จี้มส.-พส. ปลดเกียร์ว่าง สางปัญหาพระนอกรีต


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กรณีการบุกตรวจสอบวัดของหมอปลา แม้จะให้เหตุผลว่าเพื่อการปกป้องศาสนา แต่อีกส่วนหนึ่งกำลังตั้งคำถามว่าเป็นการทำลายพระพุทธศาสนาหรือไม่ ล่าสุดทีมข่าวพูดคุยกับนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา ให้ความเห็นว่า หากพบพฤติกรรมไม่เหมาะสม และไม่ทำอะไรเลย ก็ถือเป็นการทำลายศาสนา พร้อมตั้งคำถามไปยังมหาเถระสมาคม และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ว่าจะเลิกใส่เกียร์ว่างได้หรือยัง

รศ.ดนัย ปรีชาเพิ่มประสิทธิ์ นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นกรณีหมอปลา บุกตรวจสอบวัด สะท้อนให้เห็นประสิทธิภาพของหน่วยงานที่เป็นผู้กำกับดูแลวัดโดยตรงอย่าง มหาเถรสมาคม หรือ มส. และสำนักพระพุทธศาสนา หรือ พศ. ว่าทำหน้าที่ตัวเองอย่างเหมาะสมแล้วหรือไม่ ถ้าเหมาะสม ทำไมหมอปลาจึงกลายเป็นเหมือนตัวแทนของชาวบ้าน ในการแก้ปัญหาเรื่องนี้

"หมอปลา"ขอขมาหลวงปู่แสง-ป้องนักข่าว

สมาคมสื่อฯ แถลงการณ์ยกปม"หลวงปู่แสง"เตือนสำนักข่าวระมัดระวังการนำเสนอ

ส่วนการบุกเข้าวัดไปตรวจสอบวัดที่หลายคนตั้งคำถามว่าเป็นการปกป้องหรือทำลายพระพุทธศาสนากันแน่ รศ.ดนัย ระบุว่า พูดลำบาก เพราะหากปล่อยให้เกิดพฤติกรรมเลวร้ายในวัด ก็ถือว่า เป็นการทำลายศาสนาเหมือนกัน แต่กลับกัน ก็มีกลุ่มพระที่มีความอ่อนไหว ก็มองว่า พฤติกรรมของหมอปลา ที่เข้าไปด้วยท่าทีดุดัน เหมือนไม่เคารพพระ ก็เป็นภาพสะท้อนที่ดูรุนแรงกับพระพุทธศาสนา เพราะพระส่วนใหญ่ก็รู้สึกว่า เวลาที่เกิดเรื่องไม่ดีเกี่ยวกับศาสนา จะต้องจัดการกันแบบเงียบๆ ดีกว่าการออกมาโพนทะนา

 อาจารย์ดนัย ยังให้ความเห็นส่วนตัวว่า ปรากฎการณ์ของหมอปลาก็ถือว่า มีส่วนที่ดี แต่วิธีการแบบนี้ไม่ยั่งยืน เพราะหมอปลาไม่ได้มีหน้าที่กำกับดูแลคณะสงฆ์ตามกฎหมาย แต่หน่วยที่กำกับดูแลเช่น มส.ก็ชอบใส่เกียร์ว่าง ส่วนพศ.ก็ชอบยุ่งเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง ทั้งๆที่อย่างในหลายกรณีเป็นผลกระทบต่อศรัทธาของประชาชน ก็ควรจะขยับให้เร็วกว่านี้

รศ.ดนัยยังบอกด้วยว่า จริงๆโครงสร้างการปกครองสงฆ์ก็สามารถจัดการกันเองได้อยู่แล้ว เพราะมีอำนาจตามพ.ร.บ. และพระธรรมวินัย แต่ถ้ายังใส่เกียร์ว่าง หรือ ดำเนินการล่าช้าก็จะเกิดเป็นกลุ่มแบบหมอปลา เข้ามาตรวจสอบอีก และถ้าการตรวจสอบขาดการพิจารณาอย่างรอบคอบ ก็จะเกิดผลเสียขึ้น

ส่วนพฤติกรรมของหมอปลานั้น มองว่าที่ผ่านมาก็ดูมีการจัดการ มีหลักฐานชัดเจน แต่ก็ต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบ และระวังว่าจะถูกมองเป็นศาลเตี้ย ทั้งที่บางครั้งความผิดวินัยของพระ อาจจะไม่ต้องถึงขั้นจับสึกก็ได้

TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ