"เจ้าป่า เจ้าเขา" คืออะไรทำไมชาวบ้านต้องเซ่นไหว้ บวงสรวง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เคยสงสัยหรือไม่ "เจ้าป่า เจ้าเขา" เป็นใคร เหตุใดชาวบ้านในพื้นที่ หรือเวลาจะทำหาคนที่หลงป่าต้องเซ่นไหว้ เพื่อขอให้เปิดทางให้ วันนี้มีคำตอบ

"เวลาจะเข้าป่า ต้องเซ่นไหว้ เจ้าที่เจ้าทาง เจ้าป่าเจ้าเขา ก่อนเพื่อท่านจะได้คุ้มครองให้เราเดินทางอย่างราบรื่น" คำพูดนี้เราคงเคยได้ยินสืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน ยิ่งในละครที่มีการเดินทางเข้าป่า ทุกครั้งก็มักจะมีนายพรานผู้นำของทีมเดินป่า ทำพิธีเซ่นไหว้ หรือเราอาจเคยได้ยินในข่าวกรณีที่จะหาคนที่เดินหลงป่า จะต้องเชิญเจ้าพิธีมาดำเนินการ ขอขมา ให้เจ้าป่า เจ้าเขาเปิดทางให้ เพื่อจะได้พบเจอคนที่เราต้องการ แต่เราเคยสงสัยกันไหมว่า "เจ้าป่า เจ้าเขา" คือใคร 

ทำพิธีเปิดป่าภูพาน ค้นหาคนหลงป่า พบร่องรอยการนอน-ปีนต้นไม้

ไหว้ผีมอญ ขึ้น 6 ค่ำเดือน 6 อีกหนึ่งวิถีชีวิตในยุคไทยแลนด์ 4.0

ทีมข่าว พีพีทีวี นิวมีเดีย ได้ดำเนินการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องเจ้าป่า เจ้าเขา และพบข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ว่า "เจ้าป่า เจ้าเขา" น่าจะเป็นเทวดาประจำถิ่น หรือประจำท้องถิ่น ซึ่งเป็นใหญ่ในที่แห่งใดแห่งหนึ่งโดยเฉพาะ บางครั้งก็เรียกว่า พระภูมิเจ้าที่ เจ้าทุ่ง หรือ เทพารักษ์ แต่ถ้าสถิตอยู่ในต้นไม้ ก็เรียกว่า รุกขเทวดา หรือมีอีกเชื่อเรียกว่า "พระพนัสบดี" แปลว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งป่า ซึ่งน่าจะมีทั้งเพศหญิง และเพศชาย 

โดยอิทธิฤทธิ์ของเจ้าป่าเจ้าเขานั้นสามารถให้คุณ ให้โทษกับผู้ที่ล่วงล้ำเข้าไปในอาณาเขตของป่าได้ ดังนั้นเวลาจะเข้าป่า หรือไปเดินป่า นายพรานผู้นำทาง หรือผู้รู้ มักจะเตือนให้ลบหลู่ดูหมิ่นใด 

สำหรับวิธีการบูชานั้นสามารถพบได้ในพิธีและประเพณีหลายอย่างของไทย ซึ่งการบวงสรวรนั้นก็เพื่อความสุขสวัสดีหรือบันดาลการบรรลุผลสำเร็จตามแต่กรณี โดยการทำพิธิก็มีได้ตั้งแต่การตั้งศาลหรือหอ ในกรณีของเทวดาพระภูมิเจ้าที่  การไหว้ครู ในกรณีของเทวดาแห่งศิลปวิทยาต่างๆ  การบวงสรวงเมื่อจะทำการตัดโค่นไม้ใหญ่ ในกรณีของรุกขเทวดา  หรือหากคนไทยสมัยก่อนจะปลูกเรือนก็ต้องบวงสรวงทำบัตรพลีไหว้พระภูมิเจ้าที่เพื่อขอที่ดินต่อผู้รักษาพื้นดินก่อน  บัตรพลีดังกล่าวมีหมากพลู มะพร้าวอ่อน ขนมต้ม กล้วยน้ำว้า เป็นต้น 

ทั้งนี้ การบูชาบวงสรวงเทวดานั้นจะพบเห็นโดยมากในความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์และความเชื่อท้องถิ่น ในพุทธศาสนานั้น การบูชาเทวดามิได้มีระบุไว้ในพระบาลีแต่อย่างใด  โดยที่ตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ การบูชาเทวดามีหลักการปฏิบัติกำหนดไว้อย่างชัดเจน ซึ่งพิธีจำนวนมากต้องให้พราหมณ์เป็นสื่อกลางในการติดต่อระหว่างผู้บวงสรวงกับเทพเจ้า  แม้ในสังคมไทยปัจจุบันคติการบูชาเทวดาก็มิได้เสื่อมถอยลงไปแม้แต่น้อย ดังจะเห็นได้จากศาลเทพเจ้าขนาดใหญ่ที่มีผู้คนจำนวนมากเข้าไปสักการะกราบไหว้

เจ้า [ของ] ป่า

ที่มา 
Facebook : ตำนานผีไทย ภูติ พราย เรื่องเล้นลับ และผีนานาชาติ
เว็บไซต์ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร 

TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ