วันเยาวชนแห่งชาติ “ร่วมแรงแข็งขัน ช่วยกันพัฒนา ใฝ่หาสันติ”


โดย PPTV Online

เผยแพร่




20 กันยายน ประเทศไทยประกาศให้เป็น “วันเยาวชนแห่งชาติ” ให้ความสำคัญกับอนาคตของชาติ

วันที่ 20 กันยายนของทุกปี ประเทศไทยได้ประกาศให้เป็นวันเยาวชนแห่งชาติ โดยคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ.2528 ด้วยเหตุผลว่าเป็นวันที่เป็นสิริมงคล เนื่องจากตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ แห่งราชวงศ์จักรีถึงสองพระองค์ด้วยกัน คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (รัชกาลที่ ๘) ซึ่งทั้ง 2 พระองค์ ได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติในขณะที่ยังทรงพระเยาว์

นายก ฯให้โอวาทเยาวชน แนะ ศึกษายุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

อดีตเยาวชนดีเด่นที่ยังคงทุ่มเทกับงานจิตอาสาจนถึงปัจจุบัน

สำหรับจุดเริ่มต้นของวันเยาวชน มีที่มาจากการที่องค์การสหประชาชาติประกาศให้ปี พ.ศ. 2528 เป็นปีเยาวชนสากลมีคำขวัญว่า ‘Participation, Developme  วันเยาวชนแห่งชาติ ได้เริ่มมีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๒๘เนื่องจากองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นปีเยาวชนสากล และได้ขอให้ประเทศสมาชิกร่วมเฉลิมฉลองปีเยาวชนสากลภายใต้คำขวัญว่า "Participation, Development and Peace” ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า "ร่วมแรงแข็งขัน ช่วยกันพัฒนา ใฝ่หาสันติ” 

ความหมายคำว่าเยาวชน

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ระบุว่า เยาวชน หมายถึง บุคคลอายุเกิน 15 ปีบริบูรณ์แต่ยังไม่ถึง18 ปีบริบูรณ์ และไม่ใช่ผู้บรรลุนิติภาวะแล้วจากการจดทะเบียนสมรส ในทางกฎหมายก็ถือว่าบุคคลที่มีอายุระหว่างนี้เป็นเยาวชนและหากต้องระวางโทษก็จะพิจารณาโทษแตกต่างจากผู้ใหญ่ ส่วน    สหประชาชาติ ได้ระบุว่า เยาวชนหมายถึง คนในวัยหนุ่มสาว คือ ผู้มีอายุระหว่าง 15–24 ปี

กิจกรรมที่ควรปฏิบัติในวันเยาวชนแห่งชาติ

1. จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อเผยแพร่ความสำคัญ หน้าที่ ของเยาวชนเพื่อให้เยาวชน และประชาชนทั่วไปได้ตระหนักและเข้าใจ

2. จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถ และเพิ่มศักยภาพให้กับเยาวชน

3. ร่วมกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมสาธารณประโยชน์กิจการเพื่อการกุศล กิจกรรมในชุมชน ฯลฯ

นอกจากนี้ทางหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน ยังได้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาและส่งเสริมให้เยาวชนของชาติมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการพัฒนาชาติให้มีความมั่นคงและเจริญรุ่งเรืองขึ้น รวมทั้งบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมรวมไปถึงยังส่งเสริมให้เยาวชนของชาติมีการพัฒนาสถาบันในต่างๆ เช่น สถาบันครอบครัว โดยให้ผู้ปกครองให้ความเข้าใจ เอาใจใส่ ให้ความรัก ถือเป็นส่วนหนึ่งที่มีผลต่อเยาวชนในการพัฒนาทั้งคุณธรรมและจริยธรรม

วิธีฝึกให้ลูกค้นพบตัวเอง มีเป้าหมายของชีวิต

1.ให้โอกาส พ่อแม่ควรทำหน้าที่คอยสังเกตและสนับสนุนในสิ่งที่ลูกถนัดและทำได้ดี จะทำให้ลูกเกิดความมั่นใจ และมีความพยายามที่จะทำสิ่งที่ตัวเองชอบและทำได้ดี อย่าพยายามคิดและตัดสินใจแทนลูก แต่เปลี่ยนมาสร้างบทบาทการฟังให้มาก 

2.ให้อิสระ ไม่ควรเป็นผู้บงการชีวิตลูกว่าจะให้ลูกทำอะไร หรือฝากความหวังไว้กับลูกมากจนเกินไป 

3.ให้ลูกเห็นตัวเอง  พ่อแม่ต้องปรับความเข้าใจของลูกที่มีต่อตัวเองให้ถูกต้องเป็นจริงให้มากที่สุด มองลูกด้วยสายตาความเป็นจริง มิใช่อคติหรือลำเอียง การสอนและเตือนสติเป็นสิ่งจำเป็น 

4.ให้ความเคารพ เมื่อลูกค้นพบว่าตัวเองถนัดอะไร ชอบอะไร ซึ่งไม่ว่าสิ่งนั้นจะตรงใจพ่อแม่หรือไม่ก็ตาม ต้องเข้าใจยอมรับและเคารพในตัวลูกด้วย 

5.ให้ประสบการณ์ เปิดโอกาสให้ลูกเป็นเจ้าหนูทำไม และพ่อแม่ก็อย่าขี้เกียจตอบ พยายามตอบให้ได้มากที่สุด และคำตอบก็ควรจะเป็นลักษณะถามลูกว่าแล้วลูกคิดอย่างไร รู้สึกอย่างไร เป็นคำถามปลายเปิด เพื่อช่วยกระตุ้นให้เด็กๆได้คิดต่อ บางคำถามสามารถมีหลายคำตอบได้ ก็ชวนให้ลูกคิดตาม 

6.ให้พัฒนาตัวเอง เด็กควรได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และสังคมเริ่มที่การถูกเลี้ยงดู และได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสม ซึ่งหมายความว่าถ้าเด็กได้รับโอกาสที่ดีและเหมาะสม ก็จะนำไปสู่การพัฒนาตัวเองได้ด้วย 

7.ให้ลงมือทำ การเปิดโอกาสให้ลูกลองผิดลองถูก พัฒนาตัวเอง เรียนรู้ด้วยตัวเอง ปิดโอกาสต้องปล่อยให้ลูกได้ลงมือทำด้วย 

8.ให้แก้ไขเมื่อผิดพลาด เปิดโอกาสให้เขาได้แก้ไขข้อผิดพลาดหรือไม่ รวมถึงการเข้าใจธรรมชาติของเด็กที่พ่อแม่ควรรู้ว่าลูกของเราเป็นเด็กอย่างไร 

 

อ้างอิง

wikipedia.org

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม

cydcenter.com

kohlantanoi.go.th

mgronline และ ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน

TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ