พบปริมาณสารเคมีในบ.หมิงตี้ คลาดเคลื่อน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




การขนถ่ายสารสไตรีนโมโนเมอร์ สารเคมีอันตรายที่เก็บไว้ภายในโรงงานหมิงตี้ เคมีคอล ตามแผนเดิมที่คาดว่าจะขนถ่ายไปเผาทำลายเสร็จภายในวันพฤหัสบดีนี้ แต่ปรากฏว่าตัวเลขการกักเก็บสารเคมีอันตราย มีมากกว่าที่เปิดเผยข้อมูลเบื้องต้นกว่า 1 เท่า จากที่เคยแจ้งไว้ 600 ตัน พบจริงถึงกว่า 1,100 ตัน จึงต้องยืดเวลาขนย้ายออกไปอีก

รถขนย้ายกากอุตสาหกรรม ที่ใช้ขนถ่ายสารสไตรีนโมโนเมอร์ สารเคมีอันตราย ของโรงงานหมิงตี้ เคมีคอล ยังทยอยขนถ่ายสารเคมีออกจากตัวโรงงานตลอดทั้งวัน เพื่อเอาไปเผาทำลาย โดยนับจากวันแรกของภารกิจคือวันที่ 10 - 12 ก.ค. มีตัวเลขรวมการขนถ่ายสารเคมีออกไปได้แค่ 290 ตัน จากตัวเลขที่เปิดเผยก่อนหน้านี้ว่ามีปริมาณสารสไตรีนฯ จัดเก็บในถังอยู่ 600 ตัน แต่ปรากกว่าเมื่อเจ้าหน้าที่กรมควบคุมมลพิษเข้าไปตรวจสอบพบสารเคมีอยู่ในถังกว่า 1,100 ตัน

กรมโรงงานฯ เชื่อกำจัดสารสไตรีนตามแผน

ขนทำลายสารเคมี โรงงานหมิงตี้ฯ คาด 5 วันเสร็จ

นายปราโมทย์ กันโพธิ์ ผู้จัดการฝ่ายประสานงานโครงการ บริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด ผู้ดูแลด้านการจัดการกากอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ตัวเลขที่คลาดเคลื่อนจึงต้องยืดเวลาการจัดขนถ่ายสารสไตรีนฯ ออกไปอีกจากกำหนดเดิมจะเสร็จวันพฤหัสบดีนี้ เป็นเสาร์ที่ 17ก.ค.64 โดยช่วงแรกของการเข้ามาทำงานได้ข้อมูลจากหน่วยงานแค่ 600 ตัน แต่ในพื้นที่เจ้าหน้าที่ของโรงงานหมิงตี้ แจ้งว่ามีสารไตรีนมากกว่า 1 พันตัน จึงใช้ลูกดิ่งเข้าไปวัดระดับในถังจัดเก็บความจุ 1,600 ตัน และคาดตรงประมาณการได้ตามนั้น

สั่งปิด “โรงงานหมิงตี้” ถาวร ชี้ กำจัดสไตรีน ใช้เงินอย่างน้อย 12 ล้านบาท

ด้าน นางสาวเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ วันนี้แถลงข่าวการตรวจสอบเหตุระเบิดและเพลิงไหม้โรงงานหมิงตี้ผ่านโปรแกรมซูม โดยตั้งข้อสังเกตการขออนุญาตสร้างโรงงานไว้ 3 ข้อ ประกอบด้วย การขยายกำลังการผลิตของโรงงาน เดิมปี 2534 มีกำลังการผลิต 2,400 ตันต่อปี แต่ปี 2562 กรมโรงงานอุตสาหกรรม อนุมัติให้ขยายกำลังการผลิตเป็น 36,000 ตันต่อปี คิดเป็น 15 เท่า ส่วนที่ 2 เป็นเรื่องของผังเมือง ซึ่งมีการประกาศใช้ผังเมืองรวมจังหวัดสมุทรปราการจำนวน 3 ฉบับ คือ ผังเมืองรวมปี 2537 ,พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2556  ซึ่งกำหนดให้พื้นที่บริเวณนั้นเป็นเขตพาณิชยกรรมแต่ปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์ทั้งในลักษณะที่เป็นบ้านเรือนพักอาศัย อาคารพาณิชย์ โรงพยาบาล วัด และโรงเรียนโดยรอบรัศมีที่อยู่ห่างจากโรงงาน 100 เมตรขึ้นไป และมีสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งรันเวย์ของสนามบินอยู่ห่างจากที่ตั้งโรงงานไปทางด้านตะวันออกไม่ถึง 3 กิโลเมตร  และข้อสุดท้ายการผลิตเม็ดโฟม โรงงานจำเป็นต้องมีการเก็บสารเคมีหลายชนิด ซึ่งมีสารเคมีอันตราย วัตถุไวไฟ

ทั้ง 3 ข้อ นางสาวเพ็ญโฉม เปิดเผยว่า แม้ตัวโรงงานไม้ได้ทำความผิดในเรื่องผังเมือง แต่ที่ตั้ง ที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่อุตสาหกรรมตามลักษณะการใช้ประโยชน์ของกฎหมายผังเมือง ย่อมเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ซึ่งกรมโรงงานให้ต่อใบอนุญาต ทั้งที่ขัดกับกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) ในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ในข้อ 4 ของหมวด 1 ว่าด้วยเรื่อง “ที่ตั้ง สภาพแวดล้อม ลักษณะอาคารและลักษณะ ภายในของโรงงาน” จึงเรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สอบสวนข้อเท็จจริงของการอนุมัติการขยายกำลังการผลิตของโรงงานหมิงตี้ในปี 2562 ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร และหากพบว่ามีเจ้าหน้าที่ภาครัฐละเลยในการปฏิบัติหน้าที่ หรือกระทำการทุจริต ต้องมีการลงโทษอย่างเป็นธรรม

ก.อุตฯ เร่งหาแนวทางดึง โรงงานออกนอกชุมชน

TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ