เปิดเบื้องหลัง โรงงานกำจัดขยะติดเชื้อ ในช่วงโควิด-19


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ท่ามกลางผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น ทำให้สัดส่วนในการใช้อุปกรณ์ป้องกันโควิด-19 ของประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์เพิ่มตามไปด้วย ส่งผลให้ปลายทางของสิ่งของ หรือ อุปกรณ์เหล่านี้ คือ ขยะติดเชื้อเพิ่มเช่นกัน หลายโรงพยาบาลประสบปัญหา ไม่มีกำลังกำจัดขยะติดเชื้อเหล่านี้ ทีมข่าวลงพื้นที่ บริษัท อัคคีปราการ จำกัด (มหาชน) จ.สมุทรปราการ เป็นโรงงานที่อยู่ในการกำกับดูแลของกรมโรงงานที่มีขีดความสามารถในการกำจัดขยะติดเชื้อได้ครบวงจร

เมื่อวันที่ 11 ส.ค. 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระบบกำจัดของโรงงาน อัคคีปราการ ถือว่ามีความรัดกุมอย่างมาก ตั้งแต่ขั้นตอนแรก จนถึงขั้นตอนสุดท้าย พนักงานกำจัด ไม่ได้สัมผัสขยะติดเชื้อเลย

ทีมข่าวพูดคุยกับ นายวันชัย เหลืองวิริยะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ เล่าว่าโรงงานต้องกำจัดขยะติดเชื้อประมาณวันละ 5 ตันจากศักยภาพที่กำจัดได้ 48 ตันต่อวัน  รับจากเทศบาลบางปู และ โรงงานที่เป็นลูกค้า

กำจัดขยะถูกวิธี ลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายโควิด 19

“คนเก็บขยะ” เสี่ยงสัมผัสเชื้อโควิด-19

โดยจะไม่รับขยะติดเชื้อที่ใส่ในถุง แต่จะให้ผู้ต้องการกำจัด จัดหาถังขนาด 200 ลิตร มาใส่เพื่อความปลอดภัย จากนั้น พนักงานจะใส่ชุด PPE และดันถังสู่เข้าสู่เตา ใช้อุณภูมิความร้อน 850-900 องศาเซลเซียส

เมื่อเผาทำลายเสร็จจะเข้าสู่ระบบเผาไหม้ ในอุณหภูมิ 900-1,200 องศาเซลเซียส นำเข้าสู่อีกเตาเพื่อลดอุณหภูมิ ให้เหลือ 200 องศาเซลเซียส เพื่อกำจัด สารไดออกไซด์ ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายหากใครสูดดมเข้าไป

 

ทั้งนี้แก๊สกับสารอินทรีย์ที่ยังเหลืออยู่จะผ่านถุงกรอง นอกจากนั้นยังมีปูนขาว กับผงถ่านเข้าไปดูดซับสารอินทรีย์ กำจัดตัวไนโตรเจนออกไซด์ ปล่อยน้ำและโซดาไฟ เพื่อกำจัดในขั้นตอนสุเท้าย และปล่อยเป็นไอน้ำผ่านท่อในอุณหภูมิ 85 องศาเซลเซียส   กระบวนการทั้งหมดใช้เวลา 2 ชั่วโมง และเชื่อว่า เป็นการกำจัดที่ครบวงจร ส่งผลกระทบต่อชุมนุมหรืออากาศน้อย

นายวันชัยระบุว่า สถานการณ์โควิดที่ทำให้มีขยะติดเชื้อเพิ่มขึ้น ทำให้ภาครัฐต้องหาทางรับมือ เพราะเริ่มมีหลายแห่งที่มีอุปสรรคในการกำจัดแล้ว และหากจำกัดไม่ถูกวิธีอาจจะส่งเสียต่อสิ่งแวดล้อม

ขณะที่โรงงานที่มีขีดความสามารถในการกำจัดขยะติดเชื้อนั้นในประเทศไทย มี เอกชนมีประมาณ 4-5 โรงงาน ส่วนภาครัฐ ประมาณ 12 แห่งส่วนใหญ่อยู่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นายวันชัยบอกอีกว่าเท่าที่มีข้อมูลขยะติดเชื้อยังเพิ่มสูงต่อเนื่อง

สำหรับแนวทางการกำจัดขยะทีมข่าวสอบกับ นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เปิดเผยว่า เสนอให้มีการคัดแยกขยะจากต้นทาง ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นและเร่งด่วน แยกขยะเศษอาหาร ขยะพลาสติก และขยะติดเชื้อออกจากกัน ซึ่งเมื่อถึงปลายทางในการกำจัด จะนำขยะกลุ่มเศษอาหารและขยะพลาสติก ไปฆ่าเชื้อโดยการฉีดพ่นแอลกอฮอล์/น้ำยาฆ่าเชื้อ/สารฟอกขาว หลังจากนั้นนำไปฝังในบ่อฝังกลบ

ส่วนขยะติดเชื้อจากโรงพยาบาลและสถานประกอบการต่าง ๆ จะต้องมีการกำจัดโดยการเผาในเตาเผามูลฝอยติดเชื้อตามกฎกระทรวง หากไม่มีการแยกขยะจะทำให้การกำจัดยากขึ้น  ซึ่งตอนนี้ทุกฝ่ายส่วนเร่งประสานงานเพื่องานจัดการปัญหานี้ 

TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ