค วางแผน จัดตารางชีวิตตัวเอง คือ ตกใจน้อย แต่เข้าใจว่ามันจะเกิดขึ้นแล้วก็เตรียมตัวเอง จัดการตัวเอง รับมือการรักษาเท่านั้นเอง ถือว่าจัดการได้ดี เข้าใจโรคมากขึ้น

มะเร็งครั้งที่ 3 ชีวิตไม่เที่ยง แต่ก็พร้อมสู้ต่อจนกว่าจะสู้ไม่ไหว

จุดเปลี่ยนยังไม่เท่าครั้งที่ 2 นะ ครั้งที่ 2 คือพี่เปลี่ยนชีวิตตัวเอง หันมาขี่มอเตอร์ไซค์ทำให้หลายคนรู้จักเรา แต่ครั้งนี้มันเหมือนกับเราเข้าใจว่า มันจะเกิดมันก็เกิด เหมือนกับว่ามันเป็นอะไรที่มันไม่แน่นอน มันเป็นสิ่งไม่เที่ยง ถ้ามันจะเป็นอีก ก็สู้กับมันเหมือนเดิม สมมติจบการรักษาแล้วมันกลับมาอีก ก็ต้องรักษาอีก สู้กับมันอีก จนกว่าจะสู้ไม่ไหว ไม่หยุดแน่นอนเพราะเรามีหน้าที่ต้องสู้กับมัน

รู้ก่อนสายเกินแก้ 3วิธีตรวจเช็กมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

ข่าวบิดเบือน ผู้หญิงย้อมสีผมบ่อยเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม

อาการเริ่มต้น?

ล่าสุด ของมะเร็งรังไข่ คือท้องอืด ตอนแรกคิดว่าอาหารไม่ย่อยหรือเปล่า ปกติถ้าเราถ่ายแล้วท้องก็จะแฟบลง กินอิ่ม แต่นี่กินได้น้อยลงเพราะมันแน่นท้อง เลยไปหาคุณหมอระบบทางเดินอาหาร หมอบอก 3 วันแล้วมันจะดีขึ้น แต่มันไม่ดีขึ้น ท้องยังอืดเหมือนเดิม พอตบท้อง เหมือนแตงโม บวมน้ำใหญ่มาก ไม่เจ็บ แต่ท้องอืด เรากินอาหารได้นิดเดียวก็แน่น พอไปหาหมออีกรอบหมอจับอัลตราซาวด์ท้อง เจาะเลือดไปเช็ค คุณหมอเจอก้อนเนื้อหลายก้อนที่รังไข่ 2 ข้าง ก้อนละ 5-7 เซนติเมตร และก้อนเล็กๆอีก คือหลายก้อนในท้องเรา ปรากฏว่า ก้อนเนื้ออักเสบในท้องเรา เลยเป็นน้ำทำให้ท้องเราบวม ก็ผ่าตัดแล้วก็รักษาตามขั้นตอน

รู้สึกว่าป่วยก็ต้องรักษา แต่รักษาเสร็จแล้ว ถ้าเรารู้สึกดีแล้ว พี่จะลุกขึ้นมาทำอย่างอื่น จะไม่นอนเฉยๆ หรือ ออดๆแอดๆ ไม่งั้นร่างกายมันจะทรุดไปกับเราด้วย พอพี่ผ่าตัดเสร็จพี่ก็มาร้านเพื่อน ร้านนี้ มาเดินแต่เดินช้าๆ เราเดินได้เราก็มา ไม่อยากนั่งอยู่เฉยๆ พอเริ่มขี่มอเตอร์ไซค์ได้ เราจะรู้ร่างกายตัวเอง เพราะออกกำลังกายมาก่อน เราจะรู้ว่าเราควบคุมรถเราได้แค่ไหน ก็ทำกิจกรรมที่เรารู้ว่าเราทำได้ก็ทำเลย หายดีก็ขี่มอร์เตอร์ไซค์เลย ”

“เคยสงสารตัวเอง แต่เราก็ต้องสู้”

ดิ่งไหม ไม่ดิ่งมากนะ แต่บางทีก็รู้สึกเหนื่อยกับสิ่งที่เราเผชิญอยู่เหมือนกัน เพราะว่าให้คีโมแต่ละครั้งมันปวด ปวดแล้วก็หาย ปวดมาก ทำอะไรไม่ได้ก็ต้องทน มีช่วงที่แพ้ยาแรกๆ ที่ให้คีโม เพราะเคยให้ตอนเป็นมะเร็งเต้านมครั้งแรก แต่มะเร็งเต้านม ครั้งที่ 2 ไม่ได้ให้ แล้วมาให้ตอนเป็นมะเร็งรังไข่ครั้งที่ 3 ซึ่งห่างกัน 17 ปี เลยแพ้เป็นลมพิษทั้งตัว ตั้งแต่หัวถึงนิ้วเท้า หน้าเป็นผื่น คัน ทรมานมาก ก็ต้องไปหาหมอกินยาแก้แพ้ ก็รู้สึกทำไมเราต้องเป็นแบบนี้ สุดท้ายเรากินยา เราอดทนกับมัน พอหายเราก็ โอเคจบ บางทีก็สงสารตัวเองเหมือนกัน แต่มันก็ต้องสู้

สำเร็จ จุฬาฯ ใช้ภูมิคุ้มกันรักษามะเร็งเต้านม

รู้ให้ลึกเรื่อง“มะเร็ง” รักษาอย่างถูกวิธีด้วย“เคมีบำบัด”

ในการคุยกันครั้งแรก หลังเผชิญมะเร็งเต้านมครั้งที่ 2 ชีวิตของเธอเปลี่ยนไปเพราะ มอเตอร์ไซค์ บิ๊กไบค์ คู่ใจ ที่เธอพาไปท่องโลกตามเสียงหัวใจตัวเอง มาวันนี้แม้มะเร็งรังไข่จะเข้ามาหาเธออีกครั้ง เสียงหัวใจของเธอก็ยังเหมือนเดิม

“จะขี่มอเตอร์ไซค์จนกว่าจะขี่ไม่ได้”

เหมือนเดิมนะ ตอนที่ไปอินโดนีเซียประสบอุบัติเหตุ หมอถามว่าจะขี่มอเตอร์ไซค์อีกไหม ก็บอก ขี่ค่ะ จะกลับไปอีก เพราะไปแค่ 2 วัน ยังไม่ได้ขี่เลย เกิดอุบัติเหตุแล้วก็กลับมา เลยคิดว่าถ้าไหวก็ยังขี่และยังอยากกลับไปอีกนะ ยังไม่กลัว จริงๆ มันก็อันตราย แต่ถ้าไม่ประมาท ถ้าเราจะตาย เราถึงจุดที่มันต้องตาย เราทุกคนก็ต้องตาย แต่เราไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ เพราะฉะนั้นจะไม่กลัวว่า ฉันจะทำอะไรแล้วมันจะเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า คือไม่อยากคิดไปล่วงหน้า เพราะไม่งั้นเราก็จะกลัวและไม่อยากทำอะไรเลย ยังอยากขี่มอเตอร์ไซค์อยู่ พอหายปุ๊บก็จะขี่ อยากไปไหนถ้าไปได้จะไป เพราะรู้สึกว่าถ้าเราไม่ขี่วันนี้ ก็ไม่รู้ว่าเราจะได้ขี่เมื่อไหร่  มีบางคนเคยถาม ก็จะบอกว่าจะขี่มอเตอร์ไซค์จนกว่าจะขี่ไม่ได้ ด้วยเหตุผลอะไรก็ไม่รู้ วันหนึ่งอาจจะไม่อยากขี่แล้วก็ได้ ก็อาจจะเลิกขี่ไปเลย หรืออายุมากจนขี่ไม่ไหว หรือร่างกายไม่พร้อมก็อาจจะไม่ขี่แล้วก็ได้

บางคนกลัวอันตราย พูดถึงความตาย พอเป็นมะเร็งทุกคนก็พูดแบบมันน่ากลัว มันต้องตาย

สำหรับเธอมองความตายมันเป็นเรื่องปกติที่ต้องเจอไม่ช้าหรือเร็ว เพราะฉะนั้น ถ้าวันนี้เธอขี่มอเตอร์ไซค์ไปประสบอุบัติเหตุ เธอจะไม่เสียใจ เพราะถือว่าชีวิตเราจบที่สิ่งนี้ มะเร็งก็เช่นกัน เธอบอกว่า วันหนึ่งถ้าเราสู้ไม่ไหวแล้ว เราก็ยอมแพ้ คือถ้าเรารู้ว่าเราไม่ไหวจริงๆ แล้วอาจจะต้องตายด้วยมะเร็งก็พร้อมเหมือนกัน ไม่ว่าจะกลับมาอีกกี่ครั้ง

“หลายคนบอกทำไมสู้จังเลย พี่ก็ไม่รู้เหมือนกัน พอมาดูตัวเองแล้วแบบ มันสู้เอง อะไรจะเข้ามา ไม่ว่าจะหนักจะเบาที่คิดว่าพี่รับมือกับมันได้ คือเราจะรู้ว่าเรารับมือกับมันได้แค่ไหน อย่างมะเร็งหลายคนอาจจะดูเหมือนเราชิลล์ นะแต่มันก็มีเบื้องหลังที่เราเจ็บปวดกับการรักษาเหมือนกัน แต่พี่ทนกับความเจ็บปวดได้ ถ้ามันไม่ไหวเราก็แค่พัก พอไหวแล้วเราสู้ได้ เราก็สู้”

อยากทำให้รีบทำ อย่าช้า คุณไม่รู้ว่า คุณจะมีพรุ่งนี้ไหม ถ้าคุณยังทำได้คุณรีบทำ

เธอบอกว่า ไม่ต้องมองอนาคตไกลๆ แต่มองที่ปัจจุบัน มองวันนี้ เพราะอนาคตมันจะเกิดจากสิ่งที่เราทำวันนี้ ทุกวันเธอถามใจตัวเอง วันนี้ฉันจะทำอะไร ฉันมีความสุขอยู่ไหม ฉันเบียดเบียนใครหรือเปล่า ทำให้ไม่ค่อยเครียด

“ พี่รู้สึกว่าไม่ว่าอายุแค่ไหน อะไรที่พี่ทำได้ พี่จะทำ บางคนบอกพี่ใช้ชีวิตโคตรคุ้ม แต่พี่ไม่ได้ใช้แบบบ้าระห่ำ พี่รู้ว่าพี่ทำอะไรได้มากกว่า คือถ้าเรารู้ว่าเราทำอะไรอยู่ เราจะทำได้ดี ในระดับที่เราพอใจ ไม่ต้องให้คนอื่นพอใจ ถ้าพี่พอใจพี่โอเค”

ตรวจภายในป้องกันมะเร็งร้าย

มารู้จัก "Precision Cancer Medicine" ดูแลผู้ป่วยมะเร็งได้ถูกคน-ถูกเวลา

แนะนำผู้หญิงตรวจร่างกายตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะการตรวจเร็วก็เหมือนเฝ้าระวังไว้ก่อน หากเจอสิ่งผิดปกติซึ่งอาจจะไม่ใช่มะเร็งก็ได้ ก็ยังสามารถรักษาไปก่อนได้

ถ้าสนิทจะบอกเธอไปตรวจเลยนะ ทุกปีอย่ามองข้าม บางคนก็ชะล่าใจ มันไม่เกิดหรอก ฉันไม่อยู่ในภาวะเสี่ยง ฉันไม่เป็น

แต่คุณไม่รู้เลยว่า คนที่เป็นมะเร็งไม่มีใครรู้ตัวเองมาก่อนว่าจะเป็น มันเกิดขึ้นเมื่อไหร่ที่ไหนกับใครก็ได้ เราบอกไม่ได้ บางคนเรียกว่ามันเป็นความโชคร้าย แต่พี่ว่าไม่ใช่ความโชคร้าย สิ่งที่คุณทำได้คือเฝ้าระวังตัวเองต้องหมั่นตรวจสุขภาพ

สติและการให้กำลังใจตัวเองสำคัญที่สุด

คนที่เป็นมะเร็งที่สำคัญเจ้าตัวถ้าคุณเป็นต้องมีสติ กำลังใจจากตัวเองสำคัญที่สุด บางคนอยากได้กำลังจากคนอื่น ขอกำลังใจหน่อย อย่าเพิ่ง คุณต้องให้กำลังใจตัวเองก่อน แม้คุณไม่มีใครก็ต้องให้กำลังใจตัวเอง เรารอจากที่อื่นไม่ได้ แต่สิ่งที่เราทำได้ทำจากตัวเอง

ขณะที่เธอฝากไปถึงคนดูแล ญาติ พ่อแม่ พี่น้อง ก็ต้องดูแลตัวเองเช่นเดียวกัน เพราะถ้าคุณดูแลผู้ป่วย คุณอย่าลืมดูแลตัวเองด้วยเพราะคุณก็สำคัญ ถ้าคุณแย่ไปด้วยคนป่วยก็แย่ไปอีก เพราะฉะนั้นต้องดูแลเขาและเราด้วย

จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า มีผู้หญิงไทยป่วย เป็นมะเร็งเต้านมรายใหม่ประมาณ 13,000 คนต่อปีหรือ 35 คนต่อวัน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ทุกปีเช่นกัน

และ หลิง พีรดา พีรศิลป์ คืออดีตผู้ป่วยมะเร็ง 3 ครั้ง หลังผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมด (Total Mastectomy) เพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการ กลับมาอีกของมะเร็งเต้านม ร่วมกับ  อาร์ต ฟอร์ แคนเซอร์ บายไอรีล ภายใต้ บริษัท อาร์ต ออฟ ไลฟ์ วิสาหกิจเพื่อสังคม และ ชมรมผู้ป่วยมะเร็งเต้านมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรเพื่อสังคมที่มีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการสร้างความ ตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง และส่งเสริมทัศนคติเชิงบวกในการรับมือกับโรคมะเร็งในสังคมไทย

เธอจึงนำเสนอภาพถ่าย ตัวเธอเองหลังผ่าตัดเต้านมในการรณรงค์ครั้งนี้ เป็นไปเพื่อสร้างพลัง สร้างกำลังใจ สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับ ภัยของโรค มะเร็งเต้านม การเฝ้าระวัง และกระตุ้นเตือนให้ผู้หญิงไทยได้เห็นถึงความสำคัญในการตรวจเช็ค สุขภาพเต้านมอย่าง สม่ำเสมอก่อนที่จะสาย

รวมถึงเสริมสร้างมุมมองด้านบวกในการรับมือกับโรคมะเร็งเต้านม อย่างสร้างสรรค์ให้กับผู้ป่วยมะเร็ง และเป็นการปรับทัศนคติในการมองโรคมะเร็งใหม่ รวมถึงสร้างแรงบันดาลใจ ให้กับผู้ป่วยมะเร็งและคนในสังคมให้ได้ตระหนักว่า โรคมะเร็งนั้นเป็นโรคที่เมื่อเป็นแล้วสามารถรักษาหายได้ สามารถเรียนรู้ที่จะรับมือและใช้ชีวิต ได้อย่างเป็นปรกติสุข

“อะไรที่เราเป็นเราจะรู้ดีกับมัน เวลาเราบอกคนอื่นเราจะบอกด้วยประสบการณ์ของเราเอง ซึ่งเราดีใจที่เป็นกำลังใจให้คนอื่นได้และเขาก็กลายมาเป็นกำลังใจให้พี่เหมือนกัน ไม่ใช่เฉพาะโรคมะเร็ง” หลิง พีรดา พีรศิลป์

คนบันเทิงร่วมอาลัย “นุ๊กซี่ อัญพัชญ์” สวดคืนแรก หลังจากไปด้วยโรคมะเร็ง

"SUPERFOOD" ป้องกันมะเร็ง กินได้กินดีกินได้ทุกวัน

TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ