"ไทม์ไลน์เสือวิจิตร" ออกจากพื้นที่ป่ากับสถานการณ์เสือโคร่งไทย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




จากกรณีเสือโคร่ง "วิจิตร" ออกนอกพื้นที่ป่า ห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี กับสถานการณ์เสือโคร่งไทย ระยะเวลา 10 ปี (2553-2563)เพิ่มขึ้นจาก 42 ตัว เป็น 79 ตัว

ตรวจหวย - ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 1 ธันวาคม 2564 ลอตเตอรี่ 1/12/64

นายธวัชชัย เพชระบูรณิน นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 เปิดเผยกรณีพบสัญญาณจากปลอกคอของ เสือโคร่งวิจิตร ออกนอกพื้นที่ป่าห้วยขาแข้งและออกนอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ โดยได้รับรายงานครั้งแรกตามไทม์ไลน์ พบว่า

ปล่อยนกกระเรียนคืนธรรมชาติ หลังสูญพันธุ์ไปกว่า 50 ปี

พบผู้ติดเชื้อโควิด “โอไมครอน” ใน 17 ประเทศ อนามัยโลก เตือนกระทบเศรษฐกิจ

28-29 พฤศจิกายน 2564 สัญญาณดาวเทียมของ เสือวิจิตร เสือโคร่งห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี ออกนอกพื้นที่  พบอยู่บริเวณที่บ้านปางสัก อำเภอเเม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์

และที่บ้านเขาน้ำอุ่น อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร แต่ยังไม่สามารถพบตัวได้ พบเพียงรอยตีนและสัญญาณจากปลอกคอเท่านั้น

ช่วงบ่าย วันที่ 29 พฤศจิกายน 2564  สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 จึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่กลุ่มงานวิชาการ เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ และเจ้าหน้าที่จากสถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ พร้อมอุปกรณ์เครื่องรับสัญญาณวิทยุภาคพื้นดิน เพื่อติดตามสัญญาณจากปลอกคอเสือโคร่ง “วิจิตร” โดยตรวจสอบพื้นที่ในพิกัดที่ได้รับจากสัญญาณวิทยุ ซึ่งเชื่อมกับสัญญาณปลอกคอ พบรอยตีนเสือโคร่งอยู่ในบริเวณไร่ยูคาลิปตัส บริเวณบ้านปางมะนาว อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร และยังไม่พบตัวเสือโคร่ง หลังจากนั้นพบสัญญาณของ “วิจิตร” เดินข้ามเขาน้ำอุ่น มาด้านหน้าเขาใกล้กับโครงการบ้านเล็ก ในป่าใหญ่จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งใกล้กับแหล่งชุมชนมาก

30 พฤศจิกายน 2564 ยังไม่พบตัวเสือแต่อย่างใด สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 จึงได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการติดตามเสือโคร่ง “วิจิตร” ให้ปฏิบัติงานเป็นไปตามหลักวิชาการและใช้เครื่องมือเทคโนโลยีให้เต็มประสิทธิภาพ เพื่อที่จะได้ทราบว่าเสือโคร่ง “วิจิตร” อยู่ตำแหน่งใด เพื่อจะได้นำคืนป่าอนุรักษ์ต่อไป รวมทั้งได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ทำการประชาสัมพันธ์ให้กับราษฎรในพื้นที่ได้ทราบ และระมัดระวังดูแลสัตว์เลี้ยงของตนเองด้วย

จากข้อมูลของเพจเฟซบุ๊ก Thailand Tiger Project DNP ได้กล่าวถึงสาเหตุว่า “ทำไมเสือวิจิตรถึงเดินออกนอกเขตและจะปลอดภัยหรือไม่” 
ตามข้อมูลระบุว่า เสือวิจิตร เป็นเสือโคร่งที่มีอายุเกือบ 4 ปี เป็นเสือกำลังตั้งตัวที่ต้องมีการเดินแสวงหาพื้นที่เพื่ออยู่อาศัยเพื่อให้ได้บ้าน จากนั้นตามการใช้ชีวิตขั้นต่อไป คือ จับคู่หรือหาตัวเมีย

เสือโคร่งวัยนี้ตัวอื่นๆ มันก็ต้องเดินทางไกลแบบวิจิตรเช่นกัน แต่ วิจิตร นั้น แอดว่ามันคง มีความพิเศษที่แตกต่างจากวัยรุ่นตัวอื่นๆ คือ บ้านเดิมหรือบ้านแม่นั้นมีขอบเขตติดต่อกับชุมชน 

จากการติดตามของนักวิจัย พบว่า หลายๆครั้ง วิจิตร นอนกินเหยื่อไป ฟังเสียงรถไถทำงานไป บางทีก็อาจได้ยินเสียงงานวัด งานบุญ ทำให้คุ้นชินกับสภาพแวดล้อมของนุษย์  

เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว "เสือวิจิตร" จะปลอดภัยหรือไม่

ข้อมูลระุบว่า เมื่อสัญญาณดาวเทียมที่เสือวิจิตรพกติดตัวไว้แสดงให้เห็นว่า มันเริ่มไกลจากป่าอนุรักษ์ เจ้าหน้าที่ของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช  ได้มีการร่วมมือกันของหน่วยงานที่ตั้งอยู่ในบริเวณดังกล่าวออกติดตามการเคลื่อนที่ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งเสือ และชุมชน 

โดยคาดหวังว่า เมื่อเมื่อวิจิตรเที่ยวชมนาไร่ ไปวัดไปวา จนหนำใจและรู้ว่า จะยึดเป็นพื้นที่อาศัยหากินไม่ได้ มันคงดิ่งกลับเข้าพื้นที่อนุรักษ์เอง ขออย่างเดียว มนุษย์ อย่างเพิ่งด่วนตัดสินชะตาชีวิตมัน!

เพจ Thailand Tiger Project DNP กล่าวส่งท้ายด้วยว่า ที่แอด อยากเล่า ไม่มีใครถามมาหรอก ที่ผ่านมา แม่เอื้องซึ่งเป็นแม่ของวิจิตร นั้นเคยผลิตลูกมาก่อนหน้านี้และเป็นตัวผู้เช่นวิจิตร แต่ยุคโน้น ไม่ได้ให้มันพกGPS ติดตามตัวเลยไม่รู้ว่า มันหายไปไหน จนทุกวันนี้ ก็ยังไม่โผล่เลย 

และเมื่อกล่าวถึง "สถาการณ์เสือสถานะและความหวังของ “เสือโคร่ง” ในป่าอนุรักษ์ของประเทศไทย ข้อมูลจาก มูลนิธิสืบนาคะเสถียร กล่าวในบทความ สถานะและความหวังของ “เสือโคร่ง” ในป่าอนุรักษ์ของประเทศไทย ในตอนหนึ่งระบุว่า ป่าตะวันตก เป็นป่าอนุรักษ์ที่มีความต่อเนื่องขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ พื้นที่รวม 11.7 ล้านไร่ หรือ 18,727 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 6 แห่ง และอุทยานแห่งชาติ 11 แห่ง คลอบคลุมพื้นที่ 6 จังหวัด คือ ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี

จากการสำรวจวิจัยเสือโคร่งในประเทศไทยด้วยกล้องดักถ่ายตั้งแต่ปี 2553 – 2563 พบเสือโคร่งในป่าธรรมชาติ 130 – 160 ตัว หากประเมินเฉพาะในพื้นที่กลุ่มป่าตะวันตกในระยะเวลา 10 ปี พบว่าประชากรเสือโคร่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 42 ตัว เป็น 79 ตัว ถือว่าเป็นแหล่งสำคัญของโลกที่มีการอนุรักษ์ถิ่นที่อยู่ในธรรมชาติจนประชากรเสือเพิ่มขึ้น

ซึ่งในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาการกระจายตัวของเสือโคร่งจากฐานข้อมูลวิทยาศาสตร์ที่เก็บลักษณะลวดลายของเสือโคร่งแต่ละตัว พบว่าเสือโคร่งมีการกระจายตัวออกไปทั่วพื้นที่ป่าตะวันตก จากห้วยขาแข้งไปยังพื้นที่ป่าใกล้เคียง เช่นอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ และอุทยานแห่งชาติคลองลาน ต่อเนื่องถึงอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้าทางตอนเหนือ และขยายการกระจายตัวลงมาถึงเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระทางตอนใต้

นอกจากนี้ ยังพบเสือโคร่งจากห้วยขาแข้งออกไปหากินนอกป่าเลยจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางออกไปถึงประเทศเมียนมา เช่นเดียวกับที่ออกไปจากป่าคลองลานจนมีผู้พบในไร่มันอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง

ในเชิงวิชาการนี่คือหลักฐานการกระจายตัวของเสือโคร่งจากการออกหาแหล่งที่อยู่ใหม่เมื่อมีประชากรเพิ่มขึ้นนั่นเอง

หากประเทศไทยสามารถรักษาประชากรเสือโคร่ง และเพิ่มจำนวนได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ก็จะนับได้ว่าประเทศไทยได้ดูแล และฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าในพื้นที่ที่ไม่เคยพบเสือมานานให้กลับมามีเสือโคร่งเป็นดัชนีวัดความอุดมสมบูรณ์ได้

อุตุฯ เผย กทม.มีอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิลดลง 1-2 องศาฯ

สามีภรรยาหอบเงินเหรียญซื้อทองคำ 4 บาท

ขอบคุณข้อมูลจาก :  ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช   / Thailand Tiger Project DNP / มูลนิธิสืบนาคะเสถียร 

TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ