ไทยฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มแรก 14 ก.พ.นี้ ลงทะเบียนแอปฯ “หมอพร้อม” ติดตามผล


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า วัคซีนป้องกันโควิด19 เข็มแรกที่จะฉีด ในประเทศไทย จะถูกฉีดในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ หรือวันวาเลนไทน์ และวันนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขทุกคนที่เกี่ยวข้อง ก็มีการประชุมประชุมทางไกล ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ ร่วมกับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) ผู้อำนวยการโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน ทั่วประเทศ เพื่อชี้แจงการบริหารจัดการให้วัคซีน ล็อตแรก กับบุคลากรทางการแพทย์ ที่สำคัญ ผู้ที่ฉีดวัคซีน จะต้องโหลดแอพลิเคชั่น "หมอพร้อม" เพื่อติดตามอาการหลัง

'อนุทิน' อัปเดต สธ.จัดสรรลงตัว "วัคซีนโควิด" ช่วงแรกฉีด 19,014,154 คน แบ่ง 4 กลุ่มได้ฉีดก่อน

“อนุทิน” เผยข่าวดี เจรจาซื้อวัคซีนโควิด-19 เพิ่มได้รับล็อตพิเศษ 2 ล้านโดส ก.พ.-เม.ย. 64

วัคซีนจากบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า จะเข้ามาล็อตแรกในต้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ จำนวน 50,000 โดส  เมื่อมาถึงแล้วก็จะต้องผ่าน  กระบวนการตรวจสอบต่างๆ ให้เรียบร้อยภายในสัปดาห์แรก จากนั้นในสัปดาห์ที่ 2 ก็จะเป็นขั้นตอนของการกระจายวัคซีน ซึ่งคาดว่าประมาณ สัปดาห์ที่ 3 ถึงจะสามารถฉีดได้

ทั้งนี้การฉีดก็ต้องเป็นไปตามความสมัครใจ โดยให้บุคลากรการแพทย์ที่ทำงานเป็นด่านหน้าในพื้นที่เสี่ยงลงทะเบียนได้ที่ แอพพลิเคชั่น "หมอพร้อม".ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ก่อนที่จะเริ่มฉีดเข็มแรกในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ หรือวันวาเลนไทน์

 

นาย อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ขณะนี้การเตรียมการของทุกภาคส่วนมีความพร้อม  ซึ่งในเบื้องต้น คนใดที่ได้รับวัคซีนจะต้องติดตั้งแอปพลิเคชั่น “หมอพร้อม” เพื่อเฝ้าระวังติดตามอาการไม่พึงประสงค์ภายหลังการฉีดวัคซีน  ซึ่งในทางการแพทย์  เป็นเรื่องปกติที่จะเกิดผลข้างเคียงหลังได้รับวัคซีนบ้าง  แต่ขอให้ประชาชนไม่ต้องวิตกกังวลจนเกินไป เนื่องจาก กระทรวงสาธารณสุขจะมีคณะกรรมการฯ และเจ้าหน้าที่ ที่จัดตั้งขึ้นมาโดยเฉพาะในการดูแล

สำหรับแอปพลิเคชั่น “หมอพร้อม” หรือแอพพลิเคชั่น ที่ใช้ติดตามผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนนี้   ถือเป็นแอปพลิเคชั่นที่ 3 ต่อจาก “ไทยชนะ” ที่ออกแบบมาเพื่อให้สแกนเช็คอินก่อนเข้าพื้นที่ต่าง ๆ  “หมอชนะ” แอปพลิเคชั่น วัดความเสี่ยงการติดเชื้อโควิด  นอกจากนี้ยังมี โครงการ “เราชนะ” ซึ่งเป็นโครงการช่วยเหลือเยียวยาผลกระทบจากโควิด  ทั้ง 4 ชื่อนี้มีความคล้ายคลึงกัน ก็อาจทำให้เกิดความกังวล ว่า ประชาชนอาจจะสับสน

ด้านนพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากการติดตามผลการฉีดวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าที่เริ่มมีการฉีดให้ประชากรในต่างประเทศผลข้างเคียงน้อยกว่าวัคซีนตัวอื่น ๆ จึงถือว่ามีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยสูง เป็นประโยชน์ในการควบคุมโรคในประเทศ

สธ.เตรียมรับมือผลข้างเคียง วัคซีนโควิด-19

สำหรับกลุ่มเป้าหมายการฉีดระยะแรก กลุ่มที่ 1  บุคลากรด่านหน้าทั้งภาครัฐและ เอกชน ซึ่งมีประมาณ 6-7 พันคน  กลุ่มที่ 2 ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับงานควบคุมป้องกันโรคโควิด ในพื้นที่เสี่ยง กลุ่มนี้มีอยู่ราวๆ หลักพันคน และกลุ่มที่ 3 ประชากรกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสติดเชื้อแล้วอาการรุนแรง หรือเสี่ยงต่อชีวิต คือผู้สูงอายุ อายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน หัวใจ และโรคไต ซึ่งคนกลุ่มนี้มีอยู่หลักแสนคน แต่ตัวเลขทั้งหมดที่กล่าวมานี้ อาจไม่เป็นไปตามนี้ เพราะสุดท้ายแล้ว การฉีด

ส่วนคำถามที่ว่าคนที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีนนั้นต้องเตรียมตัวอย่างไร อธิบดีกรมควบคุมโรคก็ กล่าวว่า ไม่ต้องทำอะไร  แค่ดูแลตัวเองให้แข็งแรง เพราะปกติแล้ว เขาจะไม่ฉีดวัคซีนให้กับคนที่มี

 

ขณะที่วัคซีนจากบริษัท แอสตราเซเนกา ที่จะมาถึงไทย ต้นกุมภาพันธ์นี้ในล็อตแรก 50,000 โดส ได้รับการขึ้นทะเบียนจาก คณะกรรมการอาหารและยา ของประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมา ทั้งนี้ ภายหลังที่วัคซีนล็อตแรก จะมาในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ นี้แล้ว วัคซีนรอบต่อไป จะทยอยตามมาเพิ่มในเดือนมีนาคมและเมษายน รวมถึงวัคซีนของบริษัทซิโนแวค ประเทศจีน ที่จะมาสมทบเพิ่มเติมด้วยเช่นเดียวกัน

 

 

 

 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ