“วอล์คกิ้ง สตรีท หรือ เมืองร้าง” 1 ปี 10 เดือน แสงสีที่หายไปจากพัทยา


โดย PPTV Online

เผยแพร่




จากย่านที่ไม่เคยหลับใหล นทท.หลายล้านคนต่อปีต้องมาสัมผัสบรรยากาศสุดคึกคักของ "วอล์คกิ้ง สตรีท พัทยา" วันนี้เป็นเวลากว่า 1 ปี 10 เดือน และยังไม่รู้ว่าความคึกคักของย่านนี้ และเมืองแห่งสีสันต์นี้จะกลับมาอีกเมื่อไหร่

คุณดำรงค์เกียรติ พินิจการ เลขาสมาคมอุตสาหกรรมบันเทิงและการท่องเที่ยวเมืองพัทยา ยอมรับว่า ในช่วงแรกที่มีการแพร่ระบาด ผู้ประกอบสถานบันเทิงหลายรายไม่คิดว่าสถานการณ์จะยืดเยื้อ ประกอบกับช่วงหนึ่งประเทศไทยสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ดี จำนวนผู้ติดเชื้อลดลงเป็นศูนย์ จึงกลับมาเปิดอีกครั้ง แต่ก็ยังไม่ถือว่าคุ้มกับต้นทุน

ปรับพื้นที่แดงเข้มเหลือ 6 จังหวัด เลื่อนแผนเปิด“ผับ-บาร์-คาราโอเกะ”ไปกลางเดือนม.ค.65

“บิ๊กเมาน์เท่น” เทศกาลดนตรีกับการเดินทางตลอด 11 ปี

เมื่อประตูประเทศยังปิด ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เป็นกลุ่มลูกค้าหลัก

เพราะเกือบ 100% ของนักท่องเที่ยวในพัทยา จ.ชลบุรี คือ ต่างชาติ ทั้งจีน เกาหลี อินเดีย รัสเซีย ยุโรป  ต่อให้เปิดในช่วงเวลานั้นก็ยัง “ขาดทุน”

“อย่างผมลองเปิดได้ 10 วันก็ต้องปิด หลังจากนั้นก็ยาวมาเลยจนถึงวันนี้ก็ยังไม่ได้เปิด กระทบหนักทั้งตัวผู้ประกอบการและลูกจ้างตอนนี้ก็กลับบ้านใครบ้านมัน”

จนถึงวันนี้ สถานบันเทิง บาร์เบียร์ ผับ บาร์ คาราโอเกะ ปิดกิจการไปแล้วยาวนานกว่า 1 ปี 10 เดือน  รายได้จากหลักสิบล้าน กลายเป็น ศูนย์

จากก่อนโควิด-19 สถานบันเทิงบางแห่งในเมืองพัทยา มีรายได้มีไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาทต่อเดือน  แต่ตอนนี้คือ ศูนย์ รวมถึงพนักงานเสิร์ฟ มีรายได้จากทิปต่อเดือน ประมาณ 50,000-60,000  บาท ตอนนี้ทุกคนคือ ศูนย์  หลายคน โดนยึดรถ ไม่เงินจ่ายค่าเช่าบ้าน ฯลฯ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจบาร์เบียร์ ร้านขนาดเล็ก ที่สายป่านไม่ได้ยาวนัก

ภาพที่ทีมงาน นิวมีเดีย พีพีทีวี เห็นในระหว่างลงพื้นที่ยามค่ำคืน จากเมืองที่มีแต่แสงสี ดนตรี และความคึกคัก วันนี้ไม่ต่างจาก “เมืองร้าง” บางร้านปิดประกาศปล่อยให้เช่า เซ้ง หรือปล่อยทิ้งไว้เป็นพื้นที่ที่โล่ง

บางราย “ปรับตัวได้” หันมาจับกลุ่มนักท่องเที่ยวคนไทย จากธุรกิจกลางคืนมาเปิดธุรกิจกลางวัน

คุณดำรงเกียรติ ยกตัวอย่าง จากตัวเขาเอง เมื่อสถานการณ์เริ่มแรงเกิน 3 เดือน ผู้ติดเชื้อทั่วโลกพุ่งขึ้น เขาเริ่มปรึกษากันในครอบครัว สรุปว่า ต้องยอมพักเบรก อย่าฝืน ในเมื่อลูกค้าเราเป็นต่างชาติ ไม่ใช่คนไทยเราต้องยอมหลับก่อน รอจังหวะปลุก หรือจังหวะฟื้น หรือกลับมาทำ

จึงลงทุนเปิดร้านอาหารพร้อมกิจกรรมเรือตกหมึกกลางทะเล / คาเฟ่ บ่อบัว จับกลุ่มตลาดคนไทย รายได้ไม่เท่าเดิมแต่ก็ยังพอไปได้ ยังจ้างงานลูกน้องบางคนที่ไม่มีที่ไปให้อยู่รอดได้

ความหวังเดือนละ 2 หนของคนไทย ความเชื่อ วิจารณญาณ กับเลขอั้น

“ เป็นมนุษย์กลางวันเต็มตัว รายได้อาจจะสู้ผับไม่ได้ ธุรกิจกลางวันเราหาได้แสนนึงก็หายไปหลายเท่า แต่ในภาวะแบบนี้ก็ถือว่าดี ยังประคองลูกน้องที่เขาไม่มีบ้านให้กลับ ต้องหากินอยู่พัทยา ก็ยังพอไปได้”

 แต่ไม่ใช่ผู้ประกอบการทุกคนจะมีเงินทุน หรือ สายป่านที่ยาวพอ กลุ่มรายย่อย รายเล็ก สุดท้ายต้องยอม “ปิดตัวลงถาวร”

 

 

“ เขามีภาระต้นทุนของเขาเป็นค่าเช่า แล้วทุนเขาน้อยกว่าผู้ประกอบการผับรายใหญ่ ที่มีทุนหรือสายป่านยาวที่จะจ่ายค่าเช่าเลี้ยงร้านไว้ พอปิดมานานเกิน 3-6 เดือนไม่มีรายได้ เขาก็ต้องยอมขนของ ขนทุกอย่าง เพราะเขาไม่มีเงินมาจ่ายค่าเช่ามาจ่ายค่าที่” คุณดำรงเกียรติ สะท้อนภาพให้ชัดขึ้น

อัตราค่าเช่าตึกหนึ่งตึกสำหรับการลงทุนบาร์เบียร์ ต้องมีไม่ต่ำกว่า 15 ล้านบาท สำหรับเซ้งหรือปล่อยเช่า ขณะที่ค่าเช่ารายเดือนอีกไม่ต่ำกว่า 1-2 แสนบาท แต่ตอนนี้เหลือไม่ถึง 5 ล้านบาท

ในฐานะเลขาสมาคมอุตสาหกรรมบันเทิงและการท่องเที่ยวเมืองพัทยาจึงขอเป็นกระบอกเสียง ให้กับผู้ประกอบการรายย่อย

ที่ผ่านมามาตรการต่างๆ จากหน่วยงานภาครัฐหรือธนาคาร เช่น มาตรการสินเชื่อ ได้มีการได้พูดคุยและประชุมกันหลายครั้ง จึงอยากร้องขอผ่านทางหน่วยงานของรัฐ ในเรื่องของสินเชื่อธุรกิจ เพราะที่ผ่านมาธุรกิจประเภทนี้จะถูกประเมินว่ามีความเสี่ยง และไม่ค่อยได้รับการอนุมัติ อย่างน้อยเพื่อเป็นเงินทุนหากวันหนึ่งสามารถกลับมาเปิดบริการได้อีกครั้ง

อยากให้เอาธุรกิจประเภทเราไปด้วย ผับ บาร์ คาราโอเกะ เราไม่มีรายได้ แต่เรามีสถานที่ มีของ และเรามองว่าเปิดเมืองทุกอย่างยังเป็นไปได้  อยากมีเงินทุนมาต่อเติม ตกแต่ง ปรับปรุงให้มันดี จะได้สอดรับกับมาตรการ ศบค. และมาตรการทางสาธารณสุข เพื่อรอต้อนรับ นักท่องเที่ยวที่จะกลับมาในอนาคต ก็ฝากเป็นกระบอกเสียง อยากให้มีธนาคารหรือหน่วยงานของรัฐเข้ามาช่วยดูตรงนี้

อย่างไรก็ตาม คุณดำรงค์เกียรติ มองว่า หลังจากสถานการณ์โควิด-19 ธุรกิจสถานบันเทิง ผับ บาร์ จะกลับมาเกิดการแข่งขันสูง เพราะทุกคนเริ่มจากศูนย์หมด ขณะที่ลูกค้าเขาจะมามองหาสถานที่ท่องเที่ยวที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง  

แต่ตอนนี้ต้องยอมรับว่ายังไม่สามารถกำหนดทิศทางการท่องเที่ยวได้  เพราะยังเห็นตัวเลขไม่ชัดเจน ยังมองไม่ออก และคาดว่าจะยังเป็นนักท่องเที่ยวที่กลับมาหาครอบครัวมากกว่า เพราะไม่ต้องการกักตัว แต่แบบที่เป็นกลุ่ม หมู่คณะ เช่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง จีน ยังไม่เห็นชัดเจน ซึ่งผู้ประกอบการก็จะลองวิเคราะห์ดู สัก 14-15 วันหลังเปิดประเทศ จะมีลูกค้ากลุ่มของเรามาไหม ถ้ายังไม่เข้ามาเราก็คงยังไม่เปิด 

นอกจากนั้น ยังฝากถึงรัฐบาลเรื่องความชัดเจนโดยเฉพาะ "อนุญาตให้กลับมาเปิดบริการและขายเครื่องดื่มแอลกฮอล์ได้อีกครั้ง"

อดีตครูฝึกสอน สะท้อนปัญหาไม่อยากเป็นครู

ผมเห็นใจกลุ่มนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการรายเล็ก บาร์เบียร์ ผับแอนด์เรสเตอร์ลอง ผับแบบชิลเอาท์ เพราะถ้าคุณเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาแล้ว เวลาเขาเข้ามาก็อยากสังสรรค์ ก็อยากให้พิจารณาตรงนั้นดู ยังไม่ต้องผับขนาดใหญ่ เขอเป็นร้านอาหารก่อน ให้เขาได้ลองเปิด ถ้า นักท่องเที่ยวมาแล้วไม่สามารถดื่มได้ ไม่สามารถมานั่งร้านบรรยากาศชิลๆ ได้ เขาก็จะเสียความรู้สึกว่ามาแล้วมาทำไม

ซึ่งคำสั่ง ศบค. ล่าสุด เลื่อนจากวันที่ 1 ธ.ค.64 เป็น 16 ม.ค.64 และเฉพาะพื้นที่ สีเหลือง สีฟ้า ซึ่งยังไม่มี “พัทยา ชลบุรี”

ขอให้กำหนดชัดๆ มาเลยอย่ามาให้ความหวังหลอกๆ เรา เพราะก่อนหน้าสักอาทิตย์เราต้องเรียกพนักงานและ ต้องใช้เงินทุน ถ้าให้ความหวังแล้วไม่ให้เราเปิดเราเสียหายบางคนก็ อาจเป็นเงินก้อนสุดท้ายของเขาแล้ว

คุณดำรงค์เกียรติ  ทิ้งท้ายว่า ผมมองว่าควรแล้วครับ เราอย่ามากลัว เพราะถ้าเรามัวแต่กลัว เราต้องอยู่กับมันให้ได้ ปรับตัว เพราะถ้าเรามัวกลัว เราตาย มันไม่ได้ตายเพราะโควิดหรอก ตายเพราะไม่มีกิน  จึงขอเป็นกำลังใจให้ทุกคน คุณดิ้นมาได้ขนาดนี้ ผ่านมาถึงระลอก 4  ทุกคนต้องมีเทคนิคของแต่ละคน ซึ่งทุกคนพร้อมแล้วที่จะกลับมา

 

“โฆษกรัฐบาล” รับ ยังไม่มีแนวทางเยียวยาผับบาร์ หลังเลื่อนเปิด 16 ม.ค.

ล่าสุด เมื่อวันที่ 16 พ.ย.2564 น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงคำถามเรื่องการเยียวยากลุ่มผู้ประกอบการสถาบันเทิง จากการเลื่อนเปิดจากเดิม 1 ธ.ค. 2564 เป็น 16 ม.ค. 2565 ว่า เบื้องต้น การประกาศเปิด 1 ธ.ค. ไม่ใช่การรับปาก แต่ ศบค. ชุดเล็กและชุดใหญ่ เห็นตรงกันว่าช่วงเวลาที่ปรับเปลี่ยนเหมาะสมและเป็นประโยชน์สำหรับประเทศไทย ส่วนเรื่องเยียวยาอย่างไร ขณะนี้ยังไม่มี แต่ยืนยันจะดูแลภาคส่วนต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน 

แต่ก็เหมือนจะกลับมามีความหวังอีกครั้งเมื่อ....

พล.อ.สุพจน์ มาลานิยม เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศปก.ศบค.)ตัวแทนผู้ประกอบการผับบาร์ คาราโอเกะ รวมถึงศิลปินนักร้อง ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและรมว.กลาโหม โดยได้หารือกับตน ซึ่งมีข้อมูลตรงกับที่รัฐบาลแก้ปัญหาอยู่ เขาขอให้พิจารณาเลื่อนเปิดกิจการกิจกรรมให้เร็วขึ้น พร้อมเสนอมาตรการที่เราต้องการ โดยตนจะนำข้อมูลเหล่านี้เข้าที่ประชุม ศปก.ศบค.ต่อไป

ตนชี้แจงว่าพล.อ.ประยุทธ์ เป็นห่วงเกี่ยวกับห่วงโซ่ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ นักดนตรี ผู้ขายวัตถุดิบ ทุกอย่างเป็นห่วงโซ่ ซึ่งเราคิดกันมาหลายรอบแล้ว เพียงแต่สถานการณ์ที่ผ่านมาไม่เอื้ออำนวยให้อนุญาตเปิดกิจการได้ภายในวันที่ 1 ธ.ค.ตามที่นายกฯตั้งใจ

ด้านนายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม รับทราบถึงปัญหาความเดือดร้อนของสถานประกอบการธุรกิจกลางคืน ผับ บาร์ คาราโอเกะ รวมถึงศิลปิน นักดนตรี หลังจาก ศบค.มีมติให้เลื่อนการเปิดกิจการไปถึงวันที่ 16 ม.ค.65

เข้าใจและเป็นห่วงเกี่ยวกับห่วงโซ่ธุรกิจกลางคืนที่เกี่ยวข้องกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ผู้ประกอบการ นักร้อง นักดนตรี พนักงานเสริฟ รวมไปถึงผู้ค้าขายในช่วงกลางคืน

รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจมีการหยิบยกหารือถึงทางออกกันหลายเวที อีกทั้งสั่งการให้ติดตามประเมินสถานการณ์ประจำวันอย่างใกล้ชิดเพื่อเร่งแก้ปัญหาของประชาชนทุกกลุ่มโดยยึดความปลอดภัยและประโยชน์สูงสุดของภาพรวมเป็นหลัก

TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ