สหภาพฯยาสูบ ค้านขึ้นภาษีบุหรี่ 1 ต.ค.นี้


โดย PPTV Online

เผยแพร่




สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจยาสูบ รวมตัวค้านขึ้นภาษีบุหรี่ ที่จะมีผลในวันที่ 1 ต.ค.นี้ โดยตั้งข้อสังเกตมีผู้ได้รับผลประโยชน์อยู่เบื้องหลังในการปรับราคาบุหรี่

วันนี้ 23 ก.ย. 2564 นายสุเทพ ทิมศิลป์ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจยาสูบ ได้รวมตัวกันมาร้องขอความเป็นธรรม ยื่นหนังสือขอเรียกร้องต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อขอให้ทบทวนการปรับภาษีสรรพสามิตที่จะมีผลในวันที่ 1 ต.ค.นี้ ซึ่งให้พิจารณาอย่างรอบด้าน เนื่องจากมีบทเรียนในปี 2560 ที่ปรับภาษีขึ้นแล้วบุหรี่ถูกปรับราคาขึ้น ทั้งยังมีภาษีมหาดไทย ทำให้เกิดผลกระทบเป็นวงกว้าง 

ขึ้นภาษีบุหรี่ 3% เพิ่มรายได้เข้ารัฐหมื่นล้าน!!

สนับสนุนร่างกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่

พร้อมกับถามว่าที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2560-2564 สามารถพิสูจน์ได้หรือไม่ว่าอัตราผู้สูบบุหรี่ดลน้อยลง แต่กลับมีบุหรี่หนีภาษีที่ลักลอบนำเข้ามาด้วยราคาถูกกว่าเพิ่มขึ้น จึงคาดว่าจะมีผู้ได้รับผลประโยชน์อยู่เบื้องหลังในการปรับราคาบุหรี่ให้สูงขึ้น

ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจยาสูบ ย้ำต่อว่า พนักงาน ลูกจ้างการยาสูบ เกือบ 3,000 ชีวิต กำลังวิตกอย่างมากว่ากระทรวงการคลังจะถูกกดดันให้เห็นชอบกับแนวทางการขึ้นภาษี ที่จะทำให้ราคาบุหรี่เพิ่มขึ้นอีก 6-8 บาท ตามที่กลุ่มเอ็นจีโอได้ออกมากดดัน จึงขอให้กรมสรรพสามิต ยึดมั่นในหลักการเดิมที่เคยวางไว้ว่าจะปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่ใหม่ด้วยความสมดุล 4 ด้าน รายได้ภาษี  ผลกระทบต่อเกษตรกรชาวไร่ยาสูบ ผลกระทบต่อปัญหาบุหรี่เถื่อน และนโยบายการดูแลสุขภาพประชาชน

แม้ว่าจะมีหลักการปรับโครงสร้างภาษีและมีบทเรียนอยู่แล้วในปี 2560 แต่ นายสุเทพ บอกว่า ที่กลุ่มของตนมีความกังวลมากเนื่องจากได้รับทราบข่าววงใน  (ที่ไม่ขอเปิดเผยที่มา) ว่ามีความพยายามของหมอบางกลุ่มมากดดันให้ปรับราคาบุหรี่มากกว่า 6-8 บาท ซึ่งพวกผมยอมไม่ได้เช่นกัน รวมถึงที่ผ่านมา การยาสูบไทย ได้นำผลกำไรเข้ารัฐมาตลอด จนปี 2560 เป็นต้นมาที่เงินนำส่งคลังหายไปกว่า 34,000 ล้านบาท แต่คนกลับซื้อบุหรี่เถื่อนกันมากขึ้น

ด้าน ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติ กล่าวว่า มีความกังวลว่า หากฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ยังตกลงกันในเรื่องโครงสร้างอัตราภาษีบุหรี่ใหม่ที่จะใช้ไม่ได้  อาจจะทำให้ที่ประชุม ครม. ในวันอังคารที่ 28 ก.ย. ต้องมีมติให้เลื่อนการขึ้นภาษีและให้ใช้โครงสร้างภาษีเดิม ที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2560 ต่อไปอีก ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะให้เกิดขึ้น เนื่องจากภาษีที่ใช้มาแล้ว 4 ปี  และเห็นว่าการปรับโครงสร้างอัตราภาษีใหม่ อาจทำให้ราคาขายปลีกบุหรี่แพงขึ้น อย่างน้อยซองละ 8 ถึง 10 บาท จากราคาซองละ 60 บาท เพิ่มเป็น  68 ถึง 70 บาท ซึ่ง จะทำให้กระทรวงการคลังสามารถเก็บภาษีบุหรี่ได้เพิ่มขึ้น ทำให้มีเม็ดเงินสำหรับไปช่วยเหลือเยียวยาชาวไร่ยาสูบได้อีกทางหนึ่ง  และที่สำคัญคือจะทำให้การสูบบุหรี่ลดลงอย่างแน่นอน โดยเฉพาะในเยาวชนที่มีกำลังซื้อน้อย

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ