เด็กยุคโควิด-19 "เผชิญสภาวะหมดไฟ"


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เด็กยุคโควิด-19 "เผชิญสภาวะหมดไฟ"

ศธ. หวั่น โควิด-19 ระบาด สั่งเลื่อนจัดกิจกรรมวันเด็ก 2565

อัปเดต 10 จังหวัด ติดโควิดสูงสุดวันนี้ ชลบุรี พุ่งอันดับหนึ่ง 499 ราย จับตา อุบลฯ ภูเก็ต จ่อทาบ

ปัญหาคุณภาพการศึกษา ความเหลื่อมล้ำ และความยากลำบากของครูผู้สอน รวมถึงผู้ปกครอง และสถานศึกษา ที่ปรากฎบนหน้าข่าวให้เราเห็นตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา คือ ปัญหาการศึกษาเดิมที่ถูกซ้ำเติมจากโควิด จนเป็นกลายเป็นวิกฤตที่เราเห็นภาพชัดขึ้น  และแม้สถานการณ์หลาย ๆ อย่างจะเริ่มดีขึ้น เด็ก ๆ เข้าถึงวัคซีนได้มากขึ้น แต่สุขภาพใจ ที่เกิดจากการเรียนออนไลน์ ก็ก่อร่างสร้างปัญหา ให้คนในวงการศึกษาอดเป็นห่วงไม่ได้

มนัส อ่อนสังข์ บรรณาธิการข่าวการศึกษาเว็บไซต์ Dek-D.com  หรือ พี่ลาเต้ ที่คลุกคลีกับเด็กและระบบการศึกษาที่เปลี่ยนผ่านมานานกว่า 10 ปี ยอมรับเด็กยุคโควิด น่าเป็นห่วงที่สุด โดยเฉพาะเด็กม.ปลายที่ต้องเผชิญภาวะหมดไฟ ตั้งแต่ช่วงแรกของการก้าวเดินเป็นอนาคตของชาติ

น้องหลายคนแบบว่า พี่ทำไมหนูเป็นคนขยันนะ แต่ทำไมปีนี้รู้สึกว่ามันห่อเหี่ยวอะไรแบบนี้ มันเลยทำให้น้องๆ หลายคน เขาเรียกอะไร หมดไฟในการทำอะไรหลายๆ อย่างๆ ให้กับตัวเอง แม้กระทั่งตัวเองมีความฝัน ว่าเราต้องเข้าคณะนี้ แล้วทำไมมันดูเหมือนไม่มีอะไรมากระตุ้นให้มันสำเร็จสักที เรื่องการเรียนออนไลน์ก็ตาม อย่าลืมว่าเด็กสอบเข้ามหาวิทยาลัย หรือเรียนในชั้นเรียนก็ลุ้นแทบตายแล้ว นอกจากทำเกรดให้ดี เราก็ต้องไปฝึกซ้อมเรื่องของการสอบเข้ามหาวิทยาลัย  

เด็กเข้ามหาลัยรอบ Portfolio กิจกรรมแทบจะไม่มีเลย เพราะว่ากิจกรรมไม่สามารถรวมตัวกันได้ ดังนั้นในหลาย ๆ มุม มันก็ส่งผลให้น้อง ๆ สอบเข้ามหาลัยปีนี้ มันไม่ได้ง่าย มันไม่ใช่แค่ดูว่าข้อสอบปีนี้ยากขึ้นหรือง่ายลง แต่แค่ชีวิตน้องมันไม่ได้ง่ายสำหรับการเข้ามหาวิทยาลัยในปีนี้ มนัส กล่าว

การสอบเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งเดิมทีมีการแข่งขันที่สูงอยู่แล้ว ยังไม่นับรวมภาวะกดดัน ที่เพิ่มขึ้นจากความรู้สึกว่าการเรียนออนไลน์ได้ความรู้ไม่เต็มที่เหมือนการเรียนในห้องเรียน หรือแม้แต่ตัวระบบ TCASปี 65 ที่ยกเลิกรอบ Admission 2 และเปลี่ยนทีมผู้ออกข้อสอบ ยิ่งกลายเป็นแรงผลัก ให้เด็ก ม.6 หลายคนต้องพยายามหาความรู้ด้วยตัวเองให้มากขึ้น เพราะหลายๆ ปัญหา ทำให้ยากที่จะกล้าฟันธงว่าพวกเขาจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้หรือไม่ เช่น เด็ก ม.6 โรงเรียนบดินทรเดชากลุ่มนี้ ที่มองว่าพวกเขายังโชคดี ที่ผ่านภาวะหมดไฟมาได้ เพราะมองว่าความฝันที่ถวิลหา จะกลายเป็นตั๋วเบิกทางให้พวกเขา ได้มีโอกาสเลือกอนาคตที่ดีให้ตัวเองได้ พร้อมมองว่าภาครัฐควรเข้ามาแก้ปัญหาการศึกษาที่พันผูกกับอนาคตของชาติให้ตรงจุด

ผมมองว่า มันคือสิ่งที่รัฐต้องทำแน่นอนครับ เพราะว่าในอีก 20-30 ปี จะเป็นเด็กกลุ่มนี้หละครับ ที่จะต้องมาพัฒนาประเทศชาติ ต้องอยู่กับประเทศไปอีกตลอด ถ้าเรายังไม่เริ่มในตอนนี้ ก็จะล้าหลังลงไปเรื่อย เลยนะครับ นักเรียนชั้น ม.6 รายหนึ่งกล่าว

คำกล่าวที่ว่า “เด็กคือนาคตของชาติ" นั้นหมายถึงผลลัพธ์ของระบบการศึกษาและปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ที่จะหล่อหลอมให้เด็กๆ เหล่านี้ เติบโตมาเป็นอนาคตแบบไหน แต่หากปัญหาที่เกิดขึ้นในตอนนี้ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างตรงจุด คงตอบยากว่าเราจะมีอนาคตที่ดีได้อย่างไร

 

พรนภัส ตะปะสา รายงาน 

 

TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ