“ชัชชาติ” ถอดบทเรียนไฟไหม้ ย้ำ กฟน.คุมเข้มหม้อแปลง-สายสื่อสาร


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กรุงเทพมหานคร จับมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยของหม้อแปลงไฟฟ้า หวังให้ประชาชนมั่นใจ และหารือการเยียวยาผู้เสียหาย

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า หลังจากนี้ กฟน.จะต้องสร้างความมั่นใจกับประชาชนว่าหม้อแปลงทุกแห่งอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ตามมาตรฐาน  นอกจากนี้ยังพบความเสี่ยงสำคัญคือ สายสื่อสาร ซึ่งตัวฉนวนหุ้มสายเป็นวัตถุที่สามารถติดไฟได้  จึงต้องจัดระเบียบให้มีระยะห่างที่เหมาะสมกับตัวหม้อแปลง และการติดตั้งสารสื่อสารทุกแห่งจะต้องขออนุญาตก่อนทุกครั้ง

เจ้าของร้านต้นเพลิงไฟไหม้ย่านสำเพ็งจ่อฟ้อง กฟน. เรียกค่าเสียหาย

ด่วน! ไฟไหม้ชุมชนบ่อนไก่ พระราม 4 เพลิงกำลังลุกลาม จนท. เร่งสกัด

อีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญคือเรื่องของสายสื่อสาร เนื่องจากว่าที่ผ่านมาสายสื่อสารมีฉนวนที่สามารถติดไฟได้  และเมื่อมีเหตุไฟไหม้ ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้ไฟลุกลามได้  ดังนั้นสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการคือการนำสายสื่อสารลงดิน  ซึ่งต้องผสานความร่วมมือกับทาง กฟน. ขณะเดียวกันต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่น และความปลอดภัยจากหม้อแปลงอีกด้วย  ว่าหม้อแปลงอยู่ในมาตรฐานหรือไม่

ด้านนายเดชา วิริยะเจริญกิจ ผู้ช่วยผู้ว่าการไฟฟ้านครหลวง ระบุว่า พร้อมเยียวผู้เสียหาย โดยขณะนี้ทาง กฟน. อยู่ระหว่างให้ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์สาเหตุอยู่ ทั้งนี้หม้อแปลงบริเวณที่เกิดเหตุ เป็นระบบเครือข่าย จากเดิมที่มีการบำรุงรักษาปีละ 1 ครั้ง จะปรับความถี่ขึ้นเป็น 6 เดือนต่อครั้ง โดยจะขอความร่วมมือจากประชาชน ให้ช่วยกันสังเกตความผิดปกติของหม้อแปลง หากพบมีเสียงดังเอี๊ยดๆ หรือ มีน้ำมันไหลออกมา ประชาชนสามารถแจ้งได้ที่คอลเซนเตอร์ 1130 ทันที 

อย่างไรก็ตามการแถลงข่าวครั้งนี้ ผู้สื่อข่าวได้พยายามสอบถามนายเดชา ผู้ช่วยผู้ว่าฯ กฟน. ถึงประเด็นปัจจัยภายนอกอะไรบ้างที่ทำให้หม้อแปลงไฟฟ้าเกิดปัญหา ปรากฎว่า นายเดชา ตอบคำถามลักษณะอึกๆ อักๆ จนเหงื่อแตก จนทำให้นายชัชชาติ  ต้องเข้ามาช่วยตอบคำถามนักข่าวแทน  พร้อมทั้งบอกว่าวันนี้  ผู้ช่วยผู้ว่าฯ กฟน.ได้มาหารือแค่เรื่อง “ทราฟฟี่ ฟองดูว์" หรือแอปฯ ที่ใช้ร้องเรียนปัญหาสำหรับชาวกรุงฯ ซึ่งอาจจะไม่มีข้อมูลในการตอบคำถามในประเด็นต่างๆ

ด้านดร.สุพรรณ ทิพย์ทิพากร หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ม.มหิดล ตั้งข้อสังเกตว่ากรณีที่มีควันระอุออกมาจากหม้อแปลงไฟนั้นแสดงว่าภายในเกิดความร้อนสูง เหมือนกระป๋องโค้กอยู่ในรถที่จอดตากแดดเป็นเวลายาวนาน กระป๋องจะเริ่มบวมและระเบิดออกมาในที่สุด ฉะนั้นเหตุการณ์นี้ถือเป็นบทเรียนของกฟน.จะตรวจปีละครั้งไม่พอ ต้องมีระบบเซ็นเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิแบบเรียลไทม์ เพื่อให้รู้ว่าการใช้ไฟแต่ละช่วงโหลดแค่ไหน เหมือนการเตือนสึนามิ ถ้าคลื่นสูงขนาดนี้ต้องอพยพคน หม้อแปลงก็เช่นกัน ถ้าจุดไหนอุณหภูมิสูงให้ส่งสัญญาณเตือนไปยังวอร์รูมกฟน.และในมือถือประชาชน เพื่อเตรียมอพยพ 

TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

ขณะนี้ มีรายการกำลังถ่ายทอดสด คุณสนใจหรือไม่?

POP NEWS

POP NEWS

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ