“ILO” ประชุมหาแนวทางแก้ปัญหาเยาวชนว่างงานเพิ่มขึ้นจากวิกฤตโควิด


โดย PPTV Online

เผยแพร่




“ILO”จัดงานประชุมหาแนวทางแก้ปัญหาการจ้างงานของกลุ่มเยาวชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด หลังพบกลุ่มนี้มีแนวโน้มว่างงานเพิ่มขึ้นถึง 1.48 ล้านคน

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization) หรือ ไอแอลโอจัดงานประชุมเรื่อง “การจ้างงานเยาวชนในประเทศไทย : แนวโน้มตลาดแรงงาน ผลกระทบจากวิกฤตการณ์โควิด-19 นโยบายแรงงาน และการสนับสนุนเยาวชนเพื่อการฟื้นฟูที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางในประเทศไทย” (Youth employment in Thailand: Labour market trends, COVID-19 impact, policy considerations and targeted support towards youth for a human-centred recovery in Thailand)” ณ โรงแรม ดิ แอทธินี โอเทล

ILO เผยแนวทางใหม่ ยกระดับชีวิตแรงงานในอุตสาหกรรมอาหารทะเลไทย

อัปเดต! จำนวนผู้ประกันตน ม.33,39,40 เดือน ก.ค. 65 รวม 24.06 ล้าน

 

โดยงานดังกล่าว เป็นโอกาสสำหรับไอแอลโอในการเปิดตัวรายงานแนวโน้ม ลักษณะ และผลกระทบจากวิกฤตการณ์โควิด-19 ต่อเยาวชนที่ไม่ได้อยู่ในการจ้างงาน การศึกษา หรือการฝึกอบรม (NEET) ในประเทศไทยรวมทั้งเป็นโอกาสที่หน่วยงานภาครัฐ ตัวแทนภาคเอกชน ตัวแทนองค์การนายจ้าง และลูกจ้าง และเยาวชนจะได้พบปะแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการจ้างงานเยาวชนรวมถึงการพิจารณานโยบาย และโอกาสในการให้การสนับสนุนเยาวชนในการทำงานที่มีคุณค่า

นางสาวจิตติมา ศรีสุขนาม เจ้าหน้าที่บริหารโครงการอาวุโสประจำประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวของไอแอลโอ กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้เป็นการหารือกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาเยาวชนว่างงาน เพื่อนำเสนอแนวคิดด้านการส่งเสริมการจ้างงานในเยาวชน โดยจะนำข้อมูลที่ได้ไปเป็นแนวทางวางนโยบายในการส่งเสริมการจ้างงานเยาวชน โดยเฉพาะเยาวชนกลุ่ม NEET ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากในประเทศไทยให้มีโอกาสเข้าสู่ตลาดแรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ 

จากรายงานพบว่าเยาวชนกลุ่ม NEET (อายุระหว่าง 15 ถึง 24 ปี) มีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 1.27 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2554 เป็น 1.48 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2563 นอกจากนั้นเยาวชนชายมีสัดส่วนของผู้ที่ว่างงานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.6 ในปี พ.ศ. 2561/2562 เป็นร้อยละ 2.6 ในปี พ.ศ. 2563 ส่วนเยาวชนหญิง ในปี พ.ศ. 2561/2562 และในปี พ.ศ. 2563 มีสัดส่วนของผู้ที่ว่างงานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.7 เป็นร้อยละ 2.5

 

นางบุปผา พันธุ์เพ็ง รองปลัดกระทรวงแรงงาน ได้กล่าวเปิดงานพร้อมพูดถึงผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ที่มีต่อแรงงานเยาวชน ซึ่งรองปลัดกระทรวงแรงงานได้เน้นย้ำว่าปัญหาการว่างงานของแรงงานเยาวชนเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันแก้ไข ผ่านการส่งเสริมการจ้างงานเยาวชน การปรับระบบแนะแนวด้านอาชีพในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งพัฒนาทักษะเยาวชนให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน

ด้าน นายพลากร หวั่งหลี กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) ได้กล่าวว่าสถานการณ์โควิด- 19 ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานของเยาวชนมากกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ โดยหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคมตลอดจนเยาวชนเองจะต้องร่วมกันบรรเทาและฟื้นฟูสถานการณ์ เพื่อให้เยาวชนไทยเรามีโอกาสเติบโตและเข้าสู่ตลาดแรงงานอย่างมั่นคงมากขึ้น

นอกจากนั้นทางมูลนิธิสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดมีโครงการ Futuremakers by Standard Chartered initiative ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาและสร้างโอกาสให้เยาวชนโดยเฉพาะเยาวชนที่รายได้น้อยได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาโอกาสในการทำงาน และมีความพร้อมในการเป็นผู้ประกอบการ

ซึ่งทางมูลนิธิสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดเข้ามาเป็นพันธมิตรกับไอแอลโอผ่านการสนับสนุนโครงการเยาวชนคนสร้างอนาคต-การส่งเสริมความสามารถในการมีงานทำของเยาวชนในประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Futuremakers by Standard Chartered initiative

การเตรียมความพร้อมให้เยาวชนหญิงและเยาวชนชายมีทักษะที่เป็นที่ต้องการในตลาดแรงงาน เป็นสิ่งสำคัญสำหรับอนาคตของเศรษฐกิจ ตลอดจนการพัฒนาประเทศและสังคมโดยรวม การประชุมในครั้งนี้ จึงเป็นโอกาสอันดีที่ผู้แทนไตรภาคีจะได้ร่วมรับฟังผลการศึกษาเรื่องแนวโน้ม ลักษณะ และผลกระทบจากวิกฤตการณ์โควิด – 19 ต่อเยาวชนกลุ่ม NEET และร่วมกันหาแนวทางเพื่อการสนับสนุนและพัฒนาทักษะของเยาวชนกลุ่มนี้ รวมถึงส่งเสริมให้เกิดการกำหนดนโยบายและการกระตุ้นการพัฒนาโครงการใหม่ๆ ที่จะสนับสนุนให้เยาวชนกลุ่ม NEET กลับเข้าสู่ตลาดแรงงานโดยได้รับการจ้างงานที่มีประสิทธิผล และเป็นงานที่มีคุณค่าต่อไป

คนละครึ่งเฟส 5 มาแล้ว! แจกคนละ 800 บาท เงินเข้าแอปฯเป๋าตัง ก.ย.นี้

ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565 หรือ บัตรคนจน ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม-กรอกรายละเอียด

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ