สธ.เชิญผู้ว่าฯ กทม.หารือรับมือ "โควิด" 18 ก.ค.นี้ ลดกิจกรรมเสี่ยง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




สธ.เชิญผู้ว่าฯ กทม.หารือรับมือ “โควิด” 18ก.ค.นี้ วางแนวทางลดกิจกรรมเสี่ยงและเตรียมพร้อมการรักษา

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เตรียมเชิญผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ร่วมประชุมหารือเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 บ่ายวันจันทร์นี้ (18 ก.ค.65) หลังพบการติดเชื้อมากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ กทม. มีผู้ป่วย เข้ารักษามากกว่า 1 พันรายต่อวัน โดยเน้นการลดกิจกรรมที่ทำให้เกิดความเสี่ยงการแพร่หรือรับเชื้อ และเตรียมความพร้อมโรงพยาบาลในสังกัดรองรับการรักษา โดยกระทรวงสาธารณสุขจะให้การสนับสนุน กทม.อย่างเต็มที่

นิด้าโพล เผยผลสำรวจ ประชาชนเข้าใจประเด็นหาร 100 หรือหาร 500 หรือไม่

ญี่ปุ่นหวั่นโลกร้อน กระทบวัตถุดิบสำคัญ ปลาโอ-วาซาบิ อนาคตอาจหายไป

 

 

วันนี้ (17 กรกฎาคม 2565) นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์โรคโควิด 19 มีแนวโน้มพบการติดเชื้อเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ กทม. ปริมณฑล และจังหวัดท่องเที่ยว ทำให้มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น ซึ่ง กทม.ถือเป็นพื้นที่เปราะบางและมีความเสี่ยงในการแพร่ระบาดมากกว่าพื้นที่อื่น  เนื่องจากเป็นเมืองขนาดใหญ่ มีประชากร มีการเดินทาง และมีกิจกรรมต่าง ๆ จำนวนมาก

ดังนั้น จึงเชิญผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด 19 (ศปค.สธ.) ในวันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม 2565 นี้ เพื่อหารือการเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์การระบาดที่จะเกิดขึ้น โดยกระทรวงสาธารณสุขจะขอความร่วมมือในการดำเนินการ 2 ส่วน คือ การลด ละ เลิก กิจกรรมที่ทำให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อและแพร่เชื้อ ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในฐานะประธานคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร สามารถออกมาตรการต่าง ๆ ภายในพื้นที่ให้มีความเหมาะสมได้

นพ.เกียรติภูมิ กล่าวต่อว่า อีกส่วนคือการเตรียมความพร้อมด้านการรักษาพยาบาล โดยปัจจุบันมีผู้ป่วยโควิด-19 เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลประมาณ 2 พันรายต่อวัน และกว่าครึ่งอยู่ในพื้นที่ กทม. คือประมาณ 1 พันกว่าราย ส่วนเตียงผู้ป่วยโควิดอาการสีเหลืองและสีแดง หรือเตียงระดับ 2-3 ภาพรวมทั้งประเทศมีการใช้ประมาณ 13% 

แต่ กทม. มีอัตราครองเตียงกว่า 42% ส่วนหนึ่งเกิดจากการคืนเตียงโควิดกลับไปใช้รักษาผู้ป่วยโรคอื่น ๆ ทำให้ต้องเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการเตียงให้เพียงพอ ซึ่งโรงพยาบาลในพื้นที่ กทม. มีหลากหลายสังกัด ทั้งของกทม. กรมการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ ทหาร ตำรวจ รวมถึงโรงพยาบาลเอกชน จึงต้องประสานความร่วมมือเพื่อช่วยกันรองรับสถานการณ์ โดยมี กทม.เป็นหน่วยงานหลักในการเตรียมความพร้อม และกระทรวงสาธารณสุขให้การสนับสนุนในทุกด้านอย่างเต็มที่ สำหรับประชาชนยังคงต้องเข้มมาตรการป้องกันตนเอง เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ และมารับวัคซีนให้ครบ 3 เข็ม รวมถึงรับเข็มกระตุ้นทุก 4 เดือน จะช่วยป้องกันอาการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตได้

2 ความเสี่ยงฉุดเศรษฐกิจจีน ลุ้นครึ่งปีหลังฟื้น?

อย.คุมเข้ม! ฉลากสินค้าผสม กัญชา-กัญชง ชี้ต้องมีข้อความเตือน อายุต่ำกว่า 20ปี ห้ามจำหน่าย

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ