ทำความรู้จักพืชกระท่อม อดีตยาเสพติดที่เพิ่งถูกปลดล็อกออกจากบัญชี


โดย PPTV Online

เผยแพร่




พืชกระท่อม ถือเป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้านที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติด แต่ล่าสุดถูกปลดล็อกให้สามารถปลูก กิน และครอบครองได้อย่างเสรี

พืชกระท่อม ถือเป็น เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ปานกลาง มีแก่นเป็นไม้เนื้อแข็ง สูง10 -15 เมตร อยู่ในตระกูล Mitragyna speciosa ใบคล้ายใบกระดังงา มีชนิดก้านใบแดงและใบเขียว ดอกกลมโตขนาดเท่าผลพุทรา ใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียว เรียงตัวเป็นคู่ตรงข้าม แผ่นใบขนาดกว้างประมาณ 5-10 ซม. ยาวประมาณ 8-14 ซม. ดอกมีสีขาวอมเหลืองออกเป็นช่อตุ้มกลมขนาด 3-5 ซม. ซึ่งจะพบมากในในป่าธรรมชาติบริเวณภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง สตูลพัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และตอนบนของประเทศมาเลเซีย 

ปลดล็อก“กระท่อม”ปลูกกินซื้อขายได้เสรี

ครม.ไฟเขียว “พ.ร.บ.พืชกระท่อม” ห้ามโฆษณา-ห้ามขายเด็กต่ำกว่า 18-ห้ามผสม4x100

ซึ่งคนไทยใช้สมัยก่อนนิยมใช้ ใบของกระท่อม มาทำเป็นยาชูกำลัง บางคนก็เอามากินแก้อาการหนาวสั่น โดยการทานชาวบ้านจะนิยม เคี้ยวใบสด หรือบางคนก็จะใช้วิธีบดเป็นผง ละลายน้ำดื่ม แต่ด้วยสรรพคุณที่ ที่ใบกระท่อมมี คือ  ไมทราไจนีน (Mitragynine) เป็นสารจำพวกอัลคาลอยด์ ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง (CNS depressant) เช่นเดียวกับยาเสพติดกลุ่มเดียวกัน เช่น psilocybin LSD และ ยาบ้า ประกอบกับราคาถูก จึงกลายเป็นที่นิยมของกลุ่มวัยรุ่น โดยนำน้ำกระท่อมมาผสมกับโค้ก หรือยาแก้ไอ เมื่อดื่มเข้าไปก็จะเกิดอาการเคลิบเคลิ้ม จึงได้ชื่อว่า สี่คูณร้อย 

และเมื่อกินติดต่อกันเป็นเวลานานก็จะเกิดผลข้างเคียงกับร่างกาย  เช่น  ปากแห้ง  ปัสสาวะบ่อย  เบื่ออาหาร ท้องผูก  อุจจาระแข็งเป็นก้อนเล็กๆ  นอนไม่หลับ  และถ้ารับประทานใบกระท่อมปริมาณมาก จะทําให้มึนงง และคลื่นไส้อาเจียน (เมากระท่อม)  แต่ในบางรายกินเพียง 3 ใบ ก็ทำให้เมาได้  

ในรายที่กิจใบกระท่อมมากๆ หรือเป็นระยะเวลานาน มักจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสีขึ้นที่บริเวณผิวหนัง ทำให้ผู้ที่รับประทานมีผิวคล้ำและเข้มขึ้น และยังพบอีกว่าเสพกระท่อมโดยไม่ได้รูดเอาก้านใบออกจากตัวใบก่อน อาจจะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า “ถุงท่อม” ในลำไส้ได้ เนื่องจากก้านใบและใบของกระท่อมไม่สามารถย่อยได้ จึงตกตะกอนติดค้างอยู่ภายในลำไส้ ทำให้ขับถ่ายออกมาไม่ได้ เกิดพังผืดขึ้นมาหุ้มรัดอยู่โดยรอบก้อนกากกระท่อมนั้น ทำให้เกิดเป็นก้อนถุงขึ้นมาในลำไส้ บางรายจะมีอาการโรคจิตหวาดระแวง เห็นภาพหลอน คิดว่าคนจะมาทำร้ายตน และพูดไม่ค่อยรู้เรื่อง

ด้วยฤทธิ์ดังกล่าวในปี พ.ศ. 2486  ประเทศไทยจึงเป็นประเทศแรกที่ประกาศควบคุมการใช้พืชกระท่อม โดยตราพระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. 2486 ระบุห้ามปลูกและครอบครองรวมทั้งห้ามจำหน่ายและเสพใบกระท่อม  พร้อมกำหนดโทษการฝ่าฝืน คือ ปรับไม่เกิน 200 บาท จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ ต่อมาได้กำหนดให้กระท่อมเป็นพืชเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งมีบทลงโทษสูงสุดคือจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท

ในขณะที่องค์การสหประชาชาติ (UN) จะยังมิได้มีการประกาศควบคุมพืชกระท่อมในบัญชีรายชื่อยาเสพติด หรือวัตถุออกฤทธิ์ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศใดเลย แต่ก็มีประเทศเมียนมาและออสเตรเลีย 2 ประเทศที่กำหนดให้กระท่อมเป็นพืชเสพติด

แต่หลังจากพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 พ.ศ.2564  ซึ่งจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 24 สิงหาคม 2564 เป็นการปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ ทำให้ประชาชนสามารถปลูก และขายได้อย่างเสรีโดยไม่ผิกกฎหมาย 

TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ