เจาะกลุ่มประเภทของวัคซีน โควิด-19 ที่กำลังจะถูกนำมาใช้


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ที่โพสต์ข้อมูลให้ความรู้เรื่อง โควิด-19 อันเป็นประโยชน์ต่อพวกเรามาโดยตลอด และล่าสุด คือ ความรู้เรื่อง โควิด-19 วัคซีนในแต่ละกลุ่มว่ามีอะไรบ้าง

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ระบุว่า วัคซีนที่ใช้ในการป้องกันโรคโควิด-19  จัดกลุ่มได้หลายชนิด แต่ที่มีการขึ้นทะเบียนภาวะปกติและฉุกเฉินที่กล่าวไว้ครั้งที่แล้วมี 6 ตัว ผมเขียนวันที่ 29 ธันวาคม และโพสต์ตอน 5:00 น ของวันที่ 30 และก็เขียนไว้ว่า AstraZeneca รออังกฤษ และต่อมาขึ้นทะเบียนได้ในวันที่ 30 ธันวาคม เวลาอังกฤษช้ากว่าเรา

อัปเดต สถานการณ์โควิด-19 ล่าสุด 2 ม.ค. 2564

และขณะนี้มีวัคซีนกำลังรอขึ้นทะเบียน Pending ในภาวะฉุกเฉินอีกหลายตัว แบ่งกลุ่มวัคซีนได้เป็น

1. mRNA วัคซีน มีการศึกษากันมาก มีการศึกษาในมนุษย์ถึงระยะที่ 2-3 ถึง 3 ชนิด กลุ่มนี้มีความก้าวหน้าและขึ้นทะเบียนภาวะฉุกเฉินแล้ว 2 ชนิดได้แก่ ของ Pfizer, BioNTech และ Moderna ประสิทธิภาพในการป้องกันโรคถึงร้อยละ 95 วัคซีน Pfizer ได้ขึ้นทะเบียนแล้วมากกว่า 8 ประเทศได้แก่ ประเทศซาอุดิอาระเบีย สวิตเซอร์แลนด์ ประเทศในเครือ EU นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ กรีนแลนด์และเซอร์เบีย และขึ้นทะเบียนในภาวะฉุกเฉินอีก 18 ประเทศรวมทั้งสิงคโปร์ที่ใกล้กับบ้านเราด้วย วัคซีนของ Moderna ขึ้นทะเบียนภาวะฉุกเฉินในอเมริกาและแคนาดา

“นพ.ยง” ไขข้อสงสัย วัคซีนโควิด-19 ใครควรได้ก่อน?

2. ใช้ไวรัสเป็นตัวนำ ก็มีการศึกษากันมากเช่นเดียวกันและมีการศึกษาในมนุษย์ระยะท้ายในมนุษย์อยู่ 4 ชนิด และได้ขึ้นทะเบียนภาวะฉุกเฉิน 3 ชนิดได้แก่ Ad 5-nCov ของ CanSino ประเทศจีน, Sputnik V ของรัสเซีย และ AstraZeneca ประเทศอังกฤษประสิทธิภาพรวม 70% มีการแจกแจงแบบให้ครึ่งโดส แล้วตามด้วยเต็มโดส (90%) และมีการให้เต็มโดสและเต็มโดส (62%) การให้ครึ่งโดส จากความผิดพลาดของโรงงานโดยบังเอิญ และวัคซีนดังกล่าวเพิ่งขึ้นทะเบียนได้ล่าสุด 30 ธันวาคมที่ผ่านมา จากประเทศเจ้าของคืออังกฤษ หลังจากที่ผมได้โพสต์ก่อน,วัคซีนของจีนขึ้นทะเบียนฉุกเฉินในประเทศจีนเท่านั้น, AstraZeneca ขึ้นทะเบียนฉุกเฉินในอังกฤษและอาร์เจนตินา, วัคซีนของรัสเซียขึ้นทะเบียนฉุกเฉินในรัสเซีย เบลารุส และอาร์เจนตินา

3. วัคซีนเชื้อตาย มีการศึกษาในมนุษย์ระยะท้าย 5 ชนิด และได้ขึ้นทะเบียนภาวะฉุกเฉินแล้ว 2 ชนิด ได้แก่ วัคซีนของ Sinovac และ Sinopharm ประเทศจีน, วัคซีน Sinovac ขึ้นทะเบียนฉุกเฉินในประเทศจีน, ส่วนของ Sinopharm ขึ้นทะเบียนใช้ในภาวะปกติในจีนสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์  และบาห์เรน

หลักการของวัคซีนในสามกลุ่มนี้ คือ

อนามัยโลก รับรอง วัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์เป็น “กรณีฉุกเฉินแล้ว”

1.  mRNA และไวรัส Vector ใช้หลักการคล้ายกัน mRNA จะใช้ Lipid Nanoparticle ส่วนไวรัสเวกเตอร์จะใช้ตัวไวรัสเป็นตัวนำพา RNA เข้าสู่เซลล์มนุษย์ แล้ว RNA ที่เป็น Messenger RNA จะเข้าสู่โรงงานไรโบโซม สร้างโปรตีนส่งผ่านออกมานอกเซลล์ โปรตีนที่สร้างออกมาเปรียบเสมือนเป็นแอนติเจนตามรูปแบบที่กำหนด ให้ร่างกายกระตุ้นสร้างแอนติบอดีหรือภูมิต้านทานนั่นเอง วัคซีนในกลุ่มนี้จึงเป็นวัคซีนใหม่ด้วยเทคโนโลยีสูง mRNA วัคซีนจึงเป็นวัคซีนชนิดแรกที่ใช้ในคน ไวรัสเวกเตอร์มีการศึกษาทดลองวัคซีนอีโบล่ามาบ้างแล้ว

2. วัคซีนเชื้อตาย ใช้วิธีการดั้งเดิมอย่างวัคซีนในอดีตหลายชนิดเช่นไวรัสตับอักเสบเอ โปลิโอชนิดเชื้อตายที่พยายามหลีกเลี่ยงโปลิโอชนิดเชื้อเป็น เพราะมีความปลอดภัยกว่าโปลิโอชนิดเชื้อเป็นที่อาจทำให้เกิดโรคได้ นอกจากนี้ยังมีวัคซีนที่รอการขึ้นทะเบียนในภาวะฉุกเฉิน (Pending) เช่น วัคซีนของบริษัท Johnson&Johnson เป็นไวรัสเวคเตอร์ วัคซีน Novavax เป็นแบบ Recombinant Protein  และวัคซีน Covaxin ของอินเดียเป็นชนิดเชื้อตายซึ่งคงต้องรอ

การศึกษาที่บอกว่ายังไม่ครบถ้วน เป็นการศึกษาอย่างเร่งด่วนให้สำเร็จใน 1 ปี เพราะไม่ทราบผลการศึกษาระยะยาว ความคงทนของภูมิต้านทานและข้อมูลต่างๆจำต้องเป็นขึ้นทะเบียนแบบฉุกเฉินโดยเปรียบเทียบผลที่ได้จากการป้องกันโรคกับอันตรายที่เกิดขึ้นจากวัคซีน ผลที่ได้มากกว่าก็น่าจะเป็นประโยชน์ในภาวะฉุกเฉิน ดังนั้นในภาวะฉุกเฉิน บริษัทจึงมีเงื่อนไขไม่สามารถฟ้องร้องบริษัทได้ ซึ่งเหมือนกันหมดทุกบริษัท

ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อินโดนีเซีย ได้รับวัคซีนจากจีน Sinovac  3 ล้านโดสในเดือนธันวาคม และเมื่อผ่านการขึ้นทะเบียนภาวฉุกเฉิน คาดว่าจะเป็นต้นเดือนมกราคมก็จะมีการเริ่มใช้ หลังจากนั้นจีนก็จะส่งต่อให้บริษัทใหญ่ของอินโดนีเซียที่รู้จักกันดีคือ BioFarma ผลิตเพิ่มอีก 45 ล้านโดส และอินโดนีเซียวางแผนที่จะซื้อวัคซีนจาก AstraZeneca ในไตรมาสสองอีกและวางแผนจากบริษัทอื่นๆอีก 50 ล้านโดส

ฟิลิปปินส์ ติดต่อกับทุกบริษัท รวมทั้งบริษัท Pfizer และ Moderna ในระยะแรก 20 ล้านโดสและต่อมาจะพยายามติดต่ออีก 80 ล้านโดสจากบริษัทต่างๆรวมทั้ง AstraZeneca, Novavax และ Johnson&Johnson ในไตรมาสแรกจะใช้วัคซีนของจีนคือ Sinovac และ Sputnik V ของรัสเซีย ซึ่งขณะนี้เข้าใจว่ากำลังรอขึ้นทะเบียนในฟิลิปปินส์

มาเลเซีย ก็มีการติดต่อกับเกือบทุกบริษัทไม่ว่าจะเป็น Pfizer, Sinovac, CanSino หรือแม้กระทั่ง Moderna และ Johnson&Johnson คาดว่าในไตรมาสแรก มาเลเซียจะได้รับวัคซีนจาก Pfizer

สิงคโปร์ ได้เริ่มการให้วัคซีนจากบริษัท Pfizer แล้วตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม

ประเทศไทย เดิมมีการกล่าวว่าจะเริ่มแผนการให้วัคซีนกลางปีโดยใช้ของ AstraZeneca ขณะนี้ดีใจมากที่ท่านรองนายกออกมาพูดว่าจะให้ได้รับวัคซีนภายในเดือนกุมภาพันธ์ ก็จะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนไทยที่จะเลือกได้รับวัคซีนหรือไม่ โดยคำนึงถึงความเสี่ยงของแต่ละบุคคล

“ผมดีใจมากที่หลังจากการเผยแพร่วันก่อน มีการตอบสนองออกมามากมายทั้งภาครัฐและประชาชน เมื่อมองดูทั่วโลกแล้วจะมีการขึ้นทะเบียนภาวะฉุกเฉินต่อวัคซีนดังกล่าวมาแล้วจากประเทศต่างๆเป็นจำนวนมาก เพราะคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนต่อการเกิดโรคกับอาการแทรกซ้อนของวัคซีน แน่นอนวัคซีนแต่ละตัวมีการศึกษาวิจัยในระยะค่อนข้างสั้นและวัคซีนหลายตัวเป็นวัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อให้ได้การผลิตในปริมาณที่สูง”

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 30 ธ.ค.2563 ศ.นพ.ยง ได้กล่าวไปแล้วว่า ขณะนี้ทั่วโลกวัคซีนโควิดที่ได้ขึ้นทะเบียนให้ฉีดในภาวะฉุกเฉินมีแล้วถึง 6 ชนิด เป็นของจีน 3 ชนิด, รัสเซีย 1 ชนิด, อเมริกา 1 ชนิด และอเมริการ่วมกับเยอรมัน 1 ชนิด

2.วัคซีนเป็นเชื้อตาย 2 ชนิดของจีน ไวรัสเวกเตอร์ 2 ชนิดเป็นของจีนและรัสเซีย และ  mRNA  2 ชนิดเป็นของอเมริกา และอเมริการ่วมกับเยอรมนี

3 วัคซีน AstraZeneca ที่ไทยรอคอยอยู่ ยังไม่สิ้นสุดการทดลอง

4. มีร่วม 10 ประเทศได้เริ่มฉีดวัคซีนไปแล้วมากกว่า 5 ล้านโดส และภายในมกราคมจะมีการฉีดอีกหลายสิบเท่า ซึ่งคาดว่าจะเป็นร้อยล้านโดส

5. ประเทศต่างๆ ได้ขึ้นทะเบียนหรือทะเบียนในภาวะฉุกเฉินในวัคซีนบางตัว มากกว่า 30 ประเทศและรวม EU ทั้งหมด แสดงว่าจะมีการฉีดเป็นจำนวนมากในเดือนมกราคม

ทำไมประเทศไทยจึงช้าในเรื่องวัคซีนโควิด

1. เพราะเรามุ่งอยู่กับวัคซีนไวรัสเวกเตอร์ของ AstraZeneca อย่างเดียวหรือ? (ไม่ทราบ) ยังทดลองไม่เสร็จและยังไม่มีประเทศไหนขึ้นทะเบียน แม้กระทั่งในภาวะฉุกเฉิน (รออังกฤษ) ความจำเป็นที่ต้องใช้วัคซีนมีจำนวนมากกว่าที่ทำสัญญาไว้มาก

2. เราไม่ควรยึดติดอยู่กับวัคซีนบริษัทใดบริษัทหนึ่ง มีวัคซีนให้เลือกในขณะนี้หลายบริษัทแม้กระทั่งของจีน ยุโรป อเมริกา

3. ขบวนการติดต่อจัดซื้อไม่ควรอยู่ที่วัคซีนชนิดใดชนิดหนึ่ง เพราะมีความจำเป็นใช้ถึง 80 ล้านโดส ควรจะมีตัวเลือกและถือเป็นเรื่องเร่งด่วน

4. ภาคเอกชนควรมีส่วนช่วยภาครัฐ เชื่อว่าถ้าให้เอกชนนำเข้าจะแบ่งเบาภาครัฐได้มาก ถึงแม้ว่าวัคซีนที่จะต้องเก็บในอุณหภูมิต่ำก็ไม่เป็นปัญหา ในสิงคโปร์สามารถจัดการได้ ประเทศไทยก็ควรจะจัดการได้เพื่อจะได้แบ่งเบาวัคซีนของภาครัฐให้ได้เพียงพอกับประชาชนทั่วไปโดยเร็ว

5. กระบวนการขึ้นทะเบียนของไทยจะต้องมีขั้นตอนที่รวดเร็ว ดูแผนที่และข้อมูลจาก Wikipedia การวางแผนการให้วัคซีนของประเทศต่างๆทั่วโลกแล้ว แม้กระทั่งแผนการขึ้นทะเบียนการใช้อย่างฉุกเฉินรออยู่ก็ไม่มีประเทศไทย

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มี สิงคโปร์ มาเลเซีย และ ฟิลิปปินส์ ซึ่งนำหน้าไปแล้ว เราจะทำอย่างไรให้ประเทศไทยขยับตัวได้เร็วกว่านี้ ไม่รอถึงมิถุนายนอย่างที่เป็นข่าว การระบาดครั้งนี้หนักกว่าที่คิด ผู้รับวัคซีนควรมีสิทธิ์เลือกที่จะฉีดหรือไม่ฉีดและควรได้รับข้อมูลที่ถูกต้องทั้งหมด

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ