กสม.ออกถ้อยแถลง วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล 25 พ.ย.


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ถ้อยแถลงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เนื่องในโอกาสวันสากลแห่งการขจัดความรุนแรงต่อสตรีและเด็กหญิง 25 พฤศจิกายน 2565

เป็นเวลากว่าสามสิบปีแล้วที่วันสากลแห่งการขจัดความรุนแรงต่อสตรี ได้รับการสถาปนาขึ้นระหว่างการประชุมขององค์กรสตรีจากนานาประเทศที่ได้จัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร และต่อมาองค์กรสิทธิมนุษยชน และภาคประชาสังคมหลายหน่วยงานได้ร่วมรณรงค์เรื่องการขจัดความรุนแรงต่อสตรีกันมาอย่างต่อเนื่องในหลายประเทศ โดยในปี 2551 เลขาธิการสหประชาชาติ และองค์กรสตรีแห่งสหประชาชาติ (UN Women) ได้มีส่วนริเริ่มสนับสนุนภาคประชาสังคม  

ทุก 1 ชั่วโมง มีผู้หญิง-เด็กหญิง 5 คนถูกคนในครอบครัวทำร้ายจนตาย

วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล เชื่อมนุษย์ทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน

ในการดำเนินกิจกรรมรณรงค์ 16 วันเพื่อต่อต้านความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับเพศสภาพ จนถึงวันสิทธิมนุษยชนสากล (ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี) และสหประชาชาติได้มีมติที่ประชุมสมัชชาใหญ่ให้รับรองวันสากลยุติความรุนแรงต่อสตรีอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2556

ผลจากการรณรงค์อย่างต่อเนื่องทำให้ปัญหาความรุนแรงต่อสตรีและเด็กได้รับความสนใจมากขึ้นในหลายประเทศ เนื่องจากเป็นประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างมาก ถือเป็นความเร่งด่วนที่ภาครัฐและสังคมต้องให้ความใส่ใจ และตระหนักถึงผลสืบเนื่องดังกล่าว อีกทั้งต้องมีมาตรการเร่งด่วนในการป้องกันและจัดการกับปัญหาความรุนแรงต่อสตรีและเด็กอย่างเป็นรูปธรรม

 

คอนเทนต์แนะนำ
ผลฟุตบอลโลก 2022 วันศุกร์ที่ 25 พ.ย.65 กลุ่ม เอ,บี นัดที่ 2
จับตา 1 ธ.ค.นี้“ดาวอังคารใกล้โลกที่สุด”

 

สำหรับประเทศไทย แม้หน่วยงานภาครัฐและสังคมจะเริ่มมีความตื่นตัว และคณะรัฐมนตรีจะกำหนดให้เดือนพฤศจิกายนของทุกปีเป็นเดือนรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี แต่ดูเหมือนความรุนแรงต่อสตรีและเด็กยังคงปรากฏให้เห็นอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการล่วงละเมิดทางเพศ ความรุนแรงในครอบครัว ในโรงเรียนและสถานศึกษา ในสถานประกอบการ ฯลฯ หรือกรณีล่าสุดที่มีการกราดยิงเด็กอนุบาลที่จังหวัดหนองบัวลำภู ซึ่งรวมถึงสมาชิกในครอบครัวของมือปืนผู้ก่อเหตุ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งเหตุการณ์ความรุนแรงดังกล่าวและที่เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก สะท้อนให้เห็นถึงความรุนแรงทางโครงสร้างสังคมทั้งระดับครอบครัว ชุมชน และสังคมที่น่าเป็นห่วงยิ่ง

จิตสำนึกแห่งความรุนแรง และวัฒนธรรมการใช้ความรุนแรงในการจัดการกับปัญหาต่าง ๆ มีอิทธิพลต่อเด็ก เยาวชน และสังคม ส่งผลให้เกิดปัญหาตามมาอย่างไม่สิ้นสุด ทำให้สังคมตกอยู่ภายใต้ "วังวนแห่งความรุนแรง" ไม่ว่าจะเป็นการใช้ความแข็งแกร่งทางกายภาพ หรืออาวุธที่มีกลาดเกลื่อนเมือง

ดังนั้นจิตสำนึกแห่งสันติธรรม จิตสำนึกแห่งความยุติธรรม จิตสำนึกแห่งการรับผิดชอบต่อสังคม จิตสำนึกแห่งการเคารพสิทธิมนุษยชน และมนุษยธรรม จึงต้องได้รับการส่งเสริมอย่างเต็มที่เพื่อเอาชนะ "วัฒนธรรมแห่งความรุนแรง"

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ให้ความสำคัญกับการป้องกันแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก โดยได้กำหนดเป็นประเด็นยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนหลักหนึ่งในห้าประเด็นของ กสม. รวมทั้งสนับสนุนการรณรงค์ของสหประชาชาติ หน่วยงานรัฐ และภาคประชาสังคม ที่มุ่งหวังให้ภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคมได้มีส่วนในการป้องกันมิให้มีการใช้ความรุนแรงต่อสตรีและเด็กในทุกรูปแบบ โดยพร้อมยืนเคียงข้างและสนับสนุนสตรีทั่วโลกให้ยืนหยัดพิทักษ์สิทธิของตนเอง และร่วมผลักดันสังคมโลกที่ปราศจากความรุนแรงต่อสตรีและเด็กต่อไป

ถอดบทเรียนปี65 การลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง หุ้น-คริปโทฯ หลังยุคโควิด19

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ