ผู้ว่าฯ กทม. ฮึ่ม! เล็งขยาย "จับ-ปรับ" เช็กบิลผู้ฝ่าฝืน จอดทับเส้นทางม้าลาย เพิ่มอีกหลายแยก


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ผู้ว่าฯ กทม. "พล.ต.อ. อัศวิน" เล็งขยายมาตรการใช้เทคโนโลยี AI "จับ-ปรับ" ผู้ฝ่าฝืนจราจร จอดทับเส้น "ทางม้าลาย" จ่อเพิ่มกล้องอีกหลายแยก ส่งใบสั่งตรงถึงบ้าน หลังเปลี่ยนพฤติกรรมคนยาก

เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2565 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. โพสต์ข้อความลงเพจเฟซบุ๊ก ต้องขยายการ "จับ-ปรับ" ถึงเปลี่ยนจิตสำนึกการใช้รถใช้ถนนให้ได้ จากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ชนคนเดินข้ามถนน บริเวณหน้าสถาบันไตรภูมิราชนครินทร์ ถนนพญาไท เป็นการสูญเสียที่ประเมินค่าไม่ได้ และกระทบต่อความรู้สึกของพวกเราทุกคน ซึ่งไม่ควรเกิดขึ้นเลย เพราะตรงนั้นเป็นทางม้าลาย จุดที่หลายคนคิดว่าปลอดภัยสำหรับการข้ามถนน แต่กลับเป็นจุดที่เกิดอุบัติเหตุและยังมีอีกหลายทางม้าลายที่เกิดเหตุเช่นนี้

ปรับปรุงทางม้าลายจุดเกิดเหตุคดี “หมอกระต่าย”

มิติใหม่การข้ามถนน! อุดรธานีเนรมิตทางม้าลายเป็น “ชิบูย่าอุดร”

รพ.ธนบุรีฯ เปิดลงทะเบียนฉีดวัคซีนไฟเซอร์ เข็ม 3 เข็ม 4

เพิ่มค่าปรับ มอเตอร์ไซค์วิ่งบนทางเท้า

ในพื้นที่ กทม. ที่ในถนนมีทางม้าลายเพื่อให้คนข้ามถนนได้อย่างปลอดภัย แต่ก็ยังมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น ซึ่งที่ผ่านมา กทม. ได้แก้ไขปรับปรุงจุดที่มีความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุบนทางม้าลาย ด้วยการเพิ่มสัญลักษณ์เตือน เช่น ทาสีทางม้าลายให้เห็นเด่นขึ้น ตีเส้นชะลอความเร็วแบบสั่นสะเทือน หรือเส้นซิกแซกในช่องจราจรก่อนถึงทางม้าลายเพื่อให้คนขับรถเพิ่มความระมัดระวังขึ้น แต่ก็ยังมีคนขับรถบางส่วนที่เมินเฉยสัญลักษณ์เตือนของทางม้าลาย จงใจที่จะฝ่าฝืนกฎจราจร ความสูญเสียจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับคนเดินถนนแบบนี้ จะไม่เกิดขึ้นเลย ถ้าผู้ที่ฝ่าฝืน มีจิตสำนึกและตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้ใช้ถนนร่วมกัน

อย่างไรก็ดี การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ขับรถที่ยังฝ่าฝืนกฎจราจรอยู่ อาจแก้ไม่ได้ด้วยการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพียงอย่างเดียว ที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ บริเวณแยกอโศกที่มีปัญหาการฝ่าฝืนกฎจราจรเป็นจำนวนมาก ซึ่ง กทม. พยายามจะใช้เป็นต้นแบบของความปลอดภัย ทั้งคนข้ามถนน และผู้ใช้รถ โดยการปรับสภาพพื้นผิวทางเท้า ถนน และทางเชื่อมต่อให้สะดวกต่อคนข้ามถนนทุกกลุ่ม และปรับปรุงทางม้าลายให้ด้วยการทาสีแดงให้เด่นขึ้น ขยายช่องจอดของรถจักรยานยนต์เพื่อรอสัญญาณไฟแดง เพิ่มไฟส่องสว่าง ทำให้แยกอโศก เป็นแยกที่มีความพร้อมทางกายภาพที่จะสร้างความปลอดภัยเป็นอย่างมาก แต่ก็ยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ใช้รถใช้ถนนได้จริง มีผู้ฝ่าฝืนตั้งแต่เริ่มโครงการจับปรับด้วยเทคโนโลยี AI วันที่ 1 ม.ค. 2565 กว่า 25,000 ราย หรือ อาจเฉลี่ยวันละ 1,000 ราย ซึ่งแม้จะมีที่จอดติดไฟแดงเหลือว่างมากมาย แต่ก็ยังมีการจอดทับทางม้าลาย

ดังนั้น การแก้ปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน ก็คือ "การแก้จิตสำนึกของผู้ใช้รถใช้ถนน" โดยใช้เทคโนโลยีให้มากขึ้น และใช้กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจให้น้อยลง ก็คือ เมื่อมีคนจอดรถทับทางม้าลายจะไม่มีตำรวจเรียกรถเพื่อจับปรับ แต่จะใช้กล้องวงจรปิดเทคโนโลยี AI เป็นตัวช่วยจับรถยนต์ รถจักรยานยนต์ที่ยังจอดทับเส้น โดยกล้องจะสแกนแผ่นป้ายทะเบียนอัตโนมัติ มีหลักฐานภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ส่งไปที่สถานีตำรวจ ซึ่งเป็นผู้ที่มีอำนาจจับปรับตามกฎหมาย ออกใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์ส่งไปถึงหน้าบ้านเลย เป็นการใช้เทคโนโลยี AI มาช่วยบังคับใช้กฎหมายได้ 100%

"อาคเนย์ประกันภัย" เจอพิษโอมิครอน ประกาศ "เลิกประกอบธุรกิจ"

หนุ่มโหดบุกยิงสารวัตรกำนันพร้อมเพื่อนดับ

วิธีการนี้จะทำให้ผู้ที่ชอบฝ่าฝืนเกิดความเกรงกลัว และหากเกิดขึ้นหลาย ๆ แยกของ กทม. จะทำให้สามารถปรับพฤติกรรมหมู่ใน กทม. หากใช้ได้ผล กทม. ก็จะผลักดันให้ถูกนำไปใช้แก้ไขปัญหาในทุกแยกและทุกทางม้าลายทั่วกรุงเทพมหานครอีกต่อไป ในวันศุกร์นี้ (28 ม.ค. 65) กทม. จะนำเสนอโมเดลนี้ให้กับทางตำรวจให้นำมาใช้เพิ่มเติมอีก 10-20 แยก และอีกหลาย ๆ ทางข้าม รวมทั้งเตรียมขยายต่อให้เกิดขึ้นอีกหลาย ๆ แยกใน กทม. ในอนาคต เพื่อที่จะทำให้เกิดการ "จับ-ปรับ" และเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ที่ฝ่าฝืนวินัยการจราจรให้ได้ครับ

TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ