สุทธิชัย หยุ่น : คนไทยย้ายถิ่น กับ พลเมืองโลก”


โดย PPTV Online

เผยแพร่




“สุทธิชัย หยุ่น” วิเคราะห์ ความเคลื่อนไหวเรื่องย้ายประเทศกันเถอะที่ ขณะที่มีสมาชิกเฉียดล้านคนแล้ว ต้องมองหลายๆมิติ และมีข้อดีของปรากฎการณ์นี้

"สุทธิชัย หยุ่น" วิเคราะห์ #ย้ายประเทศกันเถอะ

สุทธิชัย หยุ่น : "ย้ายประเทศกันเถอะ" พูดเล่นหรือจริงจัง?

สุทธิชัย หยุ่น : การทูตวัคซีนในไทย

ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเรื่องย้ายประเทศกันเถอะ ต้องมองหลายๆมิติ อย่ามองเฉพาะว่าเป็นความเคลื่อนไหวต่อต้าน ระบบ ระเบียบ หรือรัฐบาล แต่นี่เป็นกระแสของคนรุ่นใหม่ที่กำลังถามหาอนาคตตัวเอง และกำลังต้องการมีทางเลือก ในเมื่ออาจจะรู้สึกอึดอัด อาจจะรู้สึกไม่มีความหวัง ต้องการมองออกไปนอกประเทศ เพื่อหาโอกาสที่จะสร้างสิ่งที่อยากจะมีในชีวิตเขา

 

ถึงแม้ว่าระทรวงดีอีเอส บอกว่ากำลังจับตาดูอย่างใกล้ชิด ถ้าหากอะไรผิดกฎหมาย ก็ไม่เป็นไร

ขณะเดียวกันก็จะดูว่า มีใครใช้ ความเคลื่อนไหวในโซเชียลมีเดียนี้ เพื่อจะทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

ผมกลับมองว่าถ้ามองให้ดี คนรุ่นใหม่ ถ้าสนใจอะไรนอกจากประเทศไทย ค้นหาข้อมูล ถามไถ่ถึงระบบการปกครองประเทศต่างๆ ระบบเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ของทั่วโลก ที่เขาสนใจ จะเกิดการเปรียบเทียบ เกิดองค์ความรู้ แลกเปลี่ยน

ล่าสุดผมเข้าไปตรวจดูกรุ๊ปในโซเชียลมีเดียของกรุ๊ปนี้#ย้ายประเทศกันเถอะ เกิน 9 แสนคนแล้ว จำนวนใกล้ล้าน

แสดงว่าต้องมีคนที่มีความรู้สึกร่วม เกี่ยวกับเรื่องเราย้ายประเทศประเทศกันเถอะพอสมควร

ถึงแม้ว่าในความเป็นจริง การจะอพยพไปอยู่ประเทศอื่น ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เพราะมันไม่ง่าย จึงกลายเป็นจุดที่ทำให้เราคิดว่าเป็นความเคลื่อนไหวทางบวก

ความเคลื่อนไหวทางบวก ที่หมายถึงคนรุ่ใหม่ คนไทยเราปกติ แต่ก้อนนี้จะสบายๆอยู่ในประเทศไทย ไม่อยากไปไหน เพราะว่าชีวิตในเมืองไทยนั้นมีควาสุข อยู่กันอย่างฉันท์พี่ฉันท์น้อง ไปไหนก็มีเพื่อนมีฝูง

ฉะนั้นไม่ค่อยจะดิ้นรนต่อสู้เท่าไหร่ แต่ในยามนี้ เมื่อคนรุ่นใหม่เจอกันแรงกดดันหลายๆด้านพร้อมๆกัน ตั้งแต่เรื่องของ Digital disruption การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ที่ทำให้หน้าที่งานการ อุตสาหกรรม เปลี่ยนแปลงไป 

สิ่งที่เขาเรียนในโรงเรียน ในมหาวิทยาลัย ออกมาไม่สอดคล้องกับความต้องการในตลาด นี่คือแรงกดดันแรก ตามมาด้วยโควิด-19 ที่เปลี่ยนโฉมหน้า นิสัย พฤติกรรมทั้งสิ้นทั้งปวง ทำให้ที่หนักอยู่แล้ว หางานยากอยู่แล้ว ยิ่งหางานยากยิ่งขึ้น

"แน่นอนที่สำคัญ ที่อาจจะเป็น ฟางเส้นสุดท้ายของคนรุ่นนี้ก็คือ สิ่งที่เขาเห็นว่ามันเหลื่อมล้ำ ไม่ยุติธรรม ระบบระบอบหลายอย่างที่เขาคิดว่ามันเป็นอุปสรรค ต่อการที่เขาจะสร้างสังคมที่vยากจะเห็นขึ้นมา เข้าจึงแสวงหาทางออกด้วยการไปอยู่ที่อื่น ดีไหม"

การคิดจะไปอยู่ที่อื่นไม่ใช่เรื่องใหม่ สำหรับคนยุคนี้เท่านั้น แต่ละรุ่น แต่ละเจเนอเรชัjนก็มีความคิดเรื่องที่จะไปหาที่ใหม่ ที่มีความหวัง ที่สามารถจะตอบโจทย์ตัวเองได้ทั้งสิ้น

ในยุคก่อน ไปเรียนหนังสือต่างประเทศ จบแล้วก็ไม่กลับมา เพราะว่า กลับมาแล้วไม่มีงานทำ หรือว่าเรียนมากไป กลับมาแล้วไม่มีตำแหน่งแห่งหนให้ตอนนั้นเขาเรียกเป็นสมองไหล Digital disruption

ประเทศอื่น คนฮ่องกง หลังจากอังกฤษมอบเกาะฮ่องกงคืนให้กับจีน คนในฮ่องกงจำนวนไม่น้อยคิดจะอพยพหนีไป เพราะไม่ต้องการอยู่บนเกาะที่วันหนึ่งอาจจะถูกปกครองโดยจีน

ในเวียดนาม ครั้งสงครามเวียดนาม เวียดนามทำสงครามกับอเมริกา ไซ่ง่อนแตก คนก็หนีกันจ้าละหวั่น

พม่าก็เช่นกันคนรุ่นใหม่ๆในพม่า ในปี 1989 ตั้งแต่ถูกปราบปรามอย่างหนัก ก็หนีออกมาอยู่ในเมืองไทย ไปสิงคโปร์ อเมริกา ยุโรปกันมากมาย

ทุกเจเนอเรชั่น สังคมทุกสังคม เมื่อเจอแรงกดดันจะมีแนวโน้มว่าคนในสังคมแห่แหนออกไป

"แต่ประวัติศาสตร์สอนเราอย่างหนึ่งว่าคนทั้งหลายที่อพยพหนีจากประเทศ เพราะต้องการหนีความกดดัน หนีความไม่พอใจ หนีความบูดเบี้ยวของสังคม วันหนึ่งเขาจะกลับมา กลับมาเมื่อประเทศมีบรรยากาศที่พร้อมเอื้อต่อการ ที่จะสร้างความฝัน"

ไม่ว่าจีน หลังเทียนอันเหมิน 1989 ที่นักศึกษาถูกปราบปราม เรียกร้องประชาธิปไตย ไม่สำเร็จ ก็หนีไปอยู่ต่างประเทศจำนวนมาก

คนพม่า คนรุ่นใหม่ ก็หนีไป คนเวียดนามก็หนีไป คนฮ่องกงก็หนีไป แต่เขาเหล่านั้นเมื่อผ่านไประยะหนึ่งเมื่อประเทศเขามีบรรยากาศที่ดี ที่เอื้อต่อสิ่งที่เขาคิดว่าน่าจะทำให้เขากลับมา สร้างตัวเองและสร้างประเทศได้ เขาก็กลับมา

แต่วันนี้กระแสในประเทศไทยนั้นเราไม่แน่ใจว่ามันคืออะไรอย่างไร แต่มองในแง่บวก คนรุ่นใหม่จะพยายามแสวงหาข้อมูล ความรู้ ระบบการปกครอง แม้กระทั่งต้องการรู้ว่าระบบของประเทศแถวยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ เขามีเรื่องของสวัสดิภาพสังคมยังไง มีสวัสดิการอะไรบ้าง เขาเสียภาษีเท่าไหร่ ระบบการศึกษาเขาเป็นอย่างไร เขามีเหยียดผิวไหม และถ้าเราจะไปอยู่นั้นเราต้องทำอะไรบ้าง

"ทั้งหมดนี้ จะเป็นการก่อให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น จะทำให้คนรุ่นใหม่ของเราเป็น Global citizen เป็นประชาชนของโลก แทนที่จะอยู่ในประเทศไทยและกลัวการไปต่างประเทศ กลัวการที่จะไปในประเทศที่ตัวเองไม่คุ้นเคย กลัวจะไม่มีน้ำปลากิน กลัวจะไม่มีผัดไทยกิน ดังนั้นวันนี้เราจะเห็นคนรุ่นใหม่บอกว่าเขาพร้อมที่จะออกจากเขตคุ้นเคย เพื่อทำสิ่งที่ท้าทายกว่า"

จะไปได้กี่คน ท้ายที่สุด ความหวัง ความฝันนี้จะเกิดหรือไม่ ไม่สำคัญเท่ากับว่า ความตื่นตัวของคนรุ่นใหม่ ที่จะเข้าใจโลก เปรียบเทียบประเทศเรากับประเทศอื่นๆ เข้าใจเลยว่าภาษีเขาเสียกันที่ไหน อย่างไร เท่าไหร่ สวัสดิการสังคม ที่รัฐบาลต้อช่วยประชาชนตั้งแต่เกิดจนตาย เขาต้องเสียภาษี สูงกว่าบ้านเราอย่างไร ทำไมเราจึงคิดว่าเขาดีกว่าเรา เราแย่ตรงไหน เขาดีกว่าเราตรงไหน นี่คือการสร้างสติปัญญาการเปรียบเทียบ

การถกแถลงกัน บนเวทีในโซเชียลมีเดียนี้แหละ ดังนั้นไม่ต้องกังวล เมื่อคนรุ่นใหม่ แสวงหาความรู้ เปรียบเทียบวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์แล้ว อย่างน้อยที่สุด จะได้เข้าใจโลกมากขึ้น เมื่อเข้าใจโลกมากขึ้น ก็จะเข้าใจปะเทศไทยดีขึ้น ชอบไม่ชอบ ต้องเปลี่ยนแปลงปฏิรูปกันอย่างไร ก็จะค่อยๆตกผลึกทางความคิด

"ผมเห็นว่า นี่เป็นแนวโน้มทางบวก ผมเห็นว่าจะทำให้คนรุ่นใหม่เราศึกษา หาความรู้ หาข้อมูลแล้วคิดอย่างวิเคราะห์  Critical thinking มากขึ้น อย่างแน่นอน"

 

TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

ขณะนี้ มีรายการกำลังถ่ายทอดสด คุณสนใจหรือไม่?

POP NEWS

POP NEWS

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ