เพราะชีวิตมันไม่ได้ง่าย การต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้ดำเนินอยู่ได้ในทุกๆ วันจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะมีคนที่อยู่ข้างหลังต้องคอยดูแล หรือ วันที่ชีวิตต้องเจอกับปัญหาสุขภาพ เหมือนกับหญิงเก่ง 2 คน 2 เจนเนเรชันที่ พีพีทีวี ได้มีโอกาสพูดคุย
8 มีนาคม “วันสตรีสากล” รำลึกการเรียกร้องสิทธิ ความเท่าเทียมของผู้หญิง
เกณฑ์การขอรับการให้บริการผู้สูงอายุ 3,000 บาท ไม่เกิน 3 ครั้ง/คน/ปี
ปัจจุบันการใช้บริการเรียกรถส่วนตัว หรือ สั่งอาหารเดลิเวอรี่ เป็นที่นิยมมากและหากมองเจาะลงไปพบว่า ไม่เพียงแต่ผู้ชายเท่านั้น “ผู้หญิง” ก็นิยมหันมาประกอบอาชีพนี้
แต่ใครจะรู้ว่าเบื้องหลังชีวิตเหล่านั้นมีเรื่องราวชีวิตที่น่าสนใจ และเหตุผลที่ทำให้พวกเธอต้องมาเลือกอาชีพนี้
เรามาดูสถิติตรงนี้ก่อน ปัจจุบันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่าครึ่งคือ ผู้หญิง แต่มี้พียง 42% เท่านั้นที่อยู่ในภาคแรงงาน และแกร็บมีสัดส่วนพาทเนอร์ผู้ชาย 86% และผู้หญิง 14% ในปี 2020
แต่ประเทศไทยกลับพบว่ามีผู้หญิงจำนวนมากที่ใช้แพลตฟอร์มแกร็บเพื่อหารายได้ ทั้งเรียกรถผ่านแอปฯ และบริการจัดส่งอาหาร สินค้า โดยมีอัตราการเติบโตสูงขึ้นกว่า 45% ในปี 2024 เมื่อเทียบกับ ปี 2021
หนึ่งในนั้นคือ ปุ้ย สิริกร รุ่งเฉียดกลาง และเดียร์ อัยย์ญาดา มินเจริญ
ปุ้ย หญิงท่าทางทะมัดทะแมง แข็งแรง คล่องแคล่ว วัย 57 ปี บอกกับเราว่า เธอเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวของลูกชายและลูกสาว และมีคุณแม่สูงอายุต้องดูแล แรกเริ่มทำงานในบริษัทใหญ่ แถวสาทร จนกระทั่งในปี 2559 ภาระหนี้หลักล้าน และ ค่าใช้จ่ายที่ต้องส่งให้ลูกๆ เรียนให้จบ ทำให้ต้องมองหาอาชีพเสริมเพื่อเป็นรายได้อีกทางหนึ่ง จนกระทั่งมีคนแนะนำให้ลองมาขับบริการเรียกรถผ่านแอปฯ ในช่วงแรกขับแบบพาร์ทไทม์ และเห็นว่ารายได้ดีจนสามารถดูแลครอบครัวได้ และส่งลูกๆ เรียนจนจบ
ปุ้ยยอมรับว่า นอกจากได้เงินเยอะกว่าที่คิดไว้ถึงทำให้เธอสู้ เมื่อทำพาร์ทไทม์ได้สักพัก ก็ตัดสินใจลาออกจากงานประจำมาขับแบบฟลูไทม์
แต่ไม่ใช่ทุกคนที่ขับแล้วจะได้เงินเยอะแบบเธอ ถ้าไม่มีเป้าหมาย
ปุ้ยบอกว่า เราตั้งเป้าเอาไว้เลยว่าวันนี้ต้องได้ 3,000 บาทก็ต้องได้ เพราะว่าไม่ว่าจะทํางานออฟฟิศหรือว่าขับแกร็บ ทุกอย่างมีต้นทุน ต้องคิดคำนวณให้หมด จัดสรรเงินให้ลงตัวในฐานะหัวหน้าครอบครัว
โดยเฉพาะช่วงที่หนักที่สุดคือ ตอนส่งลูกเรียนมหาวิทยาลัย ซึ่งการขับแกร็บตอบโจทย์รายได้ที่เข้ามาทุกวันแต่งานประจำต้องนั่งรอเงินเดือนออก ซึ่งมันไม่ทัน ง่ายๆ คือ สภาพคล่องดีขึ้น
ถามว่าเสี่ยงไหม ปุ้ยตอบ “เสี่ยง” แต่เราต้องดูแลตัวเอง ป้องกันตัวเอง มีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นบ้าง แต่เธอก็ผ่านมาได้ทุกครั้งด้วยสติ และเลือกที่จะขับให้บริการตอนกลางวันแทน โดยเธอจะออกจากบ้านย่านสวนสัตว์ซาฟารีเวิลล์ ประมาณ 05.00 น.ของทุกวัน และตระเวนขับในเมืองจนถึงช่วงค่ำ โดยตั้งเป้ารอบเช้าและบ่ายเพื่อทำรอบให้ได้ตามที่ตั้งใจ
ถามว่าเหนื่อยไหม ปุ้ยบอกว่า “ก็เหมือนงานออฟฟิศ เสร็จแล้วก็กลับบ้าน” ต่อเดือนถ้านับจริงๆ ก็ประมาณ 500 เที่ยวหรือมากกว่า ทำให้บางครั้งได้รายได้เป็นหลักหมื่นก็เคย
ณ วันนี้จะเรียกว่าชีวิตของปุ้ยลงตัวแล้วก็ได้ ในฐานะผู้ให้บริการขับรถ จากรายได้ที่ต้องสู้เพื่อครอบครัว วันนี้กลายเป็นรางวัลชีวิตด้วย เพราะทำให้เธอดูแลแม่วัยชรา แมวอีก 8 ตัว และเที่ยวต่างประเทศได้อย่างสบายใจ
จากพี่ปุ้ย ถึง น้องเดียร์ สาววัย 23 ปี ทำงานส่งตัวเองเรียนตั้งแต่ ม.ปลาย และตอนนี้กำลังจะเรียนจบมหาวิทยาลัย เดียร์อาจเหมือนเด็กสาวทั่วๆไปที่อยากมีรายได้พิเศษเพื่อช่วยครอบครัว แต่ในยุคนี้ที่โลกขับเคลื่อนด้วยโซเชียลมีเดีย
ช่วงวัยนี้การเลือกอาชีพเสริมที่ได้เงินเร็ว ได้เงินไว มีมากมาย เช่น ไลฟ์สดขายของ แต่เธอเลือกขับเดลิเวอรีส่งอาหาร ที่ทั้งเสี่ยงและอันตราย
จุดเริ่มต้นคือ เธอมีโรคประจำตัวและต้องพบแพทย์เป็นประจำบางครั้งรบกวนเวลางานของเธอ เดียร์จึงมองหาอาชีพที่สามารถควบคุมเวลาและได้รายได้ไปพร้อมๆ กัน เพราะฉะนั้น ส่งอาหารเดลิเวอรีจึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ แล้วก็เป็นแบบนั้นจริงๆ
เดียร์บอกว่าหลายคนอาจมองว่ามันลำบาก อันตราย แต่เราคิดแค่ว่าเราก็แค่ขับไปรับอาหารแล้วก็ไปส่ง ในเมื่อมองในมุมที่ง่ายขึ้น เธอก็เลยทำมันได้แบบสบายๆ จนบางครั้งมีเงินเข้ากระเป๋าสูงสุดถึง 5,000 บาทใน 1 วัน จากทำงานเพื่อจัดสรรเวลากลายเป็นรายได้ที่นำมาทั้งรักษาตัวเองและค่าเทอม ที่สำคัญยังจุนเจือครอบครัวได้อีกทางหนึ่งเพราะทั้งพ่อและแม่ก็เริ่มมีอายุมากขึ้นและเธอก็ภูมิใจที่จะทำมันต่อไป
ทั้ง 2 คนคือคน 2 เจนเนอเรชัน ที่เลือกออกแบบชีวิตด้วยตัวเอง ซึ่งเริ่มต้นจากโจทย์ที่เป็นอุปสรรคในชีวิต แล้วกล้าที่จะลองหรือหาอาชีพที่สามารถพาชีวิตของตัวเองเดินต่อไปได้จนสุดทาง