เช็กเงื่อนไข-ขั้นตอนรับ “เงินสงเคราะห์บุตร” สำหรับผู้ประกันตน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เช็กเงื่อนไข-ขั้นตอนรับ “เงินสงเคราะห์บุตร” สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 แบบละเอียด

คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูก ไม่อยากให้พลาดสิทธิ์! ผู้ปกครองที่เป็นผู้ประกันตน สามารถขอรับเงิน “สงเคราะห์บุตร” ได้ เดือนละ 800 บาท คราวละไม่เกิน 3 คน จนครบอายุ 6 ปีบริบูรณ์ แต่จะสามารถรับเงินอุดหนุนบุตรได้ด้วยหรือไม่ เงื่อนไขการลงทะเบียนรับสิทธิ์เป็นอย่างไร

วันนี้ นิวมีเดีย พีพีทีวี ได้รวบรวมทุกคำตอบ มาไขข้อสงสัยให้กับทุกคนดังนี้

 

รู้จัก “เงินสงเคราะห์บุตร”

เงินสงเคราะห์บุตร เป็นสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน มาตรา 33 และ มาตรา 39 ที่จ่ายเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายใน 3 ปี

“เงินอุดหนุนบุตร” เช็กเงื่อนไขรับสิทธิ-ปฏิทินรับเงิน ที่นี่!

เปิดปฏิทิน “เงินสงเคราะห์บุตร 2566” เช็กเลยเข้าบัญชีวันไหนบ้าง

โดยจะได้รับเป็นเงินช่วยเหลือเด็กเดือนละ 800 บาท จากประกันสังคม และสามารถเบิกเงินสงเคราะห์บุตรได้คราวละไม่เกิน 3 คน

ส่วนเงินอุดหนุนบุตร เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ซึ่งเป็นเงินช่วยเหลือจำนวน 600 บาท/เดือน ที่ให้กับประชาชนทั่วไปที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไข

 

เงื่อนไขรับสิทธิ์ “เงินสงเคราะห์บุตร”

  • ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39
  • จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน
  • เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย (ยกเว้นบุตรบุญธรรม)
  • อายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน
  • ผู้ประกันตนพ่อหรือแม่ สามารถเลือกใช้สิทธิได้ 1 สิทธิ์

คอนเทนต์แนะนำ
ราคาทองวันนี้ ร่วง 100 บาท ตามตลาดต่างประเทศ-ค่าบาทแข็งหลุด 34
สภาพอากาศวันนี้! มรสุมเข้า เตือนใต้ฝั่งอ่าวไทยเสี่ยงเจอคลื่นสูงกว่า 4 เมตร

เอกสารที่ต้องใช้รับ “เงินสงเคราะห์บุตร”

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01)
  • กรณีผู้ประกันตนหญิงใช้สิทธิ : สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
  • กรณีผู้ประกันตนชายใช้สิทธิ : สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนหย่า พร้อมบันทึกแนบท้ายของผู้ประกันตน หรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
  • กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล ให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลด้วย
  • กรณีผู้ประกันตนต่างชาติ ใช้สำเนาบัตรประกันสังคม และสำเนาหนังสือเดือนทาง (passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราว หรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน ดังนี้

    • ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)
    • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)
    • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)
    • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
    • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน)
    • ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
    • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
    • ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
    • ธนาคารออมสิน
    • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) หรือสามารถลงทะเบียนรับเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ได้

ทั้งนี้เอกสารประกอบการยื่นคำขอฯ ให้รับรองความถูกต้องของสำเนาทุกฉบับ และแสดงเอกสารที่เป็นต้นฉบับ เมื่อเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ กรณีเอกสารหลักฐานสำคัญต่อการพิจารณาเป็นภาษาต่างประเทศ ให้จัดทำคำแปลเป็นภาษาไทยและรับรองความถูกต้องให้ครบถ้วน

 

สถานที่ยื่นรับลงทะเบียนรับ “เงินสงเคราะห์บุตร”

สำนักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา/ที่สะดวก เช็กสถานที่ใกล้บ้านท่าน (คลิก พื้นที่ กทม., ส่วนภูมิภาค)  หรือยื่นทางไปรษณีย์ลงทะเบียน สอบถามสายด่วน ประกันสังคม โทร. 1506 กด 1

 

กรณีหมดสิทธิรับ “เงินสงเคราะห์บุตร”

  • เมื่อบุตรมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์
  • บุตรเสียชีวิต
  • ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น
  • ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

 

ผู้ประกันตนรับเงินสงเคราะห์บุตร และเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ทั้ง 2 อย่างได้ไหม

ผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 ที่ส่งเงินสมทบครบ 12 เดือน ภายใน 36 เดือน และมีบุตรแรกเกิดจนถึงอายุ 6 ขวบ สามารถยื่นขอรับเงินสงเคราะห์บุตรได้เลย

นอกจากนี้ ยังมีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ถ้าผู้ประกันตนอยู่ในครอบครัวยากจน สมาชิกในครอบครัวมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 100,000 บาท/คน/ปี และมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด

เท่ากับว่าผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือทั้ง 2 ทาง ไม่ว่าจะเป็นเงินสงเคราะห์บุตร และเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด รวมจะได้รับเงินช่วยเหลือเดือนละ 1,400 บาท ต่อบุตร 1 คน

ประกันสังคม แนะเช็กสิทธิประโยชน์ฉบับใหม่เวอร์ชั่น 2566

10 เรื่องวิตามินที่ควรรู้ ฟื้นฟูร่างกายหลังใช้ร่างกายหนักตลอดปี

TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ