ด่วน!ศบค.เคาะ 9 ข้อ แบ่งพื้นที่ควบคุมสูงสุด สั่งปิดทั้งประเทศ - ข้อห้าม กำหนดเวลา เริ่ม 18 เม.ย.


โดย PPTV Online

เผยแพร่




มติศบค. ออกมาตรการ 9 ข้อคุมโควิด-19 สั่งปิดสถานบันเทิงทั่วประเทศ แบ่งพื้นที่ 2 โซนวิกฤต แยกมาตรการเข้ม ปิดร้าน จำกัดเวลา ไม่เคอร์ฟิว ไม่ล็อกดาวน์

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด -19 (ศบค.) แถลงมติที่ประชุม ศบค.ชุดใหญ่ ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นายกรัฐมนตรี แถลงว่า ยืนยันว่าไม่มีการเคอร์ฟิว จำกัดเวลาออกจากเคหสถานะของบุคคล และไม่มีการล็อกดาวน์ ทั้งนี้มีมาตรการคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ดังนี้

ป่วน รพ.สมุทรปราการ ผู้ป่วยโควิดปกปิดข้อมูล กักตัวหมอ - จนท. 17 ราย

“เจสัน ยัง” ติดโควิด-19 พร้อมเผยไทม์ไลน์

1. ห้ามการดำเนินการหรือจัดกิจกรรมหรือที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค

  1. ห้ามการใช้อาคารหรือสถานที่ของโรงเรียนและสถาบันการศึกษา ทุกประเภทเพื่อการจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือทำกิจกรรมใดๆ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมากทำให้เสี่ยงต่อการแพร่โรค เว้นแต่การใช้เป็น ที่เอกเทศตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ หรือการใช้เป็นสถานที่เพื่อให้ความช่วยเหลือ อุปการะ หรือการใช้สถานที่ตามข้อยกเว้น 
  2. ห้ามการจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่า 50 คน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการ โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือจัดกิจกรรมในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นสถานที่กักกันโรค

 

2.การปิดสถานบริการหรือสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรคทั่วราชอาณาจักร  ให้ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร หรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด แล้วแต่กรณี 

ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อพิจารณา สั่งปิดสถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ สถานประกอบกิจการอาบน้ำ สถานประกอบกิจการ อาบอบนวด หรือสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน โดยให้สั่งปิดสถานที่ดังกล่าวไว้เป็นการชั่วคราวอย่างน้อย 14 วัน

3. การกำหนดพื้นที่สถานการณ์ กำหนดเขตพื้นที่สถานการณ์ เพื่อการบังคับใช้ มาตรการควบคุมแบบบูรณาการ จำแนกตามเขตพื้นที่ ดังนี้  ศบค.ให้กำหนดพื้นที่เป็น 2 ระดับ 

4.กำหนดมาตรการจำแนกจตามพื้นที่

  • 5.  การงดหรือหลีกเลี่ยงการเดินทาง รัฐบาลขอความร่วมมือให้ประชาชนงดหรือ ชะลอการเดินทางในช่วงเวลานี้โดยไม่มีเหตุจำเป็น โดยเฉพาะการหลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าไปในเขต พื้นที่ควบคุมสูงสุดซึ่งมีการแพร่ระบาดของโรคที่อาจทำให้เสี่ยงหรือมีโอกาสติดโรค

การตั้งจุดสกัดหรือจุดคัดกรอง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการเท่าที่จำเป็น และ เหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ตามมาตรการที่ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด–19 (ศปก.ศบค.) กำหนด และต้องไม่เป็นการก่อความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุให้กระทรวงคมนาคมหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบตรวจสอบและก ากับดูแล การให้บริการ ขนส่งผู้โดยสารที่เป็นการขนส่งสาธารณะทุกประเภท โดยต้องมีการจัดระบบ และระเบียบต่างๆ เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคและแนว

ปฏิบัติตามพื้นที่สถานการณ์ ที่ ศปก.ศบค. กำหนด

6. การจัดกิจกรรมงานเลี้ยงสังสรรค์ ขอความร่วมมือให้ประชาชนเลื่อนหรือ งดการจัดกิจกรรมสังสรรค์ งานเลี้ยงหรืองานรื่นเริงในช่วงเวลานี้ก่อน 

7.การดำเนินรูปแบบการปฏิบัติงานที่เหมาะสม ขอความร่วมมือให้เจ้าของกิจการ ผู้ประกอบการภาคเอกชนพิจารณาและดำเนินรูปแบบการปฏิบัติงานของบุคลากร ในความ รับผิดชอบในช่วงเวลานี้ โดยอาจเป็นการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง การสลับวันทำงาน หรือวิธีการ อื่นใดที่เหมาะสม เวิร์คฟอร์มโฮม เพื่อลดโอกาสเสี่ยงจากการติดเชื้อ

 8.มาตรการเพื่อรองรับผู้ติดเชื้อ ให้  “ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และ สาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด–19” ร่วมกับ  “ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด–19 กระทรวงมหาดไทย”  และ “ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง” เร่งดำเนินการจัดหาสถานที่เพื่อใช้เป็นสถานที่รองรับ ดูแลรักษา และ แยกกัก กักกันตัวผู้ติดเชื้อหรือ ผู้มีเหตุอันควรสงสัยว่าติดเชื้อโดยด่วน โดยขอความร่วมมือจากสถานศึกษา มหาวิทยาลัย โรงแรม หอประชุม สถานที่ของเอกชน หรือสถานที่อื่นใดที่มีความเหมาะสม รวมทั้งเตรียมความพร้อมใน การสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์เพื่อการตรวจและ รักษาโรค และอุปกรณ์อื่น ที่จำเป็นให้เพียงพอตามมาตรฐานทางสาธารณสุข

ให้ผู้ติดเชื้อทุกรายเข้ารับการตรวจรักษาและแยกกัก ในสถานที่และตามระยะเวลา ซึ่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสาธารณสุขกำหนด จนกว่าจะได้ตรวจ ทางการแพทย์แล้วว่าพ้นระยะติดต่อขอ

งโรค หรือ สิ้นสุดเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรค เพื่อจำกัดการระบาดและเพื่อความปลอดภัยของประชาชนส่วนรวม

ให้ผู้ติดเชื้อหรือ ผู้ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าติดเชื้อรีบแจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ ฝ่ายสาธารณสุข หรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในพื้นที่ ทันทีเมื่อทราบว่าตนติดเชื้อหรือมีเหตุอันควร สงสัยว่าติดเชื้อดังกล่าว เพื่อรับทราบแนวปฏิบัติตน และแยกกักหรือกักกัน เพื่อเตรียมพร้อมก่อนที่ จะเข้ารับการตรวจหรือรักษาตามขั้นตอนทางสาธารณสุขต่อไป

9.การประเมินสถานการณ์ ให้ ศปก.ศบค. พิจารณาและประเมินสถานการณ์ เพื่อการ ปรับเปลี่ยนระดับพื้นที่สถานการณ์และมาตรการควบคุมแบบบูรณาการรวมทั้งแนวปฏิบัติตามพื้นที่ สถานการณ์ได้ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ในห้วงเวลาต่างๆ และเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุญาต เพื่อความเหมาะสมกับสถานการณ์ของแต่ละพื้นที่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือ ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อในการสั่งปิด จำกัด หรือ ห้ามการดำเนินการของพื้นที่ สถานที่ หรือพาหนะ หรือสั่งให้งดการทำกิจกรรมซึ่งมีความเสี่ยงต่อการระบาด ของโรค ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพิ่มเติมจากที่กำหนดได้ โดยให้ดำเนินการสอดคล้องกับมาตรการหรือ แนวปฏิบัติที่นายกรัฐมนตรีกำหนด

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย.2564 เป็นต้นไป 

มีวัคซีนโควิด-19 ไม่เท่ากับ "รอด" บทเรียนพึงศึกษาจาก "ชิลี"

 

 

 

 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ